พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขอภารจำยอมไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากข้ออ้างต่างจากคดีเช่าเดิม แม้มีประเด็นที่ดินทับซ้อน
ในคดีก่อนที่จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์นั้นศาลพิพากษาวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินของจำเลยส่วนที่อาคารโจทก์ปลูกรุกล้ำโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่าจึงมีผลใช้บังคับได้เพียง3 ปี และพ้นกำหนด 3 ปี แล้ว โจทก์จึงต้องออกจากที่ดินพิพาทแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าโจทก์ได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทโดยสุจริตและได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยตลอดมา ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภารจำยอม ข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามฟ้องโจทก์มุ่งไปที่เรื่องการสร้างโรงเรือนลุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต และได้ภารจำยอมโดยโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนและมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลย จึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนซึ่งเป็นเรื่องเช่าทรัพย์และกรณีนี้ มิใช่เรื่องที่เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันหรือติดต่อกันมาจากเรื่องเช่าทรัพย์ซึ่งโจทก์จะต้องยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้เสียในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม-การรุกล้ำที่ดิน-ค่าเสียหาย-การสร้างรุกล้ำ-การชดใช้ค่าเสียหาย-การรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ
คดีแดงที่ 3420-3421/2535
จำเลยให้การว่า ในการจัดสรรที่ดินเจ้าของที่ดินเดิมจะจัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อจะยกให้เป็นที่สาธารณะเจ้าของที่ดินเดิมจะโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จำเลยมีสิทธิจะใช้ที่ดินนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยแล้วว่า ที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะ หรือมิฉะนั้นจำเลยก็มีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้โดยชอบ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้อีกด้วยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เพียงใดหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกากำหนดเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อโจทก์กับจำเลยต่างนำสืบพยานหลักฐานไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอีก
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นแปลงเดียวกัน ต่อมาเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงโดยประสงค์ให้ที่ดินของโจทก์เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร ที่ดินของโจทก์จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของจำเลย ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคแรก จำเลยจึงมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวได้ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในภาระจำยอม
การที่ตึกแถวของจำเลยมีกันสาดพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยไม่ใช่ผู้สร้าง แต่เจ้าของที่ดินเดิมสร้างพร้อมตึกแถวของจำเลยในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นเจ้าของทั้งที่ดินของโจทก์และของจำเลยนั้นเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยตรง โดยบทบัญญัติของประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรก มาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ที่อยู่ใต้แนวกันสาดที่พิพาทได้ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินนั้นให้โจทก์โดยโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้จำเลย ส่วนชายคาที่พิพาทซึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยสร้างหลังจากรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวมาแล้วจำเลยจะอ้างว่าเป็นการสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตไม่ได้
จำเลยให้การว่า ในการจัดสรรที่ดินเจ้าของที่ดินเดิมจะจัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อจะยกให้เป็นที่สาธารณะเจ้าของที่ดินเดิมจะโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จำเลยมีสิทธิจะใช้ที่ดินนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยแล้วว่า ที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะ หรือมิฉะนั้นจำเลยก็มีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้โดยชอบ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้อีกด้วยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เพียงใดหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกากำหนดเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อโจทก์กับจำเลยต่างนำสืบพยานหลักฐานไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอีก
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นแปลงเดียวกัน ต่อมาเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงโดยประสงค์ให้ที่ดินของโจทก์เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร ที่ดินของโจทก์จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของจำเลย ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคแรก จำเลยจึงมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวได้ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในภาระจำยอม
การที่ตึกแถวของจำเลยมีกันสาดพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยไม่ใช่ผู้สร้าง แต่เจ้าของที่ดินเดิมสร้างพร้อมตึกแถวของจำเลยในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นเจ้าของทั้งที่ดินของโจทก์และของจำเลยนั้นเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยตรง โดยบทบัญญัติของประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรก มาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ที่อยู่ใต้แนวกันสาดที่พิพาทได้ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินนั้นให้โจทก์โดยโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้จำเลย ส่วนชายคาที่พิพาทซึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยสร้างหลังจากรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวมาแล้วจำเลยจะอ้างว่าเป็นการสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม-การรุกล้ำที่ดิน-ค่าเสียหาย-การรื้อถอน-ประโยชน์ใช้สอย-การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยให้การว่า ในการจัดสรรที่ดินเจ้าของที่ดินเดิมจะจัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อจะยกให้เป็นที่สาธารณะ เจ้าของที่ดินเดิมจะโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จำเลยทั้งสองมีสิทธิจะใช้ที่ดินนั้นถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยแล้วว่า ที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือมิฉะนั้นจำเลยก็มีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้โดยชอบ ฉะนั้น ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็กำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มเติมว่าจำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์ดังกล่าวเพียงใดหรือไม่ด้วยได้ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกากำหนดเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อโจทก์กับจำเลยต่างนำสืบพยานหลักฐานไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอีก การที่กันสาดพิพาทของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยไม่ใช่ผู้สร้าง แต่เจ้าของที่ดินเดิมสร้างพร้อมตึกแถวของจำเลยในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นเจ้าของทั้งที่ดินของโจทก์และของจำเลยนั้น เป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีโดยตรง โดยบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 4 ต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรกมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม การใช้ที่ดินร่วมกัน และค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน
จำเลยให้การว่า ในการจัดสรรที่ดินเจ้าของที่ดินเดิมจะจัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อจะยกให้เป็นที่สาธารณะเจ้าของที่ดินเดิมจะโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จำเลยมีสิทธิจะใช้ที่ดินนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยแล้วว่า ที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะ หรือมิฉะนั้นจำเลยก็มีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้โดยชอบ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้อีกด้วยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เพียงใดหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกากำหนดเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อโจทก์กับจำเลยต่างนำสืบพยานหลักฐานไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอีก เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นแปลงเดียวกัน ต่อมาเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงโดยประสงค์ให้ที่ดินของโจทก์เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร ที่ดินของโจทก์จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของจำเลย ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคแรก จำเลยจึงมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวได้ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในภารจำยอม การที่ตึกแถวของจำเลยมีกันสาดพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยไม่ใช่ผู้สร้าง แต่เจ้าของที่ดินเดิมสร้างพร้อมตึกแถวของจำเลยในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นเจ้าของทั้งที่ดินของโจทก์และของจำเลยนั้นเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยตรง โดยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรกมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ที่อยู่ใต้แนวกันสาดที่พิพาทได้ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินนั้นให้โจทก์ โดยโจทก์ต้องจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลย ส่วนชายคาที่พิพาทซึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยสร้างหลังจากรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวมาแล้วจำเลยจะอ้างว่าเป็นการสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมและทางจำเป็น: การมีอยู่จริงของสิทธิ และที่ดินติดถนนสาธารณะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 ที่ห้ามมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวกนั้น เป็นบทบัญญัติที่ใช้กับทางที่เป็นภารจำยอมโดยถูกต้องสมบูรณ์แล้วซึ่งอาจเป็นโดยนิติกรรมหรืออายุความก็ได้แล้วแต่กรณี ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ ทางพิพาทจึงมิได้ตกอยู่ในภารจำยอม แม้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทางพิพาทจะถมดินทับทางดังกล่าวแล้วปลูกสร้างอาคารโจทก์ก็ไม่มีสิทธิยกกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้างได้ ที่ดินของโจทก์ติดถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะ แม้ถนนดังกล่าวมีทางระบายน้ำริมถนนซึ่งเป็นของเทศบาลและโจทก์ไม่สามารถทำทางออกสู่ถนนได้ก็ตาม ที่ดินโจทก์ย่อมไม่เป็นที่ดินที่ถูกปิดล้อมไม่มีทางออกอันจะมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง และไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นในวรรคสองโจทก์จึงไม่มีสิทธิผ่านที่ดินจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการเปลี่ยนแปลงเส้นทาง ภารจำยอมยังคงมีผล แม้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเพื่อประโยชน์เจ้าของที่ดิน
โจทก์ใช้เส้นทางเดิมเดินออกสู่ทางสาธารณะ โดยสงบและเปิดเผยติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี มิใช่ถือวิสาสะ เส้นทางดังกล่าวจึงตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 ประกอบกับมาตรา 1382 ต่อมาโจทก์ต้องย้ายไปใช้เส้นทางใหม่ตามที่จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินภารยทรัพย์ประสงค์ เพื่อประโยชน์แก่จำเลยที่ 1และ ส. เจ้าของโรงงานทำอิฐผู้เช่าที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิให้โจทก์ย้ายไปใช้เส้นทางใหม่ได้ตามมาตรา 1392 เส้นทางใหม่นี้จึงตกเป็นภารจำยอมแทนเส้นทางเดิม จำเลยที่ 1 กับพวกไม่มีสิทธิที่จะปิดกั้นทางภารจำยอมหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390 โจทก์ถมเศษอิฐทำถนนในที่ดินจำเลยที่ 1 ที่ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ เป็นการจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ทางภารจำยอมซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1391 จึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินที่ตกเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด สิทธิทางภารจำยอมเกิดจากอายุความ
แม้ว่าตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่มีข้อความพาดพิงถึงจำเลยร่วมก็ตาม แต่เมื่อปรากฏจากคำให้การของจำเลยทั้งสองว่า ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว กรมที่ดินได้รับจดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของอาคารชุดจำเลยร่วม กรณีจึงมีเหตุจำเป็นที่จะเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)(ข) โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ได้สิทธิทางภาระจำยอมในที่ดินมีโฉนดซึ่งจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาโดยอายุความ ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนภารจำยอมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 ปัญหาว่าจำเลยร่วมซึ่งเป็นนิติบุคคลอาคารชุดจะอยู่ในฐานะต้องห้ามมิให้จดทะเบียนภารจำยอมตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522มาตรา 10 หรือไม่เป็นปัญหาที่ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยร่วมฎีกายกปัญหาข้อนี้ขึ้นมาโดยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในชั้นอุทธรณ์ ปัญหานี้จึงยุติแล้วตั้งแต่ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การจดทะเบียนแนวทางบนถนนที่ไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์สัญญาประนีประนอมยอมความ มิถือเป็นการเปลี่ยนแปลงภาระ
ตามคำฟ้องและความที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นการจดทะเบียนภารจำยอมก็เพื่อประโยชน์ที่โจทก์จะใช้ทางภารจำยอมนั้น เดิน ออกสู่ซอย และถนน แนวทางที่จะมีการจดทะเบียนตามที่ตกลงกันจึงต้องเป็นแนวทางที่สามารถใช้ภารยทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ของเจ้าของสามยทรัพย์ แนวที่จะถือว่าจะเป็นประโยชน์ได้ก็ต้องอยู่ในแนวที่ไม่มีการขัดขวางการใช้ทางเดิน ดังนั้น การกำหนดให้เริ่มแนวจากขอบถนนกว้างออกไปอีก 2 เมตร โดยที่ยังอยู่ในแนวเส้นสีแดง ในแผนที่สังเขปจึงมิใช