คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผูกพัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองระวางเรือผูกพันจนกว่าจะออกใบตราส่ง แม้จะเปลี่ยนเรือขนส่ง
โจทก์ทำสัญญาใบจองระวางเรือกับจำเลยเพื่อขนข้าวสารของโจทก์ไปต่างประเทศ โจทก์ขนข้าวสารบางส่วนขึ้นเรือแล้วต่อมาจำเลยสั่งระงับและสั่งให้ขนลงจากเรือทั้งหมด ในสัญญาใบจองระวางเรือมีข้อความว่าใบตราส่งซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ใช้อยู่ตามปกติของผู้ขนส่งจะถูกนำมาใช้ ข้อกำหนดเงื่อนไขและข้อยกเว้นทั้งปวงของใบตราส่งจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ ซึ่งถือว่าเป็นผลประโยชน์เฉพาะในระหว่างช่วงเวลานี้จนกว่าจะออกใบตราส่ง แสดงว่าสัญญาใบจองระวางเรือผูกพันโจทก์จำเลยจนกว่าจะมีการออกใบตราส่งดังนั้น เมื่อยังไม่มีการออกใบตราส่งให้โจทก์ผู้ส่งจึงอยู่ในระยะเวลาที่สัญญาใบจองระวางเรือใช้บังคับ จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1300/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาด: ผู้สู้ราคาสูงสุดยังผูกพัน แม้มีคำสั่งศาลชะลอการชำระราคา จนกว่าคดีถึงที่สุด
การขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งศาล ผู้สู้ราคาจะพ้นความผูกพันในราคาซึ่งตนสู้ขณะเมื่อมีผู้อื่นสู้ราคาสูงขึ้นไป หรือเมื่อได้ถอนทรัพย์สินรายนั้นจากการทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 514 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าสู้ราคาเสนอราคาสูงสุด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขายแก่ผู้ร้อง การขายทอดตลาดย่อมบริบูรณ์ แม้จำเลยจะได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลย และศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ผู้ร้องไม่ต้องวางเงินส่วนที่ค้างชำระกับคืนเงินที่ผู้ร้องได้วางไว้ต่อศาลให้แก่ผู้ร้องนั้น ก็มีผลเพียงผู้ร้องยังไม่ต้องใช้ราคาค่าซื้อทรัพย์จนกว่าคดีจะถึงที่สุดเท่านั้น หาเป็นเหตุให้ผู้ร้องพ้นความผูกพันในราคาสูงสุดที่ตนสู้ไม่ต่อมาเมื่อศาลฎีกาพิพากษายืนให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยแก่ผู้ร้อง ผู้ร้องต้องใช้ราคาที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมด เมื่อผู้ร้องละเลยเสียไม่ใช้ราคา จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดใหม่ ถ้าได้เงินสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิม ผู้ร้องต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นต้องจดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้นจึงมีผลผูกพันกับบริษัทและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
เงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคท้าย ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า การโอนหุ้นจะต้องได้จดแจ้งให้ปรากฏหลักฐานการโอนทั้งชื่อ และที่อยู่ของผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ยันบริษัทหรือบุคคลภายนอกได้ เมื่อการโอนหุ้นของบริษัทจำเลยระหว่างผู้ร้องกับ ธ. ยังมิได้จดแจ้งการโอนลงในทะเบียนดังกล่าว ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างเหตุผลใด ๆมาเป็นข้อยกเว้นของบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้ตนหลุดพ้นความรับผิดได้ เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตก ได้แก่บริษัทจำเลยหรือซึ่งบริษัทจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องต้องห้ามมิให้ยกการโอนหุ้นขึ้นยันบริษัทจำเลย ผู้ร้องก็ย่อมไม่อาจยกการโอนหุ้นขึ้นยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเรื่องเงินเพิ่มพิเศษมีผลผูกพันลูกจ้างได้ หากลูกจ้างยินยอมรับข้อตกลงนั้นโดยชัดแจ้ง
จำเลยรับโอนโจทก์จากหน่วยงานอื่นมาเป็นลูกจ้างโดยจะให้โจทก์ได้รับอัตราเงินเดือนในขั้นใกล้เคียงที่ต่ำกว่าแต่ไม่เกินอัตราขั้นสูงสุดของแต่ละตำแหน่งส่วนเงินจำนวนที่ขาดไปนั้นจำเลยจะจ่ายให้เท่าที่เคยได้รับมาก่อน ซึ่งเรียกว่า "เงินเพิ่มพิเศษ"โดยมีหลักเกณฑ์ว่าจะจ่ายให้เป็นการชั่วคราวในระยะเวลาเพียง 6 เดือน โจทก์ตกลงยินยอมตามนั้น ความยินยอมของโจทก์จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันโจทก์จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อครบ 6 เดือนแล้ว ภายหลังจากนั้นโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามสัญญาซื้อขายจากพฤติการณ์ยอมรับรู้ การเชิดตัวเป็นตัวแทน และการไม่ปฏิเสธการซื้อขาย
