คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้เพิกเฉยไม่วางเงินค่าใช้จ่ายขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีมีสิทธิขอถอนการบังคับคดีได้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนอง ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้โจทก์วางเงินค่าใช้จ่ายในการประกาศขายทอดตลาด แต่โจทก์ไม่ได้วางเงินภายในกำหนดเวลาดังกล่าวดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295 ทวิชอบที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขอให้ศาลถอนการบังคับคดีนั้นเสีย และการที่ศาลชั้นต้นสั่งถอนการบังคับคดีโดยไม่ได้ไต่สวนคำร้องเพราะข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา ศาลอนุญาตให้บังคับคดีได้
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโฉนดเลขที่พิพาทกับโจทก์เป็นเวลา 30 ปี โดยให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 750,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เป็นการตอบแทน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ไปก็ให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 4,950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์เป็นเงินเดือนละ 30,000 บาท แก่โจทก์จนกว่าจำเลยที่ 1 จะไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์และหรือจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยทั้งสองทราบคำบังคับแล้วจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ไปรับการจดทะเบียนการเช่าที่ดินที่พิพาท ณ สำนักงานที่ดิน แต่โจทก์ไม่ไปตามนัด เพราะโจทก์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าจำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างอาคารพิพาทตามที่ระบุไว้ในสัญญา การก่อสร้างยังไม่เรียบร้อยและไม่อาจทำการค้าได้ อาคารพิพาทมีสภาพรกร้างไม่มีผู้เข้าอยู่อาศัยหากโจทก์รับจดทะเบียนการเช่าแล้วไม่ทำการค้าภายใน 4 ปี โจทก์จะต้องถูกขับไล่และหากไม่ออกจากอาคารพิพาทก็จะต้องเสียค่าปรับวันละ 100,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 ไม่ปรับปรุงอาคารให้อยู่ในสภาพที่ทำการค้าได้ แม้จำเลยที่ 1 จะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วก็ตามแต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยที่ 1 เสนอให้โจทก์จดทะเบียนมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่า ที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่น บุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่าห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวัน ผู้เช่าต้องทำการค้าภายใน 4 ปี นับแต่วันทำสัญญาเช่ามิฉะนั้นต้องเสียค่าปรับเป็นรายวัน อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามคำพิพากษา ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 207 และมาตรา 320 กรณีต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษา ในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 เพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้ การออกหมายบังคับคดีของศาลชั้นต้นไม่ได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการชำระหนี้ที่ผิดสัญญา: สิทธิของเจ้าหนี้ในการปฏิเสธการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญา
แม้จำเลยจะยอมจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์อันเป็นการขอปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกก็ตาม แต่หนังสือสัญญาเช่าที่จำเลยเสนอให้โจทก์จดทะเบียนนั้นมีข้อความจำกัดสิทธิผู้เช่าเกินกว่าที่ผู้เช่าโดยทั่วไปจะปฏิบัติได้ เช่นบุคคลที่จะอยู่อาศัยในอาคารที่เช่าต้องเป็นญาติของผู้เช่า ห้ามชาวต่างประเทศอยู่อาศัยหรือทำงานในอาคารที่เช่า ห้ามทุกคนอยู่บริเวณเฉลียงของอาคารในเวลากลางวันเป็นต้นซึ่งหนังสือสัญญาเช่าตึกดังกล่าวมีข้อความผิดไปจากข้อความในสัญญาก่อสร้างอาคารยกสิทธิและสัญญาว่าจ้างสร้างอาคารเดิม อันเป็นการจะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ผิดไปจากที่จำเลยจะต้องชำระ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิไม่ยอมรับจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 207 และมาตรา 320กรณีต้องถือว่าจำเลยไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาในลำดับแรกได้ โจทก์ย่อมขอออกหมายบังคับคดีแก่จำเลยเพื่อบังคับชำระเงินตามคำพิพากษาในลำดับหลังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและการบังคับคดีทำให้สะดุดหยุดลง แต่มีกรอบเวลา 10 ปี
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีประจำปี 2526 และ 2527 ถือว่า เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว เป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี จึงเป็นเหตุให้ อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) เมื่อเจ้าพนักงานประเมินกำหนดให้จำเลยชำระเงินค่าภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2530 อายุความ จึงเริ่มต้นนับใหม่เมื่อพ้น 30 วัน นับแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2530 ซึ่งอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
การยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ให้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. โดยอนุโลมจึงต้องใช้อำนาจภายในกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 นับแต่วันที่อาจใช้อำนาจตามมาตรานี้ได้ แต่กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามมาตรา 271 มิใช่อายุความอันจะอยู่ในบังคับแห่ง บทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่โจทก์มี คำสั่งอายัดเงินมัดจำขวดและลังที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากบริษัท บ. และบริษัทดังกล่าวส่งเงินอายัดให้โจทก์เป็นเพียง ขั้นตอนในการบังคับคดีเท่านั้น ไม่ใช่การกระทำอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี ไม่ทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่จำเลย จึงไม่อาจนำหนี้มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5714/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อให้การบังคับคดีดำเนินต่อไปได้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยในเรื่องที่ขอให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป มิใช่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาหลักประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เพราะการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยกระทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมทำให้การบังคับคดีต้องล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยผู้อุทธรณ์จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวให้ครบถ้วน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 234 ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ ต้องยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักส่วนได้ใช้แทนในบังคับคดีและการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยได้จากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย การที่โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทน หมายถึงการที่โจทก์มีหน้าที่ต้องวางเงินชำระ ราคาค่าซื้อที่ดินในฐานะผู้ซื้อ และโจทก์มีสิทธิรับเงินจากการขายทอดตลาดที่โจทก์นำมาวางชำระค่าที่ดินในฐานะ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนราคาที่ต้องชำระ และศาลอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยจะร้องคัดค้านการขายทอดตลาด โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคน ได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในมาตรา 318 ถึง 322 แห่ง ป.