พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิภารจำยอม ผู้รับโอนที่ดินย่อมผูกพันตามสัญญา
เดิมจำเลยได้เป็นโจทก์ฟ้อง ด. เจ้าของเดิมของที่พิพาทว่า ในที่พิพาทมีทางจำเป็น ด. ยอมให้จำเลยใช้มากว่าสิบปี ตกเป็นภารจำยอม ด. ต่อสู้ว่าทางในที่พิพาทไม่ใช่ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น คดียังไม่มีการสืบพยานจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ด. มีข้อความว่าด. ยอมให้จำเลยเช่าทางพิพาทตามสภาพเดิม ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 100 บาท จำเลยตกลงเช่า.ดังนี้ ข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ครั้นต่อมา ด.ขายที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์บอกเลิกการเช่า แล้วโจทก์มาฟ้องขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับที่พิพาท จำเลยจะอ้างสิทธิอันมีมาก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นข้อต่อสู้ฟ้องแย้งขอแสดงว่ามีทางอันเป็นภารจำยอมในที่พิพาทอีกหาได้ไม่
สิทธิในภารจำยอมอาจสิ้นสุดลงได้ด้วยเหตุหลายประการ ไม่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1397,1399 เท่านั้น ภารจำยอมอาจสิ้นสุดลงโดยนิติกรรมระหว่างเจ้าของสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ตกลงกันให้ภารจำยอมที่มีอยู่ระงับสิ้นไปก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1299 และ1301 เมื่อจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทเรื่องภารจำยอมกับ ด. เจ้าของที่พิพาทเดิม จนศาลมีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยและ ด. ย่อมจะต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้น เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอ้างทางภารจำยอมมายัน ด.จำเลยย่อมจะอ้างทางภารจำยอมมายันโจทก์ผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ไม่ได้ด้วย
สิทธิในภารจำยอมอาจสิ้นสุดลงได้ด้วยเหตุหลายประการ ไม่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1397,1399 เท่านั้น ภารจำยอมอาจสิ้นสุดลงโดยนิติกรรมระหว่างเจ้าของสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ตกลงกันให้ภารจำยอมที่มีอยู่ระงับสิ้นไปก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1299 และ1301 เมื่อจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทเรื่องภารจำยอมกับ ด. เจ้าของที่พิพาทเดิม จนศาลมีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยและ ด. ย่อมจะต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีนั้น เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอ้างทางภารจำยอมมายัน ด.จำเลยย่อมจะอ้างทางภารจำยอมมายันโจทก์ผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2324/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผ่านทางจำเป็น: ผู้รับโอนที่ดินไม่มีทางออก ย่อมมีสิทธิขอผ่านทางที่ดินแปลงอื่นได้ แม้ไม่ได้เสนอค่าทดแทน
ผู้รับโอนที่ดินซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ที่จะขอผ่านทางที่สะดวกและใกล้ทางสาธารณะเหมาะสมกับความจำเป็นกว่าทางอื่น ซึ่งเจ้าของที่ดินผู้โอนเคยใช้มาก่อน
กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้ร้องขอใช้ทางจำเป็นต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาด้วย แม้โจทก์จะขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนแต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธจะไม่จ่าย และจำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาได้จึงไม่เป็นเหตุที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้ร้องขอใช้ทางจำเป็นต้องเสนอขอจ่ายค่าทดแทนความเสียหายให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่มาด้วย แม้โจทก์จะขอใช้ทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยโดยไม่ได้ขอจ่ายค่าทดแทนแต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธจะไม่จ่าย และจำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องเอาได้จึงไม่เป็นเหตุที่จะบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2783/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า มิฉะนั้นสิทธิการเช่าไม่ตกไปยังผู้รับโอน
บันทึกข้อตกลงที่ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ไม่มีผลให้สิทธิการเช่าของผู้เช่าโอนไปยังโจทก์
สัญญาเช่าตึกแถวมีข้อความว่า ผู้ให้เช่ายินยอมให้เช่าช่วงได้แต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อนถ้าผู้เช่าให้โจทก์เช่าช่วงโดยผู้ให้เช่าไม่ได้ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร สัญญาเช่าระหว่างผู้เช่ากับโจทก์ย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ให้เช่า ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจให้จำเลยเช่าช่วงต่อและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากตึกแถวที่เช่า
