คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องคดีเช็ค: เริ่มนับเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจริง ไม่ใช่แค่สอบถาม
โจทก์เพียงนำเช็คพิพาทไปสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารว่าบัญชี ของจำเลยมีเงินหรือไม่เท่านั้น ไม่ปรากฏว่าธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้นความผิดของจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น อายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 จึงยังไม่เริ่มนับอายุความต้องเริ่มนับในวันที่โจทก์นำเช็คไปยื่นเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินดังที่ปรากฏหลักฐานตามเช็คและใบคืนเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดหน้าที่ธนาคารเมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คเสียชีวิต ผู้ทรงเช็คไม่ต้องเรียกเก็บเงินก่อน
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตาย อำนาจและหน้าที่ของธนาคารซึ่งใช้เงินตามเช็คสิ้นสุดลงเมื่อธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตาย ผู้ทรงเช็คจึงไม่ต้องนำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารอีก กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าผู้ทรงเช็คจะต้องนำเช็คเรียกเก็บเงินจากธนาคารเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 แม้จะถือว่าการนำเช็คไปยื่นต่อธนาคารก่อนกำหนดวันสั่งจ่ายเงินเป็นการมิชอบ ก็หาทำให้ผู้สลักหลังพ้นความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้สั่งจ่ายเสียชีวิต: ธนาคารไม่ต้องจ่ายเงิน ผู้ทรงเช็คไม่ต้องเรียกเก็บเงินก่อนกำหนด
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายเช็คตาย อำนาจและหน้าที่ของธนาคารซึ่งใช้เงินตามเช็คสิ้นสุดลงเมื่อธนาคารทราบว่าผู้สั่งจ่ายตาย ผู้ทรงเช็คจึงไม่ต้องนำเช็คไปขอรับเงินจากธนาคารอีก กรณีเช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับว่าผู้ทรงเช็คจะต้องนำเช็คเรียกเก็บเงินจากธนาคารเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990แม้จะถือว่าการนำเช็คไปยื่นต่อธนาคารก่อนกำหนดวันสั่งจ่ายเงินเป็นการมิชอบ ก็หาทำให้ผู้สลักหลังพ้นความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลคดีเช็ค: สถานที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นสถานที่เกิดความผิด
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค สถานที่ตั้ง ของธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นสถานที่ที่ความผิด เกิดขึ้น เมื่อธนาคารซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ที่ จังหวัดภูเก็ต จึงต้องถือว่าความผิดเกิดขึ้นที่ จังหวัดภูเก็ต และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดภูเก็ต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเช็คหลังการหักบัญชีสำเร็จ และความรับผิดของธนาคารต่อการจ่ายเงินตามเช็ค
ผู้สั่งจ่ายขออายัดเช็คหมาย จ.3 หลังจากธนาคารจำเลยที่ 2 ทำการหักโอนเงินจากบัญชีของผู้สั่งจ่ายเข้าบัญชีของโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว อันถือได้ว่ามีการจ่ายเงินตามเช็คนั้นแล้ว ธนาคารจำเลยที่ 2 จึงไม่สมควรรับการอายัดของผู้สั่งจ่าย เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 รับการอายัดของผู้สั่งจ่าย แล้วโอนเงินจากบัญชีของโจทก์กลับคืนไปยังบัญชีของผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลระเบียบปฏิบัติงานธนาคารจำเลยที่ 2 เป็นระเบียบภายในของธนาคารจำเลย ใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 992 เป็นเรื่องที่ธนาคารยังมิได้มีการใช้เงินตามเช็คหรือหักโอนบัญชีตามเช็คจึงใช้บังคับกับคดีนี้ไม่ได้ ทั้งกรณีตามคดีนี้ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตรา 991 ด้วย และเมื่อโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็คหมาย จ.3 แม้ผู้สั่งจ่ายได้ออกเช็คหมาย จ.19 ให้โจทก์อีกแต่ก็ปรากฏว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คหมาย จ.19 ไม่ได้ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดกรณีตามเช็คหมาย จ.3 ได้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมให้ผู้สั่งจ่ายแลกเปลี่ยนเช็คจากเช็คหมายจ.3 มาเป็นเช็คหมาย จ.19 แล้ว
โจทก์ทราบดีว่าได้จ่ายเงินเกินยอดเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหรือบัญชีของโจทก์ไม่มีเงินพอจ่ายแล้วแต่โจทก์ก็ยังสั่งจ่ายเช็คอีก เมื่อธนาคารจำเลยที่ 2 ปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะยอดเงินตามบัญชีของโจทก์สูงเกินวงเงินเบิกเกินบัญชีตามสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารงดจ่ายเช็คแล้วจ่ายภายหลัง: ความรับผิดในความเสียหาย
จำเลยมีหนังสือแจ้งธนาคารโจทก์สาขาให้งดจ่ายเงินตามเช็ค13 ฉบับ ธนาคารฯ ได้ปฏิบัติตามคำสั่งงดจ่ายเงิน แต่ต่อมาได้จ่ายเงินตามเช็คไป 3 ฉบับ โดยฝ่าฝืนคำสั่งขอให้งดจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ ธนาคารโจทก์ต้องชดใช้เงินจำนวนนี้ให้จำเลยพร้อมค่าเสียหายนับแต่วันจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้ถือเช็คโดยชอบเป็นผู้เสียหายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
เช็คพิพาทเป็นเช็คอันสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ และจำเลยออกให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อเพชรพลอยโดยชอบเมื่อ ว. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดมอบเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อแลกเงินสด โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คเพราะจำเลยปิดบัญชี โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย เช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2524และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันดังกล่าว โดยโจทก์เป็นผู้ทรงและเป็นผู้เสียหาย ว. หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้มอบเช็คให้แก่โจทก์ไม่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะตกลงกับจำเลยและสามีจำเลย แม้สามีจำเลยออกเช็คใหม่ให้ ว. หุ้นส่วนผู้จัดการแทนเช็คพิพาท ก็ไม่เป็นเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องซึ่งโจทก์มีอยู่ตามกฎหมายต้องระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยธนาคารเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้านั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3) ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้ รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้ เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริงจึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ ธนาคารมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ระยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำใน ธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อจ่ายเงินจากบัญชีลูกค้าโดยไม่มีใบมอบฉันทะและลายมือชื่อไม่ตรง
โจทก์เป็นลูกค้าโดยเปิดบัญชีเงินฝากประจำไว้แก่ธนาคารจำเลย ที่ 2 การที่ธนาคารจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 ถอนเงินไปจากบัญชีเงินฝากประจำของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีใบมอบฉันทะของโจทก์มาแสดง และลายมือชื่อในช่องผู้ถอนเงินและด้านหลังใบถอนเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์อันแท้จริง โดยไม่ได้ความชัดว่าได้มีการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในใบถอนเงินที่ทำมาผิดระเบียบเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์หรือไม่ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวังและฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการธนาคารอันเป็นอาชีวะของตน จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
of 40