วิ.พ. เป็นแต่เพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว ก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลยเพิ่ม เนื่องจากบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน ของเจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณ ไม่ถูกต้อง ส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้จ่ายให้โจทก์รับไปตามหนี้จำนองที่โจทก์มีอยู่เหนือที่ดินที่ขายทอดตลาดดังกล่าวครบถ้วนตามหนี้จำนองและเงินส่วนที่เหลือได้คืนให้จำเลย รับไปแล้ว เมื่อกรณียังไม่เป็นการแน่ชัดว่า เมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือ ที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่ เพียงใด ศาลฎีกาเห็นควรให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยพอชำระหนี้โจทก์พร้อม ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีแล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยตามสิทธิของแต่ละฝ่าย และเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดเพิ่มต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง และการทำบัญชีรับ-จ่ายใหม่เพื่อให้เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดินสองแปลงจากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนและศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยที่ 3 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดิน โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเพราะโจทก์ไม่ต้องวางเงินชำระค่าซื้อที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์อีก ดังนั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทนก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในวันที่ศาลสั่งอนุญาต จึงคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายรับ-จ่ายก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคนได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318ถึง 322 นั้นเป็นเพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่มิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณโดยถือว่าเงินจำนวนที่หักได้ใช้แทนนั้น ยังมิได้ชำระให้โจทก์จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 3 โดยคำนวณดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวมาถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 รวม 13 แปลง ชำระหนี้โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายรับ จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินรวม 13 แปลง พอชำระหนี้โจทก์แล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายและเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีก 6 แปลงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5311/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้และสิทธิเรียกร้องในคดีบังคับคดี: เจ้าหนี้บุริมสิทธิจำนองได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เจ้าหนี้สามัญไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ธ. และ ย. ยื่นคำร้องต่อศาลขอรับชำระหนี้จำนองที่มีอยู่เหนือทรัพย์จำนองของผู้ร้องสอดจำนวน 13,950,000 บาทแต่เงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมีเพียง7,601,977 บาท การที่ ธ. และ ย. แถลงต่อศาลว่า เมื่อได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดในคดีนี้แล้ว ก็ไม่ติดใจที่จะเรียกหนี้สินจากผู้ร้องสอดอีกต่อไป ย่อมหมายถึง ตกลงรับชำระหนี้เพียงเงินจำนวนสุทธิทั้งหมดที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าวเท่านั้น ส่วนการที่ ธ. และ ย. จะมอบเงินให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่โจทก์เป็นเงิน1,101,977 บาท นั้นก็เป็นเงินของ ธ. และ ย. ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคิดหักไว้เพื่อจ่ายให้แก่โจทก์ตามที่ธ. และ ย. ได้ตกลงกับโจทก์นั่นเอง มิใช่เงินที่เหลือจากการขายทอดตลาดหรือเหลือจากการชำระหนี้จำนองให้แก่ ธ. และย. ซึ่งจะต้องนำมาเฉลี่ยให้แก่โจทก์และกรมสรรพากรผู้ร้อง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 253(3) เมื่อ ธ. และ ย. ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปหมดแล้ว ย่อมไม่เหลือทรัพย์ที่ผู้ร้องจะเข้ามามีส่วนเฉลี่ยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: สิทธิในที่ดินมรดก การครอบครองปรปักษ์ และการบังคับคดี
การแย่งการครอบครองที่ดินจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่น จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ร. เพราะร. ได้ยกให้ ว. ก่อนตาย ว. ได้ครอบครองทำประโยชน์มาประมาณ20 ปี โดยโจทก์ไม่เคยเกี่ยวข้อง แล้ว ว. ได้ขายให้จำเลย จำเลยจึงเข้าครอบครองทำประโยชน์ต่อจาก ว. ไม่ได้บุกรุก เห็นได้ว่าจำเลยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาตั้งแต่ต้น จำเลยมิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คดีจึงไม่มีปัญหาเรื่องการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่จึงไม่ชอบ
ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยปรับที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิมหากจำเลยไม่ดำเนินการ ให้โจทก์ว่าจ้างบุคคลอื่นกระทำการโดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงให้ยกคำขอในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ: ศาลต้องออกคำบังคับเพื่อให้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แผ่นดิน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เงินและ/หรือทรัพย์สินอื่นจำนวน 12,000,000 บาทของผู้คัดค้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ผู้คัดค้านจึงหมดสิทธิที่จะยึดถือครอบครองเงินและ/หรือทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นของตนอีกต่อไป ต้องส่งมอบให้แก่แผ่นดิน เมื่อผู้คัดค้านยังไม่ส่งมอบให้แก่แผ่นดินก็จำเป็นต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไรจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
of 270