คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมโนสาเร่: กระบวนการพิจารณาคดีที่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 และการไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ
ตามบทบัญญัติมาตรา 193 แห่งป.วิ.พ. กรณีจะถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คือกรณีที่จำเลยมาศาลตามวันที่กำหนดในหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้การ และศาลมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การและดำเนินการพิจารณาต่อไป โดยศาลไม่ต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นรับฟ้องเป็นคดีมโนสาเร่ การที่ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกอย่างคดีแพ่งสามัญจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และในวันนัดพิจารณาเมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองมาพร้อมกันแล้ว การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การแล้วศาลไกล่เกลี่ยต่อไป เมื่อคู่ความไม่อาจตกลงกันได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการมอบอำนาจ: ศาลชั้นต้นอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้กรรมการผู้มีอำนาจสองคนมีอำนาจมอบอำนาจให้นาย ก เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ และโจทก์มอบอำนาจให้นางสาว ธ สามารถทำสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ สัญญาเช่าซื้อจึงชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่า ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 และ 5 ในช่องเจ้าของไม่ใช่ลายมือชื่อกรรมการของโจทก์ ผู้ลงลายมือชื่อไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนและไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์กับไม่มีตราประทับของโจทก์ ทั้งการที่โจทก์มอบอำนาจให้นางสาว ธ เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน แต่นาย ฉ ผู้มอบอำนาจไม่ใช่กรรมการของโจทก์ จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนโจทก์นั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายและอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพื่อพิจารณาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ผู้บริโภค ไม่สามารถใช้วิธีอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
คดีผู้บริโภคจะขึ้นมาสู่ศาลฎีกาได้เฉพาะแต่กรณีที่คู่ความยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภค พร้อมคำร้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลชั้นต้นเพื่อส่งให้ศาลฎีกาพิจารณา และศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาแล้วเท่านั้น ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 46, 49, 51, 52 และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดีในคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ข้อ 40 ดังนั้นจึงไม่อาจอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 7 นำบทบัญญัติในเรื่องการอนุญาตให้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาอนุโลมใช้บังคับแก่คดีผู้บริโภคได้ เพราะขัดเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2897/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีโดยศาลเนื่องจากเข้าใจผิดว่าคู่ความขาดนัด ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้ตามมาตรา 27 ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลยในวันที่ 24 เมษายน 2549 เวลา 9 นาฬิกาเมื่อถึงวันนัดในช่วงเช้า ทนายโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและไปคอยอยู่ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 แต่เนื่องจากคดีนี้ย้ายไปพิจารณาที่ห้องพิจารณาคดีที่ 5 จึงไม่พบสำนวนคดีนี้ ทนายโจทก์จึงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์หน้าบัลลังก์ลงเวลานัดพิจารณาผิดพลาดเป็นช่วงบ่าย ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์จึงไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดีที่ 5 ในช่วงเช้า โดยรออยู่ที่ศาลจนถึงช่วงบ่าย เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์มาศาลตามกำหนดนัดแล้ว แต่เป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลเองที่ทำให้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์และทนายโจทก์ไม่ได้เข้าห้องพิจารณาคดี เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเข้าใจว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณา จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ การจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการสั่งโดยผิดหลง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวเสียได้ตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 27 ให้อำนาจไว้ โดยไม่จำต้องมีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13148-13151/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิม: โจทก์ฟ้องมูลหนี้ซ้ำ ศาลอุทธรณ์อ้างมาตรา 145 วรรคแรก ป.วิ.พ. ยืนตามคำพิพากษาเดิม
มูลหนี้ค่าเบี้ยประกันที่ฟ้องให้จำเลยชำระแก่โจทก์เป็นจำนวนเดียวกันกับมูลหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ ล.24/2543 ของศาลชั้นต้น ที่ศาลฟังว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก คำพิพากษาต้องผูกพันโจทก์ว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยแก่โจทก์ เมื่อโจทก์นำมูลหนี้ค่าเบี้ยประกันภัยซึ่งจำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์มาฟ้องเป็นคดีนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกมาตรา 145 วรรคแรก ขึ้นมาวินิจฉัยว่า โจทก์ผูกพันตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ล.24/2543 ของศาลชั้นต้น และไม่อาจนำมูลหนี้เดิมมาฟ้องเป็นคดีนี้อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11519/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ยืนตามคำสั่งไม่อนุญาตขยายระยะเวลายื่นฎีกา: ไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกา ไม่ใช่กรณีศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังจนถึงวันครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่โจทก์เป็นเวลานานถึง 2 เดือน คดีของโจทก์ก็ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อน หากโจทก์ให้ความสำคัญต่อคดีของตนระยะเวลาดังกล่าวก็เพียงพอที่โจทก์จะจัดทำฎีกาและยื่นฎีกาได้ทันภายในกำหนดอีกทั้งในชั้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ได้กำชับในคำร้องแล้วว่า เป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาเพียงครั้งเดียวดังนั้น จึงเป็นหน้าที่โจทก์ที่ควรเร่งจัดทำฎีกามายื่นต่อศาลให้ทันภายในกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฎีกาอีกนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10756/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และผลกระทบต่อการบังคับคดี
คดีนี้เป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ข้อห้ามอุทธรณ์ตามบทบัญญัตินี้ต้องใช้บังคับแก่การอุทธรณ์ทั้งในประเด็นเนื้อหาแห่งคดีตลอดจนปัญหาเรื่องอื่นๆ ที่เป็นสาขาคดี ซึ่งรวมถึงปัญหาในชั้นบังคับคดีด้วย โดยเหตุที่ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ต้องถือตามเหตุต้องห้ามอุทธรณ์ในคดีตามคำฟ้องและคำให้การที่พิพาทกันแต่เดิมนั้นเป็นลำดับ หากมีเหตุอันต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้วแม้ปัญหาในชั้นสาขาคดีในส่วนการบังคับคดีจะไม่มีเหตุต้องห้ามอุทธรณ์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตามเหตุต้องห้ามในคดีแต่เดิมดังกล่าว
การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จากพยานหลักฐานในสำนวนน่าจะฟังข้อเท็จจริงได้ว่า จำเลยออกจากที่ดินตามฟ้องของโจทก์ภายในวันที่ 31 มกราคม 2538 ตามกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมในคดีนี้แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจึงไม่อาจที่จะบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยได้ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ย่อมต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมาเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรแล้วย่อมยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องเสียได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และ 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10389/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังพ้นกำหนด – เหตุอันสมควร – ความสงบเรียบร้อย – ป.วิ.พ. มาตรา 195
ป.วิ.พ. มาตรา 195 บัญญัติให้นำบทบัญญัติในคดีสามัญมาใช้บังคับกับคดีมโนสาเร่เช่นคดีนี้ด้วย กล่าวคือ กรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ฯลฯ เมื่อคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยยื่นภายหลังล่วงพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงต้องพิจารณาว่าเป็นกรณีเข้าข้อยกเว้นที่จะสามารถยื่นได้หรือไม่ ปรากฏข้อความที่จำเลยขอแก้ไขจากคำให้การเดิมว่า ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ เป็นลายมือชื่อปลอม การมอบอำนาจจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอมและดวงตราที่ประทับก็ไม่ใช่ดวงตราประทับที่จดทะเบียนไว้ จึงเป็นการมอบอำนาจโดยมิชอบนั้น ล้วนเป็นเรื่องที่จำเลยย่อมทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจยื่นคำให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวได้ตั้งแต่ยื่นคำให้การครั้งแรก หรือมิฉะนั้นนับแต่วันยื่นคำให้การไปจนถึงวันสืบพยานโจทก์นัดแรกก็ยังมีระยะเวลานานเพียงพอที่จำเลยจะสามารถขอแก้ไขคำให้การได้ทัน จึงไม่ใช่เหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น อีกทั้งการขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวนั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่ใช่การขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังจากสืบพยานโจทก์แล้วเช่นนี้ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 180

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหาย เนื่องจากจำนวนทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท ตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ป.วิ.พ.
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกอันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกันนั้น ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาเฉพาะค่าเสียหายว่าโจทก์ทั้งสี่ไม่ได้เสียหายตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาซึ่งเป็นค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสี่จะมีสิทธิเรียกได้ไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7234/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 235 และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตรวจคืนหลักประกันแก่ผู้ค้ำประกัน และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินจำนวน 71,000 บาท มาคืนต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์คำพิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้เรียกโฉนดที่ดินอันเป็นหลักประกันคืนจากผู้ค้ำประกัน เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป และให้นำเงินจำนวน 71,000 บาท ที่โจทก์รับไปแล้วมาหักทอนกับค่าเสียหายตามคำพิพากษาอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ค้ำประกัน ต้องถือว่าผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยอุทธรณ์ด้วย การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ โดยไม่สั่งให้ส่งนำเนาอุทธรณ์แก่ผู้ค้ำประกัน จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 235 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาคดีไปโดยไม่สั่งให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้อง ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจึงต้องยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 243 (2)
of 27