พบผลลัพธ์ทั้งหมด 402 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4225/2529 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มภาษี: กฎหมายเฉพาะเจาะจงห้ามคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน แม้ลูกหนี้ผิดนัด
ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ชำระภาษีให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ และกำหนดไว้ด้วยว่าเงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระ จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ากฎหมายได้บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ซ้ำอีกไม่ได้ ลูกหนี้จึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยของเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับและดอกเบี้ยในสัญญาประนีประนอม: สิทธิของโจทก์เมื่อจำเลยผิดนัดชำระหนี้
เดิมโจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 850,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ซึ่งมีผลทำให้หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 โดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน คือโจทก์ยอมลดเงินต้นเหลือ 780,000 บาท จำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในเงินต้นดังกล่าวแก่โจทก์และชำระเงินต้นคืนเป็นการตอบแทน แต่ถ้าจำเลยผิดนัดให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที และให้โจทก์บังคับเอาเงินต้นจากจำเลยเป็นเงิน 850,000 บาท จึงเห็นได้ว่ากรณีผิดนัด จำเลยจะต้องถูกบังคับให้ชำระหนี้เพิ่มจากเงินต้นตามสัญญาอีก 70,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็คือเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 นั่นเอง ตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดนัด นอกจากโจทก์จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาแล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับได้อีกด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยจากต้นเงิน 780,000 บาท ตามสัญญาต่อไปอีก จนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดประเด็นข้อพิพาท, ตัวแทน, หน้าที่ส่งมอบเงิน, และการผิดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนโจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นตัวแทนจำเลยร่วมประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนหรือไม่ส่วนที่จำเลยให้การเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท. จำเลยร่วมซึ่งร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)มีฐานะเสมอด้วยจำเลยและมีสิทธิต่อสู้คดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีอยู่เท่านั้นจึงไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่เพื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้และดอกเบี้ย: กำหนดวันชำระและหนังสือทวงถาม
โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากจำเลยได้ตั้งแต่วันที่โจทก์ปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญา(6ธันวาคม2521)แต่หนี้ที่จะต้องชำระเงินคืนของจำเลยนั้นมิได้กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทินจึงจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าวมิได้กรณีจะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระเมื่อได้ความว่าโจทก์ทวงถามไปยังจำเลยมเื่อวันที่30มกราคม2522โดยให้จำเลยชำระภายใน7วันจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับจากวันที่ครบกำหนดในหนังสือทวงถามคือผิดนัดตั้งแต่วันที่7กุมภาพันธ์2522จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์นับแต่วันดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4252/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมแทนการวางมัดจำ: มูลหนี้, การผิดนัด, ค่าเสียหาย
จำเลยทำสัญญากู้ยืมไว้แก่โจทก์แทนการวางมัดจำเป็นเงินสดตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสัญญากู้ยืมดังกล่าวจึงมีมูลหนี้มาจากการที่จำเลยมีหนี้ที่จะต้องวางมัดจำตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวซึ่งโจทก์มีสิทธิริบเงินมัดจำโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้ยืมได้เพราะมีมูลหนี้ต่อกันและกรณีเช่นนี้ถือได้ว่าได้มีการส่งมอบเงินให้ผู้กู้แล้ว เมื่อสัญญากู้ยืมครบกำหนด จำเลยไม่ชำระหนี้โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินได้โดยถือว่าจำเลยผิดนัดตั้งแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญากู้ยืมเป็นต้นไปและเรียกค่าเสียหายร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเท่ากับดอกเบี้ยโดยคิดตั้งแต่วันผิดนัดได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยเกินกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ แต่ชอบเรียกดอกเบี้ยตามกฎหมายเมื่อผิดนัด
จำเลยกู้เงินโจทก์ สัญญากู้เงินมีข้อความระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 18 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ข้อกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ย่อมมีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญาได้ อย่างไรก็ดีสัญญากู้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ฉะนั้น หลังจากที่โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบเพื่อทำการชำระหนี้ตามสัญญาแล้วจำเลยยังคงเพิกเฉยมิได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของโจทก์ ในกรณีเช่นนี้จำเลยได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นไปโจทก์ชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเอาแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลระงับข้อพิพาทและสร้างสิทธิเรียกร้องใหม่ อายุความเริ่มนับจากวันผิดนัด
