คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับจำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก: แม้แบ่งแยกโฉนดจำนองยังคงครอบคลุมทุกแปลง
คำฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 นำที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาท (ปัจจุบันได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580) มาจดทะเบียนจำนองไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 โจทก์ขอให้บังคับจำนองโฉนดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้โจทก์ ปัญหาการแบ่งแยกโฉนดที่ดินพิพาท จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยอ้างว่าโจทก์เพิ่งหยิบยกและส่งสำเนาโฉนดที่ดินพิพาทฉบับที่มีการแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 103578, 103579 และ 103580 ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
ภายหลังจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยก บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิม แม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วนจำนองยังครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วน นอกจากนี้ไม่ปรากฏว่าที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทโจทก์ผู้รับจำนองยินยอมจดทะเบียนปลอดจำนอง
เมื่อคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 เป็นคำขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 68776 ที่พิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิจำนองและการบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการโอนสิทธิรับจำนองไม่ได้หมายถึงการโอนหนี้ประธาน โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากสารบัญจดทะเบียนที่ดินได้ความว่า จำเลยที่ 2 นำที่ดินไปจดทะเบียนและเพิ่มเงินจำนองไว้แก่โจทก์หลายครั้ง คือ จำนองเป็นประกันลำดับแรกและจำนองเป็นประกันลำดับสอง ซึ่งหมายถึง มีการจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ในมูลหนี้ต่างรายกัน รวม 2 ราย ส่วนรายละเอียดของการโอนสิทธิจำนองในหนี้สินรายใดย่อมต้องปรากฏอยู่ในหลักฐานการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ธ. สัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้รายใดย่อมถือว่าหนี้รายนั้นเป็นหนี้ประธาน สัญญาจำนองย่อมถือเป็นอุปกรณ์ของหนี้ประธาน ดังนั้น การโอนสิทธิรับจำนองหนี้รายหนึ่งรายใดไปให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ย่อมหมายถึงมีการตกลงโอนหนี้ประธานไปยังบุคคลคนนั้นแล้ว ได้ความว่า ก่อนฟ้องโจทก์โอนหนี้ของจำเลยบางส่วนไปให้แก่บริษัท ธ. และโอนสิทธิการรับจำนองลำดับที่หนึ่งไปด้วย ส่วนสิทธิจำนองคดีนี้เป็นสิทธิจำนองลำดับสอง ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์มิได้โอนสิทธิเรียกร้องตามฟ้องไปให้แก่บริษัท ธ. ดังนั้น สิทธิจำนองลำดังสองซึ่งจำนองเป็นประกันหนี้หรือสิทธิเรียกร้องตามฟ้องย่อมไม่อาจโอนไปยังบริษัท ธ. โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองแก่ที่ดินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้และการฟ้องบังคับจำนอง: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องไม่บังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แม้บทกฎหมายหนี้จะอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 193/27 แห่ง ป.พ.พ. เป็นผลให้เจ้าหนี้จำนองยังคงมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องว่า บ. ร่วมกับจำเลยที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ ต่อมา บ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ขอให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้อันเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยมิได้ขอให้บังคับชำระหนี้จากที่ดินที่จำนอง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องเรียกให้ชำระหนี้เงินกู้อย่างเจ้าหนี้สามัญมิใช่ฟ้องบังคับจำนองถึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/27 ต้องนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์รู้ถึงความตายของ บ. ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2548 แต่โจทก์ฟ้องคดีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 วันที่ 26 มกราคม 2550 พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ถึงความตายของ บ. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้อันเป็นหนี้ประธานจึงขาดอายุความ ดอกเบี้ยซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26 ฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงขาดอายุความแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระนับย้อนหลังขึ้นไปตั้งแต่วันฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี จึงเป็นอันขาดอายุความ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 26 มกราคม 2550 ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2541 ถึงวันที่ 25 มกราคม 2545 จึงเกิน 5 ปี และขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้, สัญญาค้ำประกัน, การพิสูจน์ลายมือชื่อ, และการบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 707 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์มอบเงินกู้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลังจากทำสัญญาจำนองหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นย่อมสมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1152/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้กู้ยืมและการบังคับจำนองหลังหนี้ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์โดยมีข้อตกลงผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนโจทก์เป็นงวด ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2)
จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นการชำระผิดไปจากข้อตกลง จำเลยที่ 1 จึงได้ชื่อว่าผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิบังคับสิทธิเรียกร้องได้ทั้งหมดนับแต่นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี คดีของโจทก์ในส่วนหนี้เงินกู้จึงขาดอายุความ
แม้หนี้ตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินที่จำนองซึ่งโอนไปเป็นของจำเลยที่ 2 แล้วได้ แต่จะใช้สิทธินั้นบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้เท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8688/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญากู้เงิน & การบังคับจำนอง: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับ & แก้ไขคำพิพากษาหากผิดพลาด
