คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชดใช้ค่าเสียหาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 321 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ การครอบครองปรปักษ์ และการชดใช้ค่าเสียหายจากการปลูกสร้าง
กรมพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวังซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดในนามสำนักพระราชวังโดยใช้เงินจากบัญชีประกันอัคคีภัย ซึ่งเป็นเงินผลประโยชน์ในการที่กรมพระคลังข้างที่รับประกันภัยทรัพย์สินในความดูแลจัดการของตนเองและมีข้ออาณัติซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตขึ้นใช้บังคับบัญชีประกันอัคคีภัยนั้น แยกไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากบัญชีผลประโยชน์ทั้งหลายในกรมพระคลังข้างที่ และได้จัดเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นับแต่ได้ออกพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์แล้ว เมื่อที่ดินพิพาทได้จากเอาเงินในบัญชีประกันอัคคีภัยไปซื้อย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ก่อนประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ.2479 การขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมพระคลังข้างที่ หรือสำนักงานพระคลังข้างที่ สำนักพระราชวัง นั้นเป็นราชการแผ่นดิน จำเป็นจะต้องมีพระบรมราชานุญาตให้ขายเสียก่อนจึงจะขายได้ และพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตนั้นจะต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตามความในมาตรา 57แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่มีการขาย
พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 1 มีบันทึกของเจ้าหน้าที่ปะหน้าพระราชหัตถเลขาและมีรัฐมนตรีผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรีในสำนักพระราชวังสมัยนั้น เขียนคำว่า 'ทราบ'และเซ็นชื่อไว้ข้างใต้คำว่าทราบในบันทึกของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นการเซ็นรับทราบรายงานของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่มีข้อความใดแสดงว่าเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการเลย จึงหาเป็นการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบตามรัฐธรรมนูญไม่
จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แม้ว่าการซื้อขายเป็นไปโดยไม่สมบูรณ์ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ก็ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบและเปิดเผยตลอดมา ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมออกแล้วปลูกตึกแทนแม้จำเลยที่ 1 จะเคยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระมหากรุณาขอให้งดเว้นการเรียกที่ดินคืน ก็ไม่มีลักษณะเป็นการยอมรับอำนาจโจทก์เหนือที่ดิน เป็นแต่การให้เหตุผลโต้แย้งหนังสือของโจทก์ที่เรียกที่ดินคืนเท่านั้นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการครอบครองปรปักษ์ต่อโจทก์
ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์พ.ศ. 2479 มาตรา 7 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่โดยได้รับพระบรมราชานุมัติเพื่อสาธารณประโยชน์หรือ เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2491 มาตรา 8 เป็นว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น ดังนี้ผู้ใดจะได้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปเป็นกรรมสิทธิ์ย่อมจะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่ประการเดียว ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไปจะอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นใช้ยันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หาได้ไม่
ขณะที่มีการโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 ที่ดินพิพาทอยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2479ให้โอนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการสำนักพระราชวัง และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพระคลังข้างที่ ขณะซื้อที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทสองด้วย ซึ่งรู้ดีว่ามีการตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่าเป็นไปโดยไม่สุจริตเมื่อปี 2480 จนรัฐบาลสมัยนั้นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาสอบสวนและเรียกที่ดินคืน36 ราย ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วย การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างตึกในที่ดินพิพาทเมื่อปี 2481 จึงเป็นการทำไปทั้งๆ ที่รู้ว่าที่ดินยังไม่เป็นสิทธิของจำเลยโดยสมบูรณ์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 แต่กรณีต้องด้วยมาตรา 1311 (วรรค 2, 3, 4 และ 5วินิจฉัยในที่ประชุมครั้งที่ 8-9/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา แม้ศาลยกฟ้อง
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยนั้น แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีส่วนอาญา แต่เมื่อคำขอส่วนแพ่ง เป็นคำขอที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ อำนาจของพนักงานอัยการที่จะว่ากล่าวเกี่ยวกับคำขอส่วนแพ่งยังคงมีต่อไป ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2516 )

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางอาญา: ดุลพินิจศาล, การประมาทเลินเล่อ, การชดใช้ค่าเสียหาย และการปราบปรามอาชญากรรม
การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดมิใช่คำนึงแต่เพียงในแง่ส่วนตัวของผู้กระทำผิดเท่านั้นแต่เพื่อปราบปรามให้เกรงขามและรักษาความสงบเรียบร้อยโดยทั่ว ๆ ไปด้วย การที่จำเลยกระทำโดยประมาทอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้คนตายนั้น แม้จำเลยได้ยอมชดใช้เงินค่าเสียหายให้แก่เจ้าทุกข์และบิดาผู้ตายก่อนโดยดีมาตั้งแต่ต้นก็ตาม ก็เป็นข้อที่ศาลได้มีดุลพินิจกำหนดโทษให้เบาลงมากอยู่แล้ว ฉะนั้นจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนกับการรับผิดในสัญญาซื้อขาย: ตัวแทนมีหน้าที่คืนเงินและชดใช้ค่าเสียหายเมื่อผิดสัญญา
จ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ทำสัญญากับบริษัท ว.มีข้อความสำคัญว่าผู้ว่าจ้าง (จ) ตกลงให้ผู้รับจ้าง (ว) ขายหรือเลหลังที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างได้ในราคาไม่ต่ำกว่า 2,000,000 บาท หรือหากต่ำกว่าราคานี้ก็ต่อเมื่อผู้รับจ้าง (ว) ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้าง (จ) ให้ขายได้ ดังนี้ ย่อมมีความหมายว่า ถ้ามีผู้ซื้อเสนอขอซื้อในราคาที่กำหนดไว้นี้แล้ว ว. มีอำนาจเป็นตัวแทนของ จ. ทำสัญญาจะซื้อขายกับผู้ขอซื้อได้เลยและสัญญานั้นมีผลผูกพันจ. และเมื่อ ว. ทำสัญญาจะซื้อขายกับผู้ขอซื้อไว้ในนามของ ว. แต่เวลาจะโอนกรรมสิทธิ์ จ. ซึ่งเป็นเจ้าของต้องจัดการโอนให้ ไม่ใช่ว่า ว. จะทำการโอนขายไปเป็นผลสำเร็จได้เองดังนี้ แม้ ว. จะเป็นผู้มีอาชีพประกอบธุรกิจเป็นนายหน้าขายทอดตลาดก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่าง จ. กับ ว. เป็นเรื่องตัวแทนค้าต่าง
ว. เป็นตัวแทนของ จ. ทำสัญญาจะขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวให้โจทก์ แล้ว จ. กลับโอนที่ดินและตึกแถวนั้นให้ผู้อื่นไป ถ้าไม่สามารถโอนที่ดินและตึกนั้นให้โจทก์ได้ จ. จะต้องคืนเงินที่ ว. รับไว้จากโจทก์และต้องเสีย ดอกเบี้ยสำหรับเงินที่คืนนั้น นอกจากนี้ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อีกด้วย
ตัวแทนของเจ้าของทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวให้โจทก์แล้วเจ้าของกลับโอนที่ดินและตึกนั้นให้ผู้อื่นไป การที่เคยมีผู้มาขอซื้อที่ดินและตึกนั้นจากโจทก์ในราคาเป็นเงินจำนวนหนึ่งเพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษเท่ากับราคาที่มีผู้มาขอซื้อนั้น แต่ถือได้ว่าที่ดินและตึกนั้นมีราคาเพิ่มขึ้นแน่นอนซึ่งเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการไม่ชำระหนี้ของฝ่ายเจ้าของที่ดินและตึก ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้นและกิจการโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันของผู้ทำสัญญา และการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ต้องกระทำการไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 และอยู่ในครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และ 1144 เมื่อจำเลยที่ 2 ไปทำสัญญาโอนขายกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และบรรดาผู้ถือหุ้นก็ไม่เคยประชุมใหญ่อนุมัติให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาโอนขายได้ และสัญญานั้นจะโอนขายหุ้นทั้งหมดให้แก่โจทก์โดยมิได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ดังนี้สัญญาโอนหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 กระทำไปนั้นจึงไม่ผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1 และเมื่อจำเลยที่ 2 ทำสัญญาในฐานะผู้แทนของบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญาในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกผูกพันที่จะโอนหุ้นและส่งมอบกิจการของบริษัทให้แก่โจทก์ด้วย
สัญญามีใจความเพียงว่า บริษัทจำเลยที่ 1 ตกลงโอนขายหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดและรับรองว่าจะจัดให้ผู้ถือหุ้นเดิมลงชื่อโอนให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน การทำสัญญาดังนี้ ยังมิใช่การดำเนินการโอนหุ้นจะนำมาตรา 1129 มาบังคับหาได้ไม่ จึงไม่อาจถือว่าข้อตกลงนี้เป็นโมฆะตามมาตราดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายหุ้นและกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แก่โจทก์โดยปราศจากอำนาจที่จะกระทำแทนบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้ให้สัตยาบันแก่การที่จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาและตามข้อเท็จจริงก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รู้อยู่ว่าจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาโดยปราศจากอำนาจ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์โดยลำพังตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823, 1167
ตามคำบรรยายฟ้องและสำเนาหนังสือสัญญาท้ายฟ้อง โจทก์กล่าวว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามแทนบริษัทจำเลยที่ 1 โดยแสดงให้ปรากฏในสัญญาว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทและได้รับมอบอำนาจจากที่ประชุมของผู้ถือหุ้นแล้ว ต่อมาจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งสองที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยด้วยกันกับจำเลยที่ 1เช่นนี้ พอให้ถือได้ว่าโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ด้วย ในเมื่อไม่อาจบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้
โจทก์รับซื้อกิจการเดินรถของจำเลยเพื่อดำเนินการเดินรถรับส่งคนโดยสาร เมื่อจำเลยไม่มอบกิจการให้ โจทก์ย่อมไม่ได้รับผลประโยชน์อันควรจะได้ นับว่าเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญา แม้โจทก์จะนำสืบแสดงจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้แน่นอนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลย่อมกำหนดจำนวนเงินให้จำเลยชดใช้โจทก์ตามที่เห็นสมควรตามพฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาไม่อาจโอนหุ้นและกิจการเดินรถให้แก่โจทก์ได้จึงต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ และจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดสัญญา เพราะไม่มีสิทธิจะเอาเงินไว้ และถือว่าผิดนัดมาตั้งแต่นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาหมั้น: การสู่ขอและการชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
ค่าเลี้ยงดูในวันทำพิธีแต่งงานไม่ใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะเรียกค่าทดแทนกันได้ (เทียบฎีกาที่1166/2487).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยปล้นกระบือ ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
การเช่ากระบือไปทำนา ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้เช่าจะส่งกระบือคืนแก่ผู้ให้เช่าก็ต่อเมื่อได้เก็บเกี่ยวข้าวตลอดจนนำข้าวขึ้นยุ้งเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือว่าเสร็จฤดูทำนา ก่อนถึงกำหนดส่งกระบือคืน คนร้ายได้ปล้นเอากระบือไป สุดวิสัยของผู้เช่าจะปัดป้องขัดขวางได้ ถือว่าความสูญหายของกระบือที่เช่าไม่ใช่ความผิดของผู้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่ต้องรับผิดคืนหรือใช้ราคากระบือที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา และข้อยกเว้นการชดใช้ค่าเสียหาย
สัญญาข้อ 11 มีว่า ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาข้อใดผู้ให้เช่ามีสิทธิเข้าครอบครองสถานที่เช่าได้โดยพลัน และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที ส่วนสัญญาข้อ 12 มีว่า ถ้าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาหรือรื้อถอนหรือขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่ายอมชดใช้ค่าซ่อมแซมและค่าเสียหายที่ผู้เช่าลงทุนเป็นจำนวนเงิน 25,000 บาทให้ผู้เช่า ฯลฯ ดังนี้เมื่อผู้เช่าผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาตามข้อ 11 แล้วก็ตาม ผู้เช่าไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายค่าซ่อมแซมตามสัญญาข้อ 12
ความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับ ไม่ใช่ยกเอาข้อความเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล ฉะนั้น การแปลข้อ 12 ของสัญญา ก็จะต้องแปลรวมกับข้อ 11 อันเป็นข้อความที่กล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าที่มีต่อกัน การที่โจทก์นำ ส.ผู้เขียนเข้าเบิกความว่า ก่อนทำสัญญาโจทก์จำเลยตกลงกันว่าหากจำเลยบอกเลิกการเช่า ไม่ว่าจะเป็นเพราะโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม จำเลยจะต้องชดใช้เงินให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำพยานบุคคลเข้าสืบเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร เพราะในสัญญาไม่ได้เขียนไว้เลยว่า ถึงแม้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญา เพราะผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าก็ต้องชดใช้เงินให้แก่ผู้เช่า การสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสารเช่นนี้ ต้องห้าม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความและผลกระทบของการปิดทาง การชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิด และการเป็นคู่ความ
ค่าเสียหายฐานทำละเมิดปิดทางภารจำยอมติดต่อกันตลอดมาคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งปีก่อนฟ้อง
เมื่อจำเลยจงใจทำผิดกฎหมายโดยแกล้งปิดทาง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายย่อมเป็นผู้ทำละเมิด และจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนไม่ได้ ศาลก็อาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินจำเลยสำหรับล้อเกวียนบรรทุกข้าวเข้าออกระหว่างโรงสีโจทก์ (ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์) กับทางสาธารณประโยชน์ตลอดมากว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ แม้เพื่อประโยชน์การค้าก็ไม่มีกฎหมายจำกัด ว่าจะเป็นภารจำยอมไม่ได้
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นไม่ใช่คำฟ้อง แต่เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้หมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความแล้ว บุคคลภายนอกก็ย่อมเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) แม้มิได้เป็นคู่ความตามคำฟ้องมาแต่แรกศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สิน และต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญา
เมื่อลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอะไรที่โจทก์จะยึดมาชำระหนี้ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยในฐานะผู้รับมรดกผู้ค้ำประกันให้ชดใช้หนี้รายนี้ให้โจทก์ได้
ในหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าผู้ค้ำประกันยอมใช้ค่าเสียหายต่าง ๆ ให้แก่เจ้าหนี้ ดังนั้น จำเลยในฐานะผู้รับมรดกผู้ค้ำประกันจึงจำต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายในการฟ้องคดีให้แก่โจทก์ด้วย
of 33