คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบกพร่องคำฟ้องอุทธรณ์และการพิจารณาคดีโดยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ผู้อุทธรณ์มิได้ลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การที่จะให้โจทก์แก้ฟ้องอุทธรณ์หรือสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติแล้ว เพราะศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาพิพากษาคดีเสร็จไปแล้วคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ฟ้องของโจทก์ร่วมที่ดำเนินคดีโดยอาศัยฟ้องของอัยการ และผลต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ร่วมเข้ามาดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องให้นอกเหนือไปจากฟ้องของพนักงานอัยการ หากศาลชั้นต้นสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องส่วนที่โจทก์ร่วมขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องไว้ก็มีอำนาจสั่งงดเสียได้
เมื่อศาลมิได้อนุญาตให้แก้และเพิ่มเติมฟ้องตามคำร้องของโจทก์ร่วม จึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่ขอแก้และเพิ่มเติมฟ้องนั้นไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย 1 เดือนปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอาญา: ความผิดเกิดขึ้นต่างท้องที่ – การสอบสวนในกรุงเทพฯ ทำให้ศาลอาญามีอำนาจพิจารณา
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์เมื่อล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้วว่า ความผิดคดีนี้เกิดขึ้นใน เขตศาลจังหวัดลำพูนและเขตศาลจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องที่ศาลอาญา ปัญหานี้แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้แต่ เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อจำเลยที่ 1 ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยได้
เจ้าพนักงานจับจำเลยที่ 1 ที่จังหวัดลำพูน จับจำเลย ที่ 2 ที่กรุงเทพมหานคร ได้ในวันเดียวกันพร้อมด้วย มอร์ฟีนของกลาง ต่อมาจับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ที่ จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ตั้งข้อหาว่า จำเลยร่วมกันมีมอร์ฟีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และได้ทำการสอบสวนความผิดที่ถูกกล่าวหานี้แล้วที่ กรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ ศาลอาญาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและการพิจารณาคดีรวมกันของจำเลยหลายคน
ทนายจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถูกแก้วบาดเท้าเอ็นขาด ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนการพิจารณามาครั้งหนึ่งแล้ว ถึงวันนัดขอเลื่อนอีก ศาลไม่อนุญาต เพราะได้กำชับไว้ในครั้งก่อนแล้วว่า ถ้าทนายป่วยก็ให้จำเลยแต่งตั้งทนายความคนใหม่ คำสั่งดังกล่าวจำเลยยังไม่ทราบ ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ โดยไม่พิจารณาคดีโจทก์และจำเลยที่ 2 ด้วยนั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 เลื่อนคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 522/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อการพิจารณาใหม่
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ปรากฏว่าจำเลยได้ไปศาล แต่เมื่อศาลเรียกเข้าห้องพิจารณา จำเลยไม่ยอมเข้าห้องพิจารณาแสดงว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณาแล้ว จึงไม่อนุญาตตามคำขอให้พิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 46/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี ทำให้สิทธิในการอุทธรณ์สละสิ้น
ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย นัดฟังคำพิพากษา 10 วันต่อมา จำเลยไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณานี้ จึงอุทธรณ์ขอสืบพยานต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัด การยื่นคำให้การช้า การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของนิติบุคคล และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด ให้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวเพราะจำเลยไม่มาศาลในวันพิจารณา เมื่อจำเลยมาศาลในวันนัดสืบพยานและยื่นคำร้องว่าไม่จงใจขาดนัดขอให้ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การแม้จะพ้นกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดซึ่งไม่อาจเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 41 ก็ตาม แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยมาศาลในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง ศาลแรงงานต้องพิจารณาว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรหรือไม่ หากได้ความว่าจำเลยขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรก็ชอบที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและนัดพิจารณาคดีใหม่
ถิ่นที่สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งทำการของนิติบุคคลอันนับว่าเป็นภูมิลำเนาของนิติบุคคลนั้น หมายถึงถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลตามความเป็นจริง หาใช่เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เท่านั้นไม่ฉะนั้น เมื่อโจทก์ทราบว่าภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเปลี่ยนไปแล้ว ก็จะถือเอาประโยชน์จาก การที่ในทะเบียนยังปรากฏว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ ภูมิลำเนาเดิมมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: เหตุสุดวิสัยต้องร้ายแรงและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การชนท้ายรถไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ในคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้องเพราะตัวโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด การที่ต่อมาโจทก์มายื่นคำร้องอ้างว่า ระหว่างการเดินทางมาศาลของโจทก์และทนายโจทก์ ได้เกิดอุบัติเหตุรถยนต์ของโจทก์ชนท้ายรถยนต์ของผู้อื่น ต้องเสียเวลาตกลงเรื่องค่าเสียหายนั้นมิใช่เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้โจทก์หรือทนายโจทก์คนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาศาลได้ทันตามกำหนด ทั้งปรากฏว่าที่เกิดเหตุรถยนต์ชนกันอยู่ห่างจากศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยมีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าฝ่ายโจทก์มิได้สนใจต่อเวลานัดของศาล จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการพิจารณาคำร้องใหม่เมื่อจำเลยไม่ทราบกำหนดนัด
บทบัญญัติมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ที่ว่า ในกรณีที่ศาลแรงงานมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง หากจำเลยมาแถลงให้ศาลแรงงานทราบถึงความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่ง ศาลแรงงานมีอำนาจไต่สวนถึงเหตุแห่งความจำเป็นนั้นได้และหากเห็นเป็นการสมควร ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 นั้นใหม่ เสมือนหนึ่งมิได้เคยมีกระบวนพิจารณาเช่นว่านั้น เป็นกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกและกำหนดนัดพิจารณาแล้ว หากจำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ทราบกำหนดนัดพิจารณาเพราะสถานที่ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกไม่ใช่ภูมิลำเนาแท้จริงของจำเลยกรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยทนายจำเลยและอำนาจศาลในการพิจารณาคดีต่อไปได้ แม้ทนายจำเลยขอถอนตัว
จำเลยขอเลื่อนคดีมาแล้ว 5 ครั้งจนศาลชั้นต้นมี คำสั่งกำชับว่านัดหน้าจะไม่ยอมให้เลื่อนอีก ครั้นถึงวันนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยกลับยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายจำเลยโดยจำเลยไม่มาศาลและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบแล้วหรือไม่ เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องขอถอนตัวของทนายจำเลยแก่จำเลย แล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงเป็นการชอบแล้ว
of 48