คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และหลักการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาเกิดเหตุในคดีรับขนของทางทะเล
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง พยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือ ตรงตามความหมายของคำว่า "ตัวแทน" ตามมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว จำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาท ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามตามมาตรา248 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดี ขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี 2533 พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังมิได้ประกาศใช้ จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเล กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสอง ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดี แต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 609 วรรคสอง ทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง เหตุทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสน และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะเกิดเหตุรับขน
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่งพยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือตรงตามความหมายของคำว่า"ตัวแทน"ตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามมาตรา248วรรคหนึ่งดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี2533พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังมิได้ประกาศใช้จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเลกรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดีแต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609วรรคสองทั้งไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8รับขนมาตรา618อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3937/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุในคดีรับขนทางทะเล
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่งพยานโจทก์และจำเลยเบิกความสอดคล้องกันว่าจำเลยเป็นตัวแทนเจ้าของเรือตรงตามความหมายของคำว่า"ตัวแทน"ตามมาตรา3แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มิใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจำเลยจึงมิใช่ผู้ร่วมขนส่งสินค้าพิพาทไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต้องห้ามตามมาตรา248วรรคหนึ่งดังกล่าว ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเช่นในคดีนี้การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน การใช้กฎหมายปรับแก่คดีนั้นต้องใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดข้อพิพาทปรับแก่คดีขณะเกิดเหตุข้อพิพาทคดีนี้ในปี2533พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังมิได้ประกาศใช้จึงนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้หาได้ไม่ข้อพิพาทคดีนี้เกิดจากการรับขนของทางทะเลกรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา609วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทมาปรับแก่คดีแต่เนื่องจากขณะนั้นไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทางทะเลบังคับใช้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา609วรรคสองทั้งไม่ปรากฎจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8รับขนมาตรา618อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3926/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไม่ใช่คำขอที่จำกัดทุนทรัพย์ ไม่ขัดต่อการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามและคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสามขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้ว่าถ้ามีการเพิกถอนตามคำขอดังกล่าวแล้วจะมีผลทำให้โจทก์ทั้งสามหรือจำเลยที่3ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน50,000บาทก็ตามก็ต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงและคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์ทั้งสามจะได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือจำเลยที่3จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นผลต่อเนื่องที่ตามมาจึงไม่ต้องห้ามจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกา, ข้อจำกัดทุนทรัพย์, และอำนาจฟ้อง: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ในฎีกาของโจทก์ ทนายโจทก์ลงชื่อจะมาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 23 ธันวาคม 2537 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2537 ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นำส่งสำเนาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 ภายใน 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 23ธันวาคม 2537 แล้ว เมื่อโจทก์ไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระเงินจำนวน 192,500 บาท ให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ โจทก์มิได้อุทธรณ์เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1และที่ 2 ชำระให้โจทก์ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คงมีจำนวน 192,500 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ฎีกา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง192,500 บาท ซึ่งไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก และจะนำดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพื่อให้เกินสองแสนบาทหาได้ไม่ อีกทั้งโจทก์จะฎีกาโดยถือตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องในศาลชั้นต้นก็ไม่ได้เช่นกัน
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า โจทก์มิใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาท จึงมีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้าง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากทิ้งฟ้องจำเลยบางส่วน, ทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท, และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ในฎีกาของโจทก์ทนายโจทก์ลงชื่อจะมาทราบคำสั่งศาลในวันที่23ธันวาคม2537ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์เมื่อวันที่20ธันวาคม2537ดังนี้ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นำส่งสำเนาฎีกาแก่จำเลยที่2ภายใน15วันตั้งแต่วันที่23ธันวาคม2537แล้วเมื่อโจทก์ไม่นำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาสำหรับจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246,247 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1และที่2ร่วมกันชำระเงินจำนวน192,500บาทให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจำเลยที่1อุทธรณ์โจทก์มิได้อุทธรณ์เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1และที่2ชำระให้โจทก์ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คงมีจำนวน192,500บาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์โจทก์ฎีกาทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง192,500บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรกและจะนำดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพื่อให้เกินสองแสนบาทหาได้ไม่อีกทั้งโจทก์จะฎีกาโดยถือตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องในศาลชั้นต้นก็ไม่ได้เช่นกัน ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์มิใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องการที่โจทก์ฎีกาอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์บรรทุกพ่วงคันพิพาทจึงมีอำนาจฟ้องจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายที่โจทก์ยกขึ้นอ้างเป็นฎีกาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3548/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการพิจารณาคดีแพ่งตามคำพิพากษาคดีอาญา: ศาลแพ่งต้องยึดข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญา แม้ทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสน
เมื่อคดีอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำให้ทรัพย์ของโจทก์เสียหายในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แม้คดีส่วนแพ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา40ก็ตามแต่เมื่อการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งเป็นข้อกฎหมายจึงต้องฟังว่าจำเลยที่1มิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง 20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามป.วิ.พ. เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้น อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องและตามมาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมคำร้องเพียง20บาทเช่นเดียวกับการยื่นคำขออื่นๆต่อศาลชั้นต้นที่ต้องทำเป็นคำร้องตามตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องเพิกเฉยจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(1),174(2)และมาตรา246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องต้องห้ามตามกฎหมายพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีพิพาทที่ดิน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นคดีข้อเท็จจริงและมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงมาว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินของโจทก์และที่ดินของจำเลยมีเลขที่ดินต่างกันทั้งรูปที่ดินทั้งสองแปลงก็ไม่เหมือนกันฟังไม่ได้ว่าน.ส.3ก.ของจำเลยออกทับน.ส.3ก.ของโจทก์โจทก์จึงร้องขอให้เพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยไม่ได้การที่โจทก์ฎีกาว่าล.พยานโจทก์เบิกความว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนได้มาโดยทางมรดกต่อมาได้ขายให้แก่อ.ต่อมาอ.ขายให้แก่โจทก์โจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องมาจำเลยมิใช่ผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทการที่จำเลยไปขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินจึงเป็นการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบกรณีมีเหตุเพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยเพราะออกทับที่ดินน.ส.3ก.ของโจทก์นั้นจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่ามีเหตุเพิกถอนน.ส.3ก.ของจำเลยหรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 77