พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีใหม่โดยโจทก์ต่างจากคดีเดิม แม้ประเด็นคล้ายกัน ไม่ขัดมาตรา 173 วรรคสอง(1)
การที่จำเลยในคดีซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา กลับเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนั้นเป็นจำเลยในคดีใหม่ด้วยเรื่องเดียวกัน ก็ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1) เพราะโจทก์ในคดีหลังนี้ไม่ใช่โจทก์คนเดียวกันกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366-2367/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเบี้ยปรับกับเงินมัดจำจากสัญญาซื้อขายไม้ จำเลยผิดสัญญาเดียวกัน
คดีแรกโจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะขายไม้ให้โจทก์แล้วจำเลยผิดสัญญาขอให้จำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาเป็นค่าเสียหายให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องจำเลยอีกว่าผิดสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำให้โจทก์ ทั้งสองคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ ฟ้องของโจกท์ในคดีแรกที่เรียกเบี้ยปรับและในคดีหลังที่เรียกเงินมัดจำนั้นมีประเด็นพิพาทอย่างเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ มูลเหตุที่จะฟ้องคดีทั้งสองก็เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาครั้งเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องรวมกันมาได้ในคดีแรก ฉะนั้น การฟ้องเรียกเงินมัดจำในคดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ทางอายุความและฟ้องซ้อน ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยหากไม่ยกขึ้นในคำให้การ
จำเลยให้โจทก์เข้าอยู่ในตึกโดยรับเงินไว้จำนวนหนึ่งแต่จำเลยไม่ทำหนังสือสัญญาให้โจทก์เช่า กลับฟ้องและศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ จำเลยต้องคืนเงินที่รับไว้แก่โจทก์
จำเลยไม่ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา419 ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่ได้
ข้ออ้างว่าฟ้องซ้อนตาม มาตรา173(1) ถ้าไม่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาไม่เห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยไม่ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา419 ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จำเลยยกขึ้นเป็นข้อฎีกาไม่ได้
ข้ออ้างว่าฟ้องซ้อนตาม มาตรา173(1) ถ้าไม่ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ ศาลฎีกาไม่เห็นควรยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3019/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่? ศาลฎีกาชี้ว่าคดีเดิมและคดีใหม่มีมูลเหตุต่างกัน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าถือเป็นคนละเรื่องกับคดีขอแบ่งทรัพย์
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอแบ่งห้องพิพาทกึ่งหนึ่งอ้างว่า เป็นหุ้นส่วนกัน คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์มาฟ้องคดีนี้โดยกล่าวว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีผู้จะเช่าตึกพิพาทโดยให้เงินล่วงหน้า 100,000 บาท ค่าเช่าเดือนละ 150 บาท จำเลยจะให้เช่าโดยไม่ยอมแบ่งเงินล่วงหน้าและค่าเช่าให้โจทก์ โจทก์เสนอขอรับส่วนแบ่งผู้เช่าจึงระงับการเช่าไปภายหลังจำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าอยู่ในห้องพิพาทเป็นเหตุให้เสื่อมประโยชน์ของโจทก์ ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินล่วงหน้าในการเข้าอยู่ในห้องพิพาท 50,000 บาท กับผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้เดือนละ75 บาท ดังนี้ สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องในคดีหลังนี้ต่างกับคดีก่อน คดีก่อนโจทก์ขอแบ่งตึกพิพาทอ้างว่าเป็นหุ้นส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์ควรจะได้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยที่ 2 อยู่ ซึ่งเป็นมูลกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนและโจทก์ไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ ทั้งคดีหลังนี้ยังมีข้อหาและคำขอบังคับเอากับจำเลยที่ 2 อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีก่อนไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องแย้งในคดีเดิมที่ยังพิจารณาอยู่ ถือเป็นการฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยฟ้องโจทก์ไว้แล้วในคดีดำที่ 1533/2512 ให้รับผิดฐานละเมิด โดยอ้างว่าโจทก์ให้ผู้ก่อสร้างรื้ออาคารที่ถูกไฟไหม้ออกจากที่ดินโจทก์ และนำเศษอิฐ ปูน และวัตถุก่อสร้างเอาไปกองไว้ในที่ดินจำเลย และโจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์เต็มตามเขตโฉนด ไม่เว้นทางเดินซึ่งตกเป็นภารจำยอมสำหรับที่ดินจำเลยเป็นการปิดทางภารจำยอม ขอให้ใช้ค่าเสียหายและเปิดทางภารจำยอม คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์กลับฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้และจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีกับฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดฐานละเมิด ทำนองเดียวกับที่กล่าวอ้างในคดีดำที่ 1533/2512 เพียงแต่ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกบางประการ คือ ค่าหน้าดินและค่าเช่าตึกเท่านั้น ดังนี้ เห็นได้ว่าการกระทำที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ได้กระทำละเมิดนั้น เป็นการกระทำอย่างเดียวกัน ทำในคราวเดียวกันแม้จะได้ความต่อมาว่าโจทก์ได้ทำการก่อสร้างตึกทับทางภารจำยอมจนเสร็จบริบูรณ์ ก็เป็นการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อกันมากับการกระทำเดิม มิได้กระทำการอื่นใดอันถือว่าเป็นการละเมิดใหม่ต่อจำเลยและความเสียหายที่จำเลยอ้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ในคำฟ้องแย้งก็ได้ความจากฟ้องแย้งนั้นเองว่า เมื่อโจทก์เริ่มกระทำละเมิดต่อจำเลยนั้น จำเลยได้รับความเสียหายแล้ว จำเลยควรเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ในคดีเดิมได้ ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งดำที่ 1533/2512 ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งซ้ำในคดีเดิม: การฟ้องแย้งต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) เมื่อเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากละเมิดเดิม
จำเลยฟ้องโจทก์ไว้แล้วในคดีดำที่ 1533/2512 ให้รับผิดฐานละเมิด โดยอ้างว่าโจทก์ให้ผู้ก่อสร้างรื้ออาคารที่ถูกไฟไหม้ออกจากที่ดินโจทก์ และนำเศษอิฐ ปูน และวัตถุก่อสร้างเอาไปกองไว้ในที่ดินจำเลย. และโจทก์ได้ทำการก่อสร้างอาคารในที่ดินโจทก์เต็มตามเขตโฉนด ไม่เว้นทางเดิน ซึ่งตกเป็นภารจำยอมสำหรับที่ดินจำเลย เป็นการปิดทางภารจำยอม ขอให้ใช้ค่าเสียหายและเปิดทางภารจำยอม คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์กลับฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้และจำเลยได้ให้การต่อสู้คดีกับฟ้องแย้งให้โจทก์รับผิดฐานละเมิด ทำนองเดียวกับที่กล่าวอ้างในคดีดำที่ 1533/2512เพียงแต่ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมอีกบางประการ คือ ค่าหน้าดินและค่าเช่าตึกเท่านั้น ดังนี้ เห็นได้ว่าการกระทำที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ได้กระทำละเมิดนั้น เป็นการกระทำอย่างเดียวกัน ทำในคราวเดียวกันแม้จะได้ความต่อมาว่าโจทก์ได้ทำการก่อสร้างตึกทับทางภารจำยอมจนเสร็จบริบูรณ์ ก็เป็นการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อกันมากับการกระทำเดิม มิได้กระทำการอื่นใดอันถือว่าเป็นการละเมิดใหม่ต่อจำเลย และความเสียหายที่จำเลยอ้างเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ในคำฟ้องแย้ง ก็ได้ความจากฟ้องแย้งนั้นเองว่า เมื่อโจทก์เริ่มกระทำละเมิดต่อจำเลยนั้น จำเลยได้รับความเสียหายแล้ว จำเลยควรเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ในคดีเดิมได้ ฟ้องแย้งของจำเลยในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งดำที่ 1533/2512. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา แม้ถอนฟ้องแล้วแต่จำเลยอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกค่าซื้อสิ่งของแล้วโจทก์ถอนฟ้องศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อนุญาตแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเป็นคดีนี้ในมูลหนี้อันเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องจำเลยอีกมิได้ไม่ว่าจะฟ้องต่อศาลเดิมนั้นเองหรือศาลอื่น และคดีเดิมจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลเดียวกันหรือของศาลอื่นหรืออยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็ตาม แม้คดีเดิมนั้นโจทก์จะถอนฟ้องไปและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์ฎีกาต่อมา ซึ่งถ้าหากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากลับคำสั่งของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่ยอมให้ถอนฟ้อง โจทก์ก็ต้องดำเนินคดีเรื่องเดียวกันนั้นไปทั้งสองเรื่อง ซึ่งไม่ใช่ความประสงค์ของกฎหมาย บทบัญญัติมาตรา 176 ที่ว่าเมื่อถอนฟ้องแล้วย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยและอาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความนั้น หมายความว่าการถอนฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดไปแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2503 และ 455/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา แม้ถอนฟ้องแล้ว หากจำเลยอุทธรณ์ฎีกา โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกค่าซื้อสิ่งของแล้วโจทก์ถอนฟ้องศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อนุญาตแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเป็นคดีนี้ ในมูลหนี้อันเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องจำเลยอีก มิได้ไม่ว่าจะฟ้องต่อศาลเดิมนั้นเองหรือศาลอื่น และคดีเดิมจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลเดียวกันหรือของศาลอื่นหรืออยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็ตาม แม้คดีเดิมนั้นโจทก์จะถอนฟ้องไปและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์ฎีกาต่อมา ซึ่งถ้าหากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากลับคำสั่งของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่ยอมให้ถอนฟ้องโจทก์ก็ต้องดำเนินคดีเรื่องเดียวกันนั้นไปทั้งสองเรื่อง ซึ่งไม่ใช่ความประสงค์ของกฎหมาย บทบัญญัติมาตรา 176 ที่ว่า เมื่อถอนฟ้องแล้วย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยและอาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความนั้น หมายความว่าการถอนฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดไปแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2503 และ 455/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีซื้อขายที่ดินระหว่างการพิจารณาคดีเดิม ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
โจทก์เคยฟ้องหาว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอนหรือซื้อที่ดินคืน ขอให้บังคับจำเลยรับการไถ่ถอนหรือขายที่ดินคืนคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ยังไม่ถึงที่สุด โจทก์ได้มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ หาว่าจำเลยผิดสัญญาจะขายที่ดินโฉนดเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน และขอให้บังคับจำเลยขายที่ดินให้ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ในเรื่องอันเดียวกันต่อศาลเดียวกันในขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนอันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ตึกและการสิ้นสุดสัญญาเช่าที่ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา
คดีก่อน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากตึกพิพาทของโจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้ออกทุนทรัพย์ปลูกสร้างตึกพิพาทในที่ดินของโจทก์และจำเลยยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ ตึกพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ากรรมสิทธิ์ตึกพิพาทตกเป็นของโจทก์แล้วแต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่ครบกำหนด โจทก์ยังไม่มีอำนาจพ้องพิพากษายกฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่ากรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทเป็นของจำเลย ขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็มาฟ้องคดีใหม่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารโดยอ้างว่าสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จำเลยคงต่อสู้เช่นเดิมว่าตึกพิพาทเป็นของจำเลย ดังนี้ ทั้งสองคดีย่อมมีประเด็นอย่างเดียวกันว่า ตึกพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย การที่โจทก์มาฟ้องคดีใหม่จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1)