สัญญาเช่าตึกแถวมีข้อความว่า ผู้ให้เช่ายินยอมให้เช่าช่วงได้แต่ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อนถ้าผู้เช่าให้โจทก์เช่าช่วงโดยผู้ให้เช่าไม่ได้ให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร สัญญาเช่าระหว่างผู้เช่ากับโจทก์ย่อมไม่มีผลผูกพันผู้ให้เช่า ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิและไม่มีอำนาจให้จำเลยเช่าช่วงต่อและไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากตึกแถวที่เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่จดทะเบียนแล้วย่อมผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการขายฝากและหลุดเป็นสิทธิ
เจ้าของที่ดินและตึกพิพาท เอาที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากในระหว่างขายฝากได้เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยเช่า โดยผู้ซื้อฝากมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต สัญญาเช่าจึงไม่ผูกพันผู้ซื้อฝากแต่เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับผู้เช่ายังคงถูกผูกพันอยู่ตามสัญญาเช่า เพราะสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อเจ้าของที่ดินขายฝากแล้วไม่ไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อฝาก ผู้ซื้อฝากได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ ในที่สุดเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทได้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่งจึงต้องถือว่า ตึกพิพาทมีสัญญาเช่าที่จดทะเบียนโดยชอบระหว่างเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับจำเลยผู้เช่า เมื่อเจ้าของนำที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากใหม่ ผู้ซื้อฝากคนใหม่จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ซึ่งเจ้าของที่ดินมีอยู่ต่อจำเลยแม้ภายหลังผู้ซื้อฝากจะได้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิแล้วขายต่อให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังคงตกติดมายังโจทก์อีกมิได้ระงับไปแต่อย่างใด โจทก์ผู้รับโอนถูกผูกพันตามสัญญาเช่านั้นจึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากตึกพิพาทหรือเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1706/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอนที่ทราบการซื้อขายก่อนหน้า ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์แล้วส่งมอบการครอบครองให้ โจทก์ครอบครองตลอดมา เพียงแต่จะไปทำการโอนทางทะเบียนให้ในภายหลังเท่านั้น ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับโอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตร จำเลยที่ 2 ได้ขายให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา สิทธิหน้าที่ของผู้รับโอน และการตีความเจตนาแท้จริงของคู่สัญญา
ผู้ให้เช่าเดิมทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวห้องพิพาท และจดทะเบียนการเช่าไว้มีกำหนดเวลา 10 ปี โดยจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างห้องพิพาทให้เป็นเงิน 27,000 บาท เป็นสัญญาซึ่งแสดงเจตนาแท้จริงของคู่กรณีว่าให้สัญญาเช่ามีผลผูกพันบังคับต่อกันตามกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทนี้จึงต้องรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ตามข้อตกลงของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าด้วย
เมื่อคู่สัญญามีเจตนาแท้จริงให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันตามกำหนดเวลาดังกล่าวนี้ แม้ในสัญญาเช่าข้อ 10 จะมีข้อตกลงว่า 'ในระหว่างสัญญาเช่า เมื่อผู้ให้เช่าจะต้องการบ้านหรือผู้เช่าจะต้องการคืนบ้าน จะต้องบอกให้รู้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนโดยมีกำหนด 60 วัน' ก็ต้องตีความตามเจตนาแท้จริงของคู่กรณีซึ่งมุ่งให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันมีกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จะอาศัยสัญญาข้อนี้เพื่อบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ได้
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายที่และตึกแถวพิพาทให้โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาข้อ 13 ซึ่งมีข้อตกลงว่า 'ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญานี้ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน. และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าราคาสมควร' แต่จำเลยไม่ยอมซื้อนั้น สัญญาข้อนี้ก็มิใช่ข้อตกลงให้ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยสัญญาข้อนี้ไม่ได้ด้วยเช่นกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2514เฉพาะวรรคแรกและวรรคสอง)