เมื่อสัญญากู้เงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แน่นอนแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ยังให้สิทธิผู้ให้กู้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ใหม่เมื่อใดก็ได้ เมื่อผู้กู้ผิดนัดเช่นนี้มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้า เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้
การที่ผู้กู้มีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองไว้แก่ผู้ให้กู้ โดยมีข้อตกลงให้ผู้ให้กู้จัดการทำประกันภัยแทนผู้กู้ได้ และผู้กู้ยินยอมชำระค่าธรรมเนียมและค่าเบี้ยประกันภัยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ก่อนชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้น กรณีดังกล่าวจะต้องเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยที่ผู้ให้กู้ได้ชำระแทนไปแล้ว แต่ที่โจทก์ขอมาเป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยภายหลังจากวันฟ้อง จึงเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระ อันเป็นหนี้ในอนาคตจะถือว่าจำเลยที่ 1 และนาย ช. ละเลยเสียไม่ชำระหนี้ของตนนั้นยังไม่ได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และนาย ช. ตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้และบังคับจำนอง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นการบังคับจำนองว่า เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยทั้งสองโดยชอบแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ หากไม่พอย่อมยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 1 และนาย ช. ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบ แต่ในตอนพิพากษากลับมิได้พิพากษาเกี่ยวกับการบังคับจำนอง คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองหลังซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด: จำเลยมีสิทธิไถ่ถอน ไม่ใช่ผู้จำนอง
การที่จำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองมาจากการขายทอดตลาดในคดีหมายเลขแดงที่ 4394/2536 ของศาลชั้นต้น โจทก์ผู้ทรงสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์นั้นได้ แต่หาได้ทำให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ ฐานะของจำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ลักษณะ 12 หมวด 5 กล่าวคือ จำเลยมีสิทธิไถ่ถอนจำนองโดยเสนอรับใช้เงินเป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้นซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมรับ โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำเสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติในมาตรา 738 และ 739 และถ้าจำเลยมิได้ใช้สิทธิเสนอไถ่ถอนจำนองดังกล่าว หากโจทก์จะบังคับจำนอง ก็ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่จำเลยล่วงหน้าหนึ่งเดือนก่อนแล้วจึงจะบังคับจำนองได้ตามมาตรา 735 ซึ่งบัญญัติไว้ในลักษณะ 12 หมวด 4 มิใช่ว่าเมื่อจำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองมาแล้วโจทก์จะอาศัยสิทธิความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 9571/2537 ติดตามบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นได้ทันที เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวและประเด็นแห่งคดีก็เป็นคนละอย่างกัน กรณีหาใช่เรื่องสืบสิทธิที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนองหลังการขายทอดตลาด: สิทธิของโจทก์และฐานะของผู้ซื้อทรัพย์จำนอง
จำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองมาจากการขายทอดตลาดของศาลในคดีที่บริษัท ธ. ฟ้องเรียกเงินกู้จาก พ. โจทก์ผู้ทรงสิทธิจำนองย่อมมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์นั้นได้ แต่จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้จำนอง ฐานะของจำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิไถ่ถอนจำนอง ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมรับโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาล เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นตามมาตรา 738 และมาตรา 739 และถ้าจำเลยมิได้ใช้สิทธิเสนอไถ่ถอนจำนองดังกล่าว หากโจทก์จะบังคับจำนองก็ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่จำเลยจึงจะบังคับจำนองได้ตามมาตรา 735 มิใช่ว่าโจทก์จะอาศัยสิทธิความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาติดตามบังคับคดีแก่ทรัพย์สินนั้นได้ทันที การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ แต่จำเลยมิได้เป็นคู่ความในดคีดังกล่าวและประเด็นแห่งคดีเป็นคนละอย่างกัน กรณีมิใช่เรื่องสืบสิทธิที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย การพิสูจน์เจตนาใช้ภูมิลำเนาเดิม และการรับผิดร่วมของสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์และทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว โดยมีข้อสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่า หากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นการร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นและได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติเพียงว่า ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น มิได้บัญญัติบังคับว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือด้วยการมอบอำนาจให้ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับคดีลูกหนี้ชั้นต้น - บังคับจำนองทรัพย์สิน - การยึดทรัพย์สินเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3,719,572.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อปีของต้นเงิน 3,355,338.18 บาท นับแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 จนกว่าจะชำระเสร็จ หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ โจทก์ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้โดยบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ถ้ายังไม่พอชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิดำเนินการบังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาจนกว่าจะครบถ้วนได้ ไม่จำเป็นต้องระบุในคำพิพากษาว่าหากบังคับจำนองเอาจากทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 แล้วได้เงินไปพอชำระหนี้ ให้โจทก์ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย
of 25