ช. เคยเป็นกรรมการบริษัทจำเลย และยังคงเป็นผู้ถือหุ้นของจำเลย ช.ได้เข้าประชุมผู้ถือหุ้นจำเลยตลอดมาเมื่อช. ไปติดต่อและทำสัญญาซื้อสินค้ากับโจทก์ ก็แสดงนามบัตรว่าทำงานกับจำเลยทั้งจำเลยมิได้ปฏิเสธการที่ ช. สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์เป็นเวลานานกว่าปี ดังนี้ พฤติการณ์เท่ากับจำเลยได้รับรู้ยอมให้ ช.เชิด ตัวเองเป็นตัวแทนของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจทนายรับเงินแทนเจ้าหนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ถือเป็นการผูกพันเจ้าหนี้
ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยได้ชำระเงินงวดแรกให้แก่โจทก์ต่อหน้าศาลในวันทำสัญญา เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้มอบหมายให้ทนายโจทก์รับเงินงวดแรกแทนโจทก์ด้วยและการรับเงินในกรณีเช่นนี้กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งมิใช่การรับเงินจากศาลอันจะต้องทำเป็นหนีงสือ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 63การที่จำเลยชำระเงินงวดแรกให้แก่ทนายโจทก์ต่อหน้าศาลจึงผูกพันโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับรายงานการสาบานต่อหน้าศาล มีผลผูกพันจำเลย แม้จะอ้างว่าคำสาบานนอกเหนือข้อตกลง
โจทก์จำเลยตกลงท้ากันว่า หาก ป. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์สาบานได้ว่า จำเลยนำเช็คตามฟ้องมาแลกเงินสดจากโจทก์ตามฟ้องจำเลยยอมแพ้คดี หากป.ไม่ยอมสาบานไม่ว่าแห่งหนึ่งแห่งใด โจทก์ยอมแพ้คดี ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลได้รายงานต่อศาลว่าได้กล่าวคำสาบานและ ป. กล่าวคำสาบานตามที่คู่ความตกลงกันไว้แล้ว เมื่อจำเลยซึ่งไปฟังการสาบานได้ลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ปรากฏข้อทักท้วงต่อเจ้าหน้าที่ศาลว่า ป. กล่าวถ้อยคำนอกเหนือจากที่มีการตกลงกัน จึงถือได้ว่าจำเลยรับรองความถูกต้องของรายงานเจ้าหน้าที่นั้นแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามคำแถลงต่อศาล: โจทก์ยินยอมรับค่าเสียหายเพียงบางส่วน สละสิทธิในส่วนที่เหลือ
จำเลยแพ้คดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลแล้วฎีกา ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอถอน ฎีกาโดยโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลว่า โจทก์ยอมรับชำระเงินตามคำพิพากษาเพียง 51,000 บาท นอกจากเงินดังกล่าวนี้แล้วโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องและบังคับคดีเอาจากเงินจำนวนอื่น ๆ ตามคำพิพากษาอีก ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้ถอน ฎีกาได้ ดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องถูกผูกพันตามคำแถลงของตน จึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความที่จำเลยวางศาลใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญา หากข้อเท็จจริงเป็นมูลเดียวกัน
โจทก์ได้เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ศาลในคดีอาญาฟังว่าจำเลยไม่ได้บุกรุกและพิพากษายกฟ้อง คดีอาญาถึงที่สุด โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งฐานละเมิดซึ่งข้อเท็จจริงที่จะต้องวินิจฉัยเป็นมูลกรณีเดียวกันคือ จำเลยได้บุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ ศาลในคดีแพ่งจึงจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ว่าจำเลยมิได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ ตามบทบัญญัติมาตรา 46 แห่ง ป.วิ.อ..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญา หากข้อเท็จจริงเป็นประเด็นเดียวกัน
โจทก์ได้เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ศาลในคดีอาญาฟังว่าจำเลยไม่ได้บุกรุกและพิพากษายกฟ้อง คดีอาญาถึงที่สุด โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งฐานละเมิดซึ่งข้อเท็จจริงที่จะต้องวินิจฉัยเป็นมูลกรณีเดียวกันคือ จำเลยได้บุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ ศาลในคดีแพ่งจึงจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ว่าจำเลยมิได้บุกรุกที่ดินของโจทก์ ตามบทบัญญัติมาตรา 46 แห่งป.วิ.อ..(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
of 52