จำเลยกู้เงินโจทก์หลายครั้ง ออกเช็คมอบให้เป็นประกันต่อมาจึงตกลงทำหนังสือกัน โดยจำเลยยอมรับว่าเป็นลูกหนี้โจทก์ จะผ่อนชำระเป็นงวด ๆ โดยออกเช็คชำระให้และระบุด้วยว่า หากโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายไว้ก่อนทำสัญญานี้ ก็ให้ถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป ดังนี้ เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 แม้จะเรียกว่าหนังสือรับสภาพหนี้ก็ตาม เมื่อคู่สัญญา ได้ลงลายมือชื่อไว้จึงมีผลตามมาตรา 852 คือทำให้การเรียกร้อง ซึ่งแต่ละฝ่ายยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิ ตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย: การชำระหนี้ต้องเป็นไปตามหลักสัญญาต่างตอบแทน หากฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายก็ไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนที่พิพาทตามสัญญาจะซื้อขายให้โจทก์โดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระค่าที่พิพาทที่ค้างชำระ ให้แก่จำเลย ย่อมไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 ปัญหาที่ว่า ศาลชั้นต้น พิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ค้างชำระ แก่จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันที่ล่วงหน้า การรับอาวัล และการผิดนัดชำระหนี้ตามเช็ค
จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ไม่ถูกต้อง เป็นหนังสือปลอมแต่มิได้อ้างว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ปลอมอย่างไรจำเลยไม่มีสิทธินำสืบว่าใบมอบอำนาจนั้นปลอมเมื่อโจทก์นำสืบว่าได้มีการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามนั้น
จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็คเพราะผู้รับมอบอำนาจโจทก์และจำเลยอีกคนหนึ่งคบคิดกันฉ้อฉลหลอกให้จำเลยลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาท แต่ในชั้นพิจารณากลับนำสืบว่า เช็คพิพาทมีมูลจากการพนันจึงไม่ต้องใช้เงินดังนี้เป็นการนำสืบนอกประเด็นรับฟังไม่ได้
การที่โจทก์นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของโจทก์ก่อนถึงกำหนดวันสั่งจ่ายในเช็คย่อมกระทำได้ เป็นเรื่องที่ธนาคารจะเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คและธนาคารตามเช็คจะพิจารณาจ่ายเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด เพราะไม่มีบทกฎหมายบังคับให้ต้องนำเช็คเข้าบัญชีต่อเมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายก่อน
บัญชีของจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายปิดไปแล้วก่อนที่เช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแจ้งว่าเช็คลงวันที่ล่วงหน้า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้รับอาวัลให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 และมาตรา 989และเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดแล้วไม่มีการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิต้องบอกกล่าวก่อน
จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเช็คเพราะผู้รับมอบอำนาจโจทก์และจำเลยอีกคนหนึ่งคบคิดกันฉ้อฉลหลอกให้จำเลยลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาท แต่ในชั้นพิจารณากลับนำสืบว่า เช็คพิพาทมีมูลจากการพนันจึงไม่ต้องใช้เงินดังนี้เป็นการนำสืบนอกประเด็นรับฟังไม่ได้
การที่โจทก์นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของโจทก์ก่อนถึงกำหนดวันสั่งจ่ายในเช็คย่อมกระทำได้ เป็นเรื่องที่ธนาคารจะเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คและธนาคารตามเช็คจะพิจารณาจ่ายเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนด เพราะไม่มีบทกฎหมายบังคับให้ต้องนำเช็คเข้าบัญชีต่อเมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายก่อน
บัญชีของจำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายปิดไปแล้วก่อนที่เช็คพิพาทถึงกำหนด โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแจ้งว่าเช็คลงวันที่ล่วงหน้า โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงย่อมใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2ผู้รับอาวัลให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959 และมาตรา 989และเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดแล้วไม่มีการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108-3110/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย/ฝาก/กู้ที่มิได้ทำตามฟอร์ม/ผิดนัด/นิติกรรมอำพราง ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องและหน้าที่ของคู่กรณี
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายฝากกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืนได้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดที่โจทก์แจ้งให้จำเลยนำเงินมาคืนเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
สัญญาที่มีข้อความระบุว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้จำเลยได้จำนองธนาคาร ฯ ไว้และจำเลยจะไถ่ถอนจำนองธนาคารมาโอนให้โจทก์นั้น เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายเพราะได้กำหนดวันนัดโอนให้ในภายหลัง เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ยอมโอนให้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่สามารถโอนให้ได้ ให้จำเลยคืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
สัญญาที่มีข้อความระบุว่าที่ดินที่ซื้อขายกันนี้จำเลยได้จำนองธนาคาร ฯ ไว้และจำเลยจะไถ่ถอนจำนองธนาคารมาโอนให้โจทก์นั้น เป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายเพราะได้กำหนดวันนัดโอนให้ในภายหลัง เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ยอมโอนให้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนตามสัญญาได้ หากจำเลยไม่สามารถโอนให้ได้ ให้จำเลยคืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