คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4574/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมระงับ
โจทก์และจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันหนี้รายเดียวกันของ น. จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองเมื่อโจทก์ชำระหนี้แทน น. ลูกหนี้ไปแล้วโจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) และมาตรา 296 และมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ น. เพื่อชำระหนี้ทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 693 วรรคแรก เมื่อต่อมาโจทก์กับ น. ตกลงทำสัญญากู้เงินไว้ว่า น. เดิมหนี้เงินกู้โจทก์ถือว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นแล้ว เป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่มีผลทำให้หนี้ตามสิทธิไล่เบี้ยนั้นระงับไป โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับตามมูลหนี้ใหม่ในสัญญากู้เงินความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้เดิมของ น. และในฐานะหนี้ร่วมกับโจทก์ย่อมระงับไปด้วย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงฟ้องคดีและผลผูกพันต่อผู้ค้ำประกัน: เขตอำนาจศาลและหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้
ข้อตกลงที่ให้โจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยที่ 1 ผู้กู้ต่อศาลแพ่ง ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันแม้ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แต่มิได้ตกลงในการฟ้องคดีนั้นด้วย และแม้จะเป็นหนี้ซึ่งมูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ก็ไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 5 วรรคสอง เดิม ที่ใช้อยู่ในขณะยื่นคำฟ้องเพราะจำเลยที่ 1 มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งตามมาตรา 4 (2) เดิม โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 รวมมากับจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4202/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อการขาดหายของทรัพย์สิน แม้ไม่มีสัญญาจ้างและผู้ค้ำประกัน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่1 เมษายน 2527 ถึง 7 สิงหาคม 2528 จำเลยเป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์โจทก์ มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบดูแลและจัดการทรัพย์สินของโจทก์ และภายในระยะเวลาดังกล่าวสินค้าและเงินสดได้ขาดหายไปจากบัญชีของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจะต้องรับผิดชอบชดใช้ราคาสินค้าและเงินสดที่หายไปแก่โจทก์ ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนรายละเอียดว่าสินค้าและเงินสดที่ขาดบัญชีไปมีอะไรบ้าง อย่างไหน จำนวนและราคาเท่าไร ตั้งแต่เมื่อใด และอยู่ในความครอบครองของผู้ใด เป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ จำเลยทำให้เงินสดและสินค้าขาดหายไปจากบัญชีโจทก์แม้จำเลยเป็นเพียงผู้จัดการชั่วคราวของโจทก์ แต่จำเลยได้รับประโยชน์ตอบแทนโดยการรับเงินเดือนเป็นรายเดือนจากโจทก์จำเลยจึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในกิจการของโจทก์ตามข้อบังคับ การที่โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการและไม่มีผู้ค้ำประกันการเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการของจำเลย หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน - ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามสัญญาตัวแทนจำหน่าย แม้ในหนังสือค้ำประกันจะไม่ได้ระบุ
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐาน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 327 ว่าหนี้เป็นอันระงับสิ้นไปนั้น มิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดย่อมฟังตามข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นตามที่ปรากฏนั้นได้เมื่อจำเลยที่ 1 ยังมิได้ชำระหนี้เงินค่าจำหน่ายปุ๋ยที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันและหนี้ยังไม่ระงับไปด้วยเหตุประการอื่น จำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าว แม้จำเลยที่ 3 ได้ยกเลิกหนังสือค้ำประกันและคืนหลักประกันที่จำเลยที่ 1 ให้ไว้ทั้งหมดแก่จำเลยที่ 1 และไม่อาจไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องต้องว่ากล่าวกันต่างหากต่อไป หาได้เกี่ยวข้องกับการหลุดพ้นจากความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยที่ 3 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยให้โจทก์ และสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ก็ระบุความรับผิดกรณีผิดเงื่อนไขและกำหนดเรื่องดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่โจทก์ แม้ในหนังสือค้ำประกันมิได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่หนังสือค้ำประกันก็อ้างถึงสัญญาตัวแทนด้วย จำเลยที่ 3 ยอมออกหนังสือค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีถึงข้อสัญญาและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาตัวแทนจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ต้นเงินแทนจำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 414/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนหนังสือค้ำประกันโดยความผิดพลาดไม่ปลดหนี้ผู้ค้ำประกัน หากหนี้ยังไม่ระงับ
โจทก์คืนหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 รวม 5 ฉบับ ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไปด้วยความเข้าใจผิดของพนักงานโจทก์ โจทก์มิได้มีเจตนาประสงค์จะปลดหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสาม แม้จำเลยที่ 3 จะได้รับเวนคืนหนังสือค้ำประกันดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ ซึ่งเข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันแก่โจทก์ และหนี้ดังกล่าวหาได้ระงับไปด้วยเหตุประการอื่นใดไม่ จำเลยที่ 1ยังคงต้องชำระหนี้นั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698จำเลยที่ 3 จะอ้างธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ว่าเมื่อจำเลยที่ 3 ได้รับเวนคืนต้นฉบับหนังสือค้ำประกันจากจำเลยที่ 2ผู้เป็นลูกค้าโดยสุจริต แม้ไม่ได้รับเวนคืนจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 3 ก็หลุดพ้นจากความรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันแล้วหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันดังที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึงมาตรา 701 ส่วนที่จำเลยที่ 3 อ้างว่าไม่อาจไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 สำหรับหลักประกันที่ได้คืนให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อยกเลิกหนังสือค้ำประกันดังกล่าวได้ เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากต่อไปหาได้เกี่ยวข้องกับการหลุดพ้นจากความรับผิดของจำเลยที่ 3ในฐานะผู้ค้ำประกันแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน: การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันไม่สะดุดอายุความของลูกหนี้
การที่ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลง เป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันนั้น หามีผลไปถึงถูกหนี้ด้วยไม่ แม้จำเลยในฐานะลูกหนี้จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน กำหนดอายุความของลูกหนี้แต่ละคนก็ต้องเป็นไปเพื่อคุณและโทษเฉพาะ แต่ลูกหนี้คนนั้นเท่านั้นตาม ป.พ.พ. มาตาม 295 การที่ผู้ค้ำประกันผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่ทำให้อายุความที่โจทก์จะเรียกร้องเอาจากจำเลยสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์เรื่องผู้ค้ำประกันเพิ่มเติมไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาคดี เพราะมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
คำฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์มีเพียงคนเดียว คือจำเลยที่ 2ดังนั้น ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้ค้ำประกันมี 2 คนผู้ค้ำประกันคนแรกชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แล้วเป็นเงิน11,120 บาท ผู้ค้ำประกันคนที่สองคือจำเลยที่ 2ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 30,000 บาทจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันหลายรายรับผิดร่วมกันในหนี้เดียวกัน แม้ค้ำประกันต่างเวลากัน
ผู้ค้ำประกันหลายคนที่เข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันซึ่งจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้นไม่จำต้องเข้าเป็นผู้ค้ำประกันพร้อมกัน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยที่ 2 เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการทำงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2521 จำเลยที่ 3เข้าเป็นผู้ค้ำประกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2524 โดยจำเลยที่ 3ค้ำประกันย้อนไปตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงาน การที่จำเลยที่ 1ปฏิบัติงานในทางการที่จ้างทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย 6 ครั้งความเสียหายดังกล่าวถือว่าเป็นหนี้รายเดียวกัน จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้ตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ขยายเวลาศึกษาโดยไม่แจ้งผู้ค้ำประกัน ศาลลดเบี้ยปรับได้
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อณ ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษ โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาทและต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และผลของการยกอายุความของผู้ค้ำประกันต่อผู้กู้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายหรือไม่จำเลยไม่ทราบไม่รับรอง คำว่าไม่ทราบหรือไม่รับรองนั้นเป็นคำกลาง ๆ ไม่เป็นทั้งคำรับและคำปฏิเสธ กล่าวคือ โจทก์อาจจะเป็นนิติบุคคลจริงตามฟ้องก็ได้ แต่จำเลยทั้งสองไม่ทราบจึงไม่รับรอง คำให้การของจำเลยทั้งสองจึงมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ทั้งมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับฐานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าการกระทำของจำเลยร่วมเป็นการทำแทนซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2ยกอายุความเรื่องดอกเบี้ยขึ้นต่อสู้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
of 58