พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุม: เหตุผลต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 เท่านั้น
คำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญาตามบันทึกข้อตกลงการให้สินเชื่อและการชำระหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียพิเศษ มิได้เข้าร่วมประชุมและมิได้เสนอบุคคลเข้าเป็นกรรมการเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลง นั้น มิใช่เหตุตามป.พ.พ. มาตรา 1195 อันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการประชุมตลอดทั้งมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงที่มีต่อกันซึ่งหากโจทก์ได้รับความเสียหายประการใดในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 มีต่อจำเลยที่ 2 ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายที่โจทก์เห็นว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2481/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถือหุ้น กรณีกรรมการและบุคคลภายนอกทำให้บริษัทเสียหาย และการเพิกถอนรายงานการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ให้อำนาจผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการผู้ทำให้บริษัทเสียหาย โดยเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากกรรมการผู้ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายเท่านั้น การที่โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 (บุคคลภายนอก) และที่ 2 (บริษัท) โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 (กรรมการ) ได้คบคิดกันฉ้อฉล และให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนคืนที่ดินแก่จำเลยที่ 2 หาใช่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นกรรมการไม่ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นกรรมการ โจทก์ทั้งหกจึงไม่มีอำนาจฟ้องกรณีนี้
รายงานการประชุมที่โจทก์ทั้งหกขอให้เพิกถอนถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบตามความหมายของมาตรา 1195 แห่ง ป.พ.พ. เพราะมิได้มีการประชุมกันจริง หากแต่เป็นรายงานการประชุมเท็จที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำขึ้นฝ่ายเดียวเพื่อโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิหรือประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1195 ที่โจทก์ทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนรายงานการประชุมเท็จได้ โจทก์ทั้งหกไม่มีอำนาจฟ้องกรณีนี้เช่นกัน
รายงานการประชุมที่โจทก์ทั้งหกขอให้เพิกถอนถือไม่ได้ว่าเป็นมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบตามความหมายของมาตรา 1195 แห่ง ป.พ.พ. เพราะมิได้มีการประชุมกันจริง หากแต่เป็นรายงานการประชุมเท็จที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำขึ้นฝ่ายเดียวเพื่อโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิหรือประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1195 ที่โจทก์ทั้งหกในฐานะผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนรายงานการประชุมเท็จได้ โจทก์ทั้งหกไม่มีอำนาจฟ้องกรณีนี้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ – สิทธิฟ้องระงับ – ผู้ถือหุ้นฟ้องคดีอาญาเดียวกัน
โจทก์คดีนี้กับโจทก์ในอีกคดีหนึ่งต่างเป็นผู้เสียหาย และต่างฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดอันเดียวกัน เมื่อคดีนั้นศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) แม้ว่าโจทก์คดีนี้จะเป็นคนละคนกับโจทก์คดีดังกล่าว และฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนก็ตาม มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าจำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีในการกระทำความผิดอันเดียวกันซ้ำสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10878/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้นต่อกรรมการในคดีละเมิดจากการขายสินทรัพย์ต่ำกว่าราคาตลาด และขอบเขตการรับผิด
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจผู้ถือหุ้นมีอำนาจฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้เป็นกรรมการบริษัทที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทได้ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท บ. สมคบกันในการประชุมกรรมการบริษัทและมีมติให้ขายที่ดินของบริษัทให้แก่จำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทและบุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาประเมินและราคาตามท้องตลาดทำให้บริษัทเสียหาย เป็นการกระทำโดยทุจริตสมคบกันเบียดบังเอาทรัพย์สินของบริษัทมาเป็นของตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท เมื่อบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ย่อมมีอำนาจฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการได้แต่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ซึ่งมิได้เป็นกรรมการบริษัท บ.
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโอนที่ดินคืนให้แก่บริษัทหากโอนคืนไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ดินนั้นเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง เพราะการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ก็จัดเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง ด้วย
ส่วนที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโอนที่ดินคืนให้แก่บริษัทหากโอนคืนไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหายเท่ากับราคาที่ดินนั้นเข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง เพราะการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ก็จัดเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคสอง ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10878/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้นเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่กระทำละเมิด และขอบเขตความรับผิดของกรรมการกับผู้รับโอน
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท บ. ได้สมคบกันในการประชุมกรรมการบริษัทและมีมติให้ขายที่ดินให้แก่จำเลยทั้งแปดซึ่งเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัทและบุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาประเมินและราคาตามท้องตลาดทำให้บริษัทเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท อันมีลักษณะเป็นการกล่าวอ้างว่ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท เมื่อปรากฏว่าบริษัทไม่ยอมฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท บ. ย่อมมีอำนาจเอาคดีนี้ขึ้นว่ากล่าวฟ้องร้องแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง และโจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้บังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทโอนที่ดินทั้ง 25 แปลง คืนให้แก่บริษัท หรือหากไม่สามารถโอนคืนก็ให้ใช้ราคาที่ดินแทนได้ เพราะการคืนหรือใช้ราคาทรัพย์นั้นก็จัดเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. 438 วรรคสอง แต่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 ซึ่งมิใช่กรรมการบริษัทรับผิดโอนที่ดินร่วม 19 แปลง คืนให้แก่บริษัทหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทได้ เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8785/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัท ไม่ใช่ลูกจ้าง แม้ได้รับเงินเดือน
โจทก์เป็นหนึ่งในผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจำเลยและเป็นผู้ถือหุ้นมาตั้งแต่เริ่มบริษัทจำนวน 16,000 หุ้น เป็นอันดับสามจากผู้ถือหุ้น 8 คน แต่ในปี 2544 ถือหุ้นจำนวน 40,000 หุ้น เป็นอันดับหนึ่ง และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมและประทับตราสำคัญของบริษัทตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2536 ซึ่งเป็นวันเริ่มตั้งบริษัทจนถึงวันที่ 22 มกราคม 2546 ต่อมาวันที่ 16 มกราคม 2546 โจทก์ได้โอนหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ ก. โจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัทจนถึงเดือนมกราคม 2546 การบริหารงานของโจทก์ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการทำงาน จะมาทำงานในเวลาใดก็ได้ไม่ต้องบันทึกเวลาทำงาน โจทก์จึงมิใช่พนักงานที่ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่โจทก์ได้รับเงินเดือนจากจำเลยจึงมิใช่ได้รับในฐานะเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ส่วนการที่โจทก์บริหารงานภายใต้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นนั้นก็เป็นเพียงวิธีการครอบงำบริษัทจำกัดดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1144 เท่านั้น หาได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของจำเลยอันมีลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องกรรมการบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้น: ไม่ขัดต่อมาตรา 1562 ป.พ.พ. หากฟ้องเรียกค่าเสียหายให้บริษัท
ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่ 1 เป็นปู่ของโจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ท. และจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นกรรมการของบริษัทดังกล่าวร่วมกับกรรมการอีก 2 คน คือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ชดใช้เงินให้แก่บริษัท มิได้ให้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการส่วนตัว ทั้งจำนวนเงินตามฟ้อง หากรับฟังได้ตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวหา ก็เป็นเงินของบริษัท มิใช่เงินของจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นในคดีฟื้นฟูกิจการ: ตัดสิทธิการควบคุมกำกับดูแลเมื่อมีกฎหมายล้มละลายเฉพาะ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/25 มาตรา 90/59 และมาตรา 90/69 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้วทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้บริหารแผน ผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ตามลำดับขอให้ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดจากการร่วมกันทำให้บริษัทลูกหนี้เสียหายให้แก่บริษัทลูกหนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตามมาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตามมาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามมาตรา 151 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นฟ้องกรรมการ vs. กฎหมายล้มละลาย: การตัดสิทธิควบคุมกิจการในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
นอกจากผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจะมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้แล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ยังได้บัญญัติให้บรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ ยกเว้นเฉพาะสิทธิที่จะได้เงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และในที่สุดตกแก่ผู้บริหารแผนตามลำดับด้วย ที่โจทก์อ้างว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นที่จะขอตรวจดูเอกสารบันทึกรายงานการประชุม สิทธิที่จะได้รับสำเนางบดุลบัญชีของบริษัท สิทธิในการขอรับสำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น สิทธิในการเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207, 1197, 1140 และ 1176 เป็นสิทธิที่กฎหมายได้กำหนดไว้เป็นเรื่องเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับตัวของผู้ถือหุ้นคนนั้น ๆ เท่านั้น เช่นเดียวกับสิทธิในการรับเงินปันผลตามมาตรา 1201 ซึ่งต่างกับสิทธิของผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ที่ให้ผู้ถือหุ้นมีอำนาจฟ้องกรรมการแทนบริษัทได้ นั้น ป.พ.พ. ไม่ได้มีบทบัญญัติระบุไว้เลยว่า สิทธิของผู้ถือหุ้นดังกล่าวมีข้อจำกัดที่จะต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องในส่วนของผู้ถือหุ้นแต่ละคนเท่านั้น จึงเป็นสิทธิที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะเข้าควบคุมกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัทได้ในลักษณะเดียวกับสิทธิที่จะฟ้องกรรมการตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ต่างกันแต่เพียงว่าสิทธิอื่น ๆ ข้างต้นนั้นเป็นการดำเนินการกันอยู่ภายในบริษัท ส่วนสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิผู้ถือหุ้นใช้สิทธิควบคุมดูแลโดยผ่านทางศาลได้ ดังนั้นจึงมิใช่สิทธิเป็นการเฉพาะส่วนของตัวและต้องอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25 และ 90/59 เช่นเดียวกัน
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/67 ได้บัญญัติกระบวนการควบคุมตรวจสอบการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้ไว้แล้ว ซึ่งถ้าหากมีการจัดการไม่เป็นไปตามแผนหรือโดยทุจริต หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ คณะกรรมการเจ้าหนี้หรือผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้ตรวจสอบ สามารถรายงานหรือมีคำขอโดยทำเป็นคำร้องโดยตรงขอให้ศาลที่กำกับการจัดการอยู่อีกชั้นหนึ่งมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบควบคุมและกำกับดูแลที่กว้างขวาง รวดเร็วและรัดกุมมากยิ่งกว่าที่ ป.พ.พ. บัญญัติถึงสิทธิการตรวจสอบครอบงำการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทเสียอีก นอกจากนี้ผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนเข้ามาจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยความยินยอมของที่ประชุมเจ้าหนี้ และด้วยความเห็นชอบของศาล โดยให้ดำเนินการไปตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทลูกหนี้ อยู่ภายใต้การตรวจสอบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรรมการเจ้าหนี้และผู้บริหารของลูกหนี้ภายใต้การกำกับดูแลของศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/25, 90/59 และ 90/67 ซึ่งเป็นบทกฎหมายพิเศษ แต่กรรมการบริษัทแต่งตั้งได้เฉพาะที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นและต้องจัดการกิจการและทรัพย์สินตามข้อบังคับของบริษัทและอยู่ภายใต้การครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1144 และมาตรา 1151 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีที่มาและขอบข่ายของอำนาจหน้าที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนจึงไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและในระหว่างการฟื้นฟูกิจการบริษัทลูกหนี้ โจทก์ผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ได้ถูกตัดสิทธิในการควบคุมกำกับดูแลการจัดการกิจการและทรัพย์สินของบริษัทลูกหนี้โดยบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแล้ว และอีกทั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผนไม่อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการของบริษัทลูกหนี้ โดยเฉพาะจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกรรมการเจ้าหนี้ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สิน และไม่ได้อยู่ในฐานะเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทลูกหนี้ด้วย โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัทลูกหนี้ยกคดีขึ้นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอาศัยสิทธิตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคหนึ่งได้
ที่ศาลล่างทั้งสองไม่คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นศาลชั้นให้โจทก์ เนื่องจากศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำฟ้องของโจทก์ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาที่โจทก์บรรยายไว้ในฟ้องอันเป็นประเด็นแห่งคดีก่อนพิพากษายกฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ประกอบมาตรา 172 วรรคสาม มิใช่คำสั่งไม่รับคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ที่จะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดสถานที่ประชุมผู้ถือหุ้นและการใช้สิทธิโดยสุจริตของกรรมการ
โดยปกติการจัดการบริษัทเป็นอำนาจหน้าที่ของกรรมการทั้งหมดที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในส่วนของการประชุมกรรมการ มติของคณะกรรมการต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1161 แต่ปรากฏว่า กรรมการของจำเลยพิพาทกันในเรื่องการเงินของบริษัท และผู้ถือหุ้นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีโจทก์กับ ภ. อีกฝ่ายมี ช. และ ป. ซึ่งแต่ละฝ่ายถือหุ้นของจำเลยครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมดเท่ากัน การที่ ช. ในฐานะกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการของจำเลย เป็นการใช้สิทธิของกรรมการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1162 ที่บัญญัติว่า กรรมการคนหนึ่งคนใดจะนัดเรียกประชุมกรรมการเมื่อใดก็ได้ ส่วนการกำหนดสถานที่ประชุมนั้น จำเลยไม่ได้มีข้อบังคับของบริษัทโดยเฉพาะ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่กำหนดว่าต้องจัดประชุม ณ สำนักงานของบริษัท การกำหนดสถานที่ประชุมจึงเป็นไปตามที่กรรมการพิจารณาเห็นสมควร โดยข้อสำคัญจะต้องเป็นสถานที่ซึ่งตามสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งสถานที่นั้นผู้ได้รับเชิญสามารถที่จะไปเข้าร่วมประชุมได้ เมื่อสภาพของสถานที่ประชุมน่าจะเป็นสำนักทำการงานปกติ ทั้งไม่ปรากฏพฤติการณ์แต่อย่างใดว่า การไปประชุมยังสถานที่ดังกล่าวจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับภยันตรายหรือจะมีบุคคลใดมาประทุษร้ายโจทก์ คงเป็นเพียงการคาดคิดของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวว่า อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยในการไปประชุม การประชุมคณะกรรมการและการลงมติเพื่อกำหนดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2559 ดำเนินการโดยชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในครั้งนี้