พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,024 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8524/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กโดยมีเหตุฉกรรจ์เป็นไม่ฉกรรจ์ และข้อจำกัดในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ลงโทษจำคุก 25 ปีศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสอง ลงโทษจำคุก 7 ปีจึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้จากความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยมีมีดเป็นอาวุธเป็นความผิดฐานเดิมโดยไม่ประกอบด้วยเหตุฉกรรจ์คือขณะกระทำผิดจำเลยไม่มีอาวุธทั้งความผิดทั้งสองวรรคต่างก็เป็นความผิดอันยอมความกันไม่ได้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกำหนด: จำเลยต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาลก่อนฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษา เมื่อนับถึงวันยื่นฎีกาเป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือน หากศาลฎีกามีคำพิพากษายืนก็อาจมีผลทำให้จำเลยต้องถูกลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกว่า 6 เดือน ฎีกาของจำเลยเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี มิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองว่าไม่ถูกต้อง จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 และมาตรา 216 หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีตามคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นโดยขอให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้วจำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8460/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเกี่ยวกับระยะเวลาพักใช้ใบอนุญาตขับขี่และการบังคับคดีที่ถูกต้อง รวมถึงเหตุผลที่ไม่รอการลงโทษจำคุก
ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยมีกำหนด 6 เดือน นับแต่วันพิพากษาซึ่งเมื่อนับถึงวันยื่นฎีกานี้เป็นเวลาเกินกว่า 6 เดือนแล้ว หากศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองก็อาจมีผลทำให้จำเลยต้องถูกลงโทษด้วยการพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เกินกว่า6 เดือนนั้น เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี ซึ่งมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง โจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใด จึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 และมาตรา 216 หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นบังคับคดีตามคำพิพากษาให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 157 ทวิ วรรคสอง ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นโดยขอให้แก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนหากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้ว จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้ตามลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8335/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง: ข้อจำกัดและขอบเขตการพิจารณาของศาลสูง
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 390 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของโจทก์ร่วมและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยความผิดฐานนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาของโจทก์ร่วมในความผิดฐานนี้มาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชนเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษโดยไม่เพิ่มโทษจำคุก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี 6 เดือนศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยัง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี มิได้เป็นการลงโทษ จำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี ทั้งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง และตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 ประกอบมาตรา 6
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง และตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 ประกอบมาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: คำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฎีกา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา จนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8239/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: คำสั่งศาลอุทธรณ์ยกคำร้องระบุพยานเพิ่มเติม ต้องห้ามฎีกาจนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาจนกว่าศาลอุทธรณ์จะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการรอการลงโทษและการฎีกาที่ไม่ชอบเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยและปรับ โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี คุมความประพฤติของจำเลยห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกประเภท กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ต่อมาพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยยังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยไม่ประพฤติตามเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติตามที่ศาลกำหนด จึงให้ลงโทษจำคุกซึ่งรอการลงโทษไว้ เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 17 วรรคสองจำเลยจะฎีกาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและสั่งรับฎีกาจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7995/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฎีกาเรื่องดอกเบี้ยเกินกว่ากฎหมายกำหนด แต่ไม่เคยต่อสู้คัดค้านในชั้นศาล ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี อันเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดแต่อย่างใด แม้จำเลยจะนำสืบในชั้นพิจารณาทำนองเดียวกับที่จำเลยฎีกามา ต่อสู้ว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี อันเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นคำให้การซึ่งจำเลยไม่มีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ แม้ปัญหานี้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลสามารถหยิบขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบแล้วศาลจึงหยิบยกมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1) และถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7947/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฎีกาและการแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ
จำเลยยื่นฎีกาโดย ธ. ทนายจำเลยลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแทนจำเลย แต่ใบแต่งทนายไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ฎีกาในคำฟ้องฎีกาให้ถูกต้อง จำเลยไม่มาแก้ไขข้อบกพร่องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงมี ธ. ทนายความของจำเลยลงชื่อเป็นผู้ยื่นฎีกาแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ ธ. ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย