พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกและการจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
คดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.หาก ส. จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์ ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม หรืออาจฟ้องโจทก์แยกจากคดีเดิมได้โดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นแต่ให้สิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาเป็นการตัดสิทธิมิให้ฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกของร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการไม่มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก กรณีที่ดินแปลงหนึ่งถูกสละโดยทายาท ทำให้ไม่มีทรัพย์มรดกเหลืออยู่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. เจ้ามรดกทางพิจารณาได้ความว่า ย. ได้ทำหนังสือสละที่ดินมรดกมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และ ร. ไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่น ย. ย่อมไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินมรดก กรณีไม่มีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือแบ่งปันมรดกสำหรับ ย.จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะตั้ง ย. เป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภริยาและทายาทร่วมรับผิดหนี้ภาษีค้างชำระจากเงินได้และรายรับร่วมกัน การบังคับคดีกับทรัพย์มรดก
หนี้ภาษีอากรรายพิพาทเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์เรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 และสามี จำเลยที่ 1 และสามีอุทธรณ์การประเมิน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ผ่อนผันลดเงินเพิ่มลงและแจ้งให้จำเลยที่ 1 กับสามีชำระ แต่ก็ไม่ได้ชำระและมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทั้งเมื่อถูกฟ้องคดีนี้ จำเลยที่ 1 รับว่าการประเมินถูกต้อง หนี้ภาษีรายพิพาทจึงยุติว่าจำเลยที่ 1 มีเงินได้พึงประเมินและมีรายรับอันจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าร่วมกับสามี เพราะการประเมินรายนี้ถือว่าเป็นเงินได้และรายรับร่วมกัน แม้โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดฐานไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 เคยตกลงยอมชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่พิพาทก็ตามแต่เมื่อภาษีอากรรายพิพาทเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับสามี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา57 ตรี วรรคแรก
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทของสามีจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยทั้งสอง ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกนำเงินจากกองมรดกหากมีไปชำระภาษี มิได้หมายความว่าจะต้องเอาเฉพาะมรดกที่เป็นเงินไปชำระภาษีโดยไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินอื่นที่เป็นมรดก เพราะความตอนต้นบ่งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2ในฐานะทายาทต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง คำพิพากษาดังกล่าวจึงย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย.
ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองในฐานะทายาทของสามีจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยทั้งสอง ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกนำเงินจากกองมรดกหากมีไปชำระภาษี มิได้หมายความว่าจะต้องเอาเฉพาะมรดกที่เป็นเงินไปชำระภาษีโดยไม่ต้องรับผิดในทรัพย์สินอื่นที่เป็นมรดก เพราะความตอนต้นบ่งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 2ในฐานะทายาทต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง คำพิพากษาดังกล่าวจึงย่อมบังคับคดีแก่ทรัพย์สินทุกชนิดที่เป็นมรดกของผู้ตาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายจากการอยู่กินฉันสามีภริยา และการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.
จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียจำกัดเฉพาะทายาทและผู้ร้องขอเท่านั้น
คดีร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น ดังนี้การที่ผู้คัดค้านอ้างว่าทรัพย์ตามคำร้องเป็นของ จ. ตกทอดแก่ผู้คัดค้านจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นชอบที่ผู้คัดค้านจะไปดำเนินคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำนองในทรัพย์มรดก: ทายาทรับโอนพร้อมภาระหนี้ แต่มีสิทธิเรียกร้องคืนจากผู้ก่อหนี้
เมื่อที่ดินแปลงหนึ่งของทรัพย์มรดกติด จำนองประกันหนี้ของ น.ทายาทคนหนึ่งอยู่ ทายาทผู้รับมรดกจึงต้อง รับภาระในหนี้จำนองโดย รับโอนที่ดินนั้นมาโดย ติด จำนอง ถ้า มีการบังคับจำนองโดย น.ไม่ชำระหนี้แล้ว ทายาทผู้รับมรดกคงรับผิดแต่ เฉพาะ ทรัพย์มรดกที่ตน รับโอนมา หรือหากตน ต้อง ชำระหนี้จำนองไปเท่าใดก็ชอบที่จะได้รับเงินใช้ คืนจาก น. ได้ ตาม สิทธิที่ได้รับ โอนมาจากเจ้ามรดกทายาทไม่มีสิทธิบังคับให้ น. ทำการไถ่ถอนจำนองหรือยกข้ออ้างในการที่ น. ไม่ทำการไถ่ถอนจำนองมาเป็นเหตุขัดข้องมิให้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3290/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขับไล่บริวารออกจากบ้านหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด และสิทธิในทรัพย์มรดก
การที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทในฐานะเป็นบุตรของจำเลยและ ส. ย่อมถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะที่เป็นบริวารของจำเลยและ ส.เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากบ้านพิพาท ผู้ร้องจะอ้างว่ามีสิทธิอยู่ในบ้านพิพาท ซึ่งเป็นมรดกของ ส. หาได้ไม่ เพราะสิทธิดังกล่าวยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่และเป็นแต่เพียงสิทธิที่จะได้รับมรดก ไม่ใช่สิทธิที่จะอยู่ในบ้านพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก นิติกรรมการโอนเป็นโมฆียะกรรมที่โจทก์ได้บอกล้างแล้ว การบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ตลอดจนการนำคดีมาฟ้องเป็นการกระทำอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมของเจ้ามรดก เพื่อที่จะนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการใช้สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ตกเป็นโมฆียะ
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก นิติกรรมการโอนเป็นโมฆียะกรรมที่โจทก์ได้บอกล้างแล้ว การบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ตลอดจนการนำคดีมาฟ้องเป็นการกระทำอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมของเจ้ามรดก เพื่อที่จะนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการใช้สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3146/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่เป็นโมฆียะตามพินัยกรรม
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมที่จะต้องนำมาแบ่งปันให้แก่ทายาทของเจ้ามรดก นิติกรรมการโอนเป็นโมฆียะกรรมที่โจทก์ได้บอกล้างแล้ว การบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ตลอดจนการนำคดีมาฟ้องเป็นการกระทำอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัดหรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรมของเจ้ามรดก เพื่อที่จะนำทรัพย์มรดกมาแบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการใช้สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.