เมื่อคู่สัญญามีเจตนาแท้จริงให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันตามกำหนดเวลาดังกล่าวนี้ แม้ในสัญญาเช่าข้อ 10 จะมีข้อตกลงว่า 'ในระหว่างสัญญาเช่า เมื่อผู้ให้เช่าจะต้องการบ้านหรือผู้เช่าจะต้องการคืนบ้าน จะต้องบอกให้รู้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนโดยมีกำหนด 60 วัน' ก็ต้องตีความตามเจตนาแท้จริงของคู่กรณีซึ่งมุ่งให้สัญญามีผลผูกพันต่อกันมีกำหนดเวลา 10 ปี โจทก์จะอาศัยสัญญาข้อนี้เพื่อบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ได้
ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายที่และตึกแถวพิพาทให้โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาข้อ 13 ซึ่งมีข้อตกลงว่า 'ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญานี้ผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าเพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน. และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายแก่ผู้ใดเป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าราคาสมควร' แต่จำเลยไม่ยอมซื้อนั้น สัญญาข้อนี้ก็มิใช่ข้อตกลงให้ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญา โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยสัญญาข้อนี้ไม่ได้ด้วยเช่นกัน (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2514เฉพาะวรรคแรกและวรรคสอง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเดิมผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันหากเกิน 3 ปี
จำเลยเช่าตึกแถวของ อ. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญากันเองไว้ล่วงหน้า 3 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี 3 ฉบับ อีกฉบับหนึ่ง 1 ปี แม้จำเลยจะอ้างว่าสัญญาเช่ารายนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่าธรรมดาเพราะจำเลยได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ อ. ก็ตาม แต่เมื่อมิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวก็มีผลผูกพันระหว่างจำเลยกับ อ. เท่านั้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์: สัญญาเช่าที่มีอายุเกิน 3 ปี ไม่ผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยเช่าตึกแถวของ อ. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญากันเองไว้ล่วงหน้า 3 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี 3 ฉบับ อีกฉบับหนึ่ง 1 ปี แม้จำเลยจะอ้างว่าสัญญาเช่ารายนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่าธรรมดาเพราะจำเลยได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ อ. ก็ตาม แต่เมื่อมิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวก็มีผลผูกพันระหว่างจำเลยกับอ. เท่านั้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าก่อนล้มละลาย และผลกระทบต่อผู้รับโอนรายต่อๆ ไป
ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย 3 วัน บุคคลล้มละลายได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้กับเจ้าหนี้ของตน เพื่อให้เจ้าหนี้นั้นโอนขายสิทธิการเช่าต่อไปและเอาเงินมาชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้นั้นก็โอนสิทธิการเช่าตึกนั้นไปและได้เอาเงินที่ได้รับไปแต่ผู้เดียว เป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย คำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ ต้องยกเสีย
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย คำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ ต้องยกเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าก่อนล้มละลาย และผลกระทบเมื่อผู้รับโอนรายหลังมิได้เป็นคู่ความ
ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย 3 วัน บุคคลล้มละลายได้โอนสิทธิการเช่าตึกแถวให้กับเจ้าหนี้ของตนเพื่อให้เจ้าหนี้นั้นโอนขายสิทธิการเช่าต่อไปและเอาเงินมาชำระหนี้ ต่อมาเจ้าหนี้นั้นก็โอนสิทธิการเช่าตึกนั้นไปและได้เอาเงินที่ได้รับไปแต่ผู้เดียว เป็นกรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ต้องยกเสีย
แต่เมื่อสิทธิการเช่าได้ถูกโอนต่อไปหลายทอดและผู้ที่ได้รับโอนรายหลัง ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วยคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าและให้สิทธิการเช่ากลับมาเป็นของบุคคลล้มละลายตามเดิม จึงบังคับให้ไม่ได้ต้องยกเสีย