พบผลลัพธ์ทั้งหมด 233 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหน่วงเหนี่ยวกักขังจนถึงแก่ความตาย ความรับผิดทางอาญาและการพิพากษาโทษ
ผู้ตายขึ้นรถยนต์กระบะของจำเลยแล้วออกจากร้านอาหารไปด้วยกัน จำเลยขับรถพาผู้ตายไปที่โรงแรม ขณะที่จำเลยอุ้มและลากผู้ตายเพื่อจะเข้าไปในห้องพัก พยานโจทก์เห็นเหตุการณ์และพบว่า ผู้ตายมีบาดแผลมีโลหิตไหลที่ศีรษะ โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีพยานหลักฐานยืนยันว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตาย จะสันนิษฐานจากบาดแผลที่ผู้ตายได้รับว่าเป็นเพราะผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายหาได้ไม่ พยานหลักฐานเช่นนี้ถือเป็นพยานหลักฐานที่มีข้อน่าสงสัยตามสมควร ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายได้
ผู้ตายซึ่งมีสามีแล้วไม่ได้ยินยอมไปโรงแรมกับจำเลยตั้งแต่ต้น บาดแผลที่ปรากฏให้เห็นภายนอกร่างกายของผู้ตายซึ่งมีโลหิตไหลจากศีรษะและรูหูทั้งสองข้าง วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าผู้ตายอาการหนักต้องรีบนำผู้ตายไปโรงพยาบาลแทนที่จะพาผู้ตายเข้าโรงแรม และยังปรากฏว่าจำเลยขับรถพาผู้ตายออกจากร้านอาหารผ่านบ้านพักผู้ตายแล้วขับรถวกวนจนกระทั่งพาผู้ตายไปโรงแรมซึ่งอยู่คนละเส้นทาง เชื่อว่า จำเลยไม่มีเจตนาพาผู้ตายไปส่งบ้านพัก หากจำเลยนำผู้ตายไปส่งบ้านพักตามความต้องการของผู้ตายแล้ว เหตุคดีนี้คงไม่เกิดขึ้น การที่ผู้ตายตกลงจากรถจนถึงแก่ความตายเป็นเพราะผู้ตายไม่ต้องการไปกับจำเลยตามเจตนาของจำเลย สาเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่ผู้ตายถูกจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
ผู้ตายซึ่งมีสามีแล้วไม่ได้ยินยอมไปโรงแรมกับจำเลยตั้งแต่ต้น บาดแผลที่ปรากฏให้เห็นภายนอกร่างกายของผู้ตายซึ่งมีโลหิตไหลจากศีรษะและรูหูทั้งสองข้าง วิญญูชนทั่วไปย่อมทราบดีว่าผู้ตายอาการหนักต้องรีบนำผู้ตายไปโรงพยาบาลแทนที่จะพาผู้ตายเข้าโรงแรม และยังปรากฏว่าจำเลยขับรถพาผู้ตายออกจากร้านอาหารผ่านบ้านพักผู้ตายแล้วขับรถวกวนจนกระทั่งพาผู้ตายไปโรงแรมซึ่งอยู่คนละเส้นทาง เชื่อว่า จำเลยไม่มีเจตนาพาผู้ตายไปส่งบ้านพัก หากจำเลยนำผู้ตายไปส่งบ้านพักตามความต้องการของผู้ตายแล้ว เหตุคดีนี้คงไม่เกิดขึ้น การที่ผู้ตายตกลงจากรถจนถึงแก่ความตายเป็นเพราะผู้ตายไม่ต้องการไปกับจำเลยตามเจตนาของจำเลย สาเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่ผู้ตายถูกจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายถึงแก่ความตาย แม้ไม่ได้ร่วมทำร้ายโดยตรง
ระหว่างจำเลยที่ 1 ทำร้ายร่างกายผู้ตาย จำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้านหลังจำเลยที่ 1 และพูดกับผู้ตายว่า "มึงรู้ไหมว่ากูเป็นใคร กูเป็นตำรวจ กูจะเอาปืนมายิงมึง" แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายด้วย แต่การพูดของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการข่มขู่ให้ผู้ตายเกิดความกลัวไม่กล้าต่อสู้และเป็นการปลุกเร้าให้จำเลยที่ 1 ฮึกเหิมทำร้ายร่างกายผู้ตายต่อไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น จึงเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ไม่เป็นความผิดฐานตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว ศาลฎีกาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้ แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องเพราะข้อแตกต่างนั้นมิใช่ในข้อสาระสำคัญ และจำเลยที่ 2 มิได้หลงต่อสู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7227/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อจากการแย่งปืนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ไม่เข้าข้อยกเว้นความจำเป็น
คำเบิกความและคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยได้ความว่า ผู้ตายชอบเล่นอาวุธปืน บางครั้งเอากระสุนปืนออกจากลูกโม่แล้วมาจ่อยิงที่ศีรษะตนเองหรือผู้อื่นเพื่อล้อเล่น ในวันเกิดเหตุผู้ตายก็เอาอาวุธปืนมาเล่นอีก แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะที่ผู้ตายเอาอาวุธปืนมาจ่อที่ศีรษะตนเองแล้วจำเลยเข้าแย่งเป็นเหตุให้ปืนลั่นนั้น ผู้ตายจะยิงตนเองหรือผู้ตายเมาสุราจนไม่ได้สติแต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้หรือไม่ว่าอาวุธปืนดังกล่าวบรรจุกระสุนปืนหรือไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเข้าแย่งอาวุธปืนในสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ อันเป็นการกระทำโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่
การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้นั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทำผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
การที่จะอ้างว่าเป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็นได้นั้น ต้องเป็นเรื่องการกระทำผิดโดยเจตนา แต่คดีนี้จำเลยกระทำความผิดโดยประมาทจึงมิใช่เป็นการกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง กรณีผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย
คำว่า "ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองหมายถึงผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม
ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันการกระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 หากผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ในระหว่างนี้ผู้จัดการมรดกที่เหลือยังไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อการฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 วรรคสอง ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์ทั้งสองกับ ป. เป็นผู้จัดการมรดกต่อมา ป. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ทั้งสองจะจัดการมรดกเพียง 2 คน โดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลไม่มีอำนาจจะจัดการได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เหมือนการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินของผู้ตายแก่โจทก์ทั้งสอง
ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันการกระทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 หากผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ในระหว่างนี้ผู้จัดการมรดกที่เหลือยังไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อการฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 วรรคสอง ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่ใช่กรณีไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีตามมาตรา 4 จึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์ทั้งสองกับ ป. เป็นผู้จัดการมรดกต่อมา ป. ถึงแก่ความตาย การที่โจทก์ทั้งสองจะจัดการมรดกเพียง 2 คน โดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไปย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลไม่มีอำนาจจะจัดการได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้เหมือนการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบต้นฉบับโฉนดที่ดินของผู้ตายแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6857/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง เมื่อมีผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย ต้องรอคำสั่งศาลเปลี่ยนแปลง
แม้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1715 วรรคสองบัญญัติว่า "เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการได้โดยลำดับ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้" ก็มีความหมายถึงผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งขึ้นโดยไม่มีพินัยกรรม การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่ให้กระทำการโดยถือเอาเสียงข้างมาก หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมต้องร้องขอต่อศาลให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิมเมื่อการฟ้องคดีเพื่อจัดการทรัพย์มรดกเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามมารตรา 1736 วรรคสอง และมีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคนต้องดำเนินการตามมาตรา 1726 ที่กฎหมายได้กำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำวิธีการตามมาตรา 1715 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้เฉพาะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมมาใช้บังคับได้ ดังนั้น เมื่อ ป. ผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โดยโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมจะจัดการมรดกต่อไปเพียงสองคนโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป ย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลและไม่มีอำนาจจะจัดการได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9413/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย แม้ไม่มีเจตนาฆ่า ก็เป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 290
ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้รับโทษหนักขึ้นแตกต่างจากความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ตลอดจนความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามมาตรา 295, 297, และ 391 ตามลำดับอันแสดงให้เห็นถึงกฎหมายเจตนาให้ผู้กระทำต้องรับโทษตามผลของการกระทำนั้นแตกต่างกันไปตามความหนักเบาของผลที่เกิดขึ้น เมื่อจำเลยที่ 2 ใช้มีดดาบไล่ฟันผู้ตายอันเป็นการทำร้ายผู้ตาย เป็นเหตุให้ผู้ตายวิ่งหลบหนีกระโดดลงน้ำจนถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการทำร้ายผู้ตายซึ่งเมื่อมิใช่โดยเจตนาฆ่าแต่เป็นเหตุทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดสำเร็จตามมาตรา 290 วรรคแรกแล้ว มิใช่เป็นการพยายามกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย และการเพิ่มโทษจากประวัติอาชญากรรม
ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลถูกแทงจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีผู้ตายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ต่อยจนเซไปแล้วและจำเลยที่ 2 แยกไปทำร้าย พ. โดยไม่ได้ร่วมทำร้ายผู้ตายอย่างใดอีก การที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า จึงเป็นการกระทำของจำเลยที่ 1 แต่โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 คงเป็นเพียงแต่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายเท่านั้นแต่การร่วมกันทำร้ายมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 288 แต่ความผิดดังกล่าวรวมความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคแรก อยู่ด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: เมาแล้วขับรถประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ลงโทษตามบทหนักสุด
การที่จำเลยขับรถขณะเมาสุราอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงในขณะเมาสุราจนไม่สามารถลดความเร็วของรถลงและหยุดรถเพื่อให้รถยนต์ของผู้ตายเลี้ยวขวาผ่านไปก่อน ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยพุ่งเข้าเฉี่ยวชนรถยนต์ที่ผู้ตายขับ และผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4067/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขับรถเมาแล้วประมาทชนผู้อื่นถึงแก่ความตาย: การลงโทษกรรมเดียว & แก้ไขโทษ
การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม กับการที่จำเลยขับรถโดยประมาทแซงรถที่อยู่ข้างหน้าไปในหน้าไปในช่องเดินรถขวามือในขณะที่ผู้ตายขับสวนมา เป็นเหตุให้ชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายเสียหายและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 และ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียว ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงปืนลั่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นการกระทำโดยประมาท ไม่ใช่ป้องกันโดยชอบธรรม
การกระทำซึ่งจะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 68 ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา จำเลยเอาอาวุธปืนออกมาขู่ผู้ตายและทำปืนลั่นโดยประมาทถูกผู้ตายถึงแก่ความตายไม่ใช่การกระทำโดยเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่การป้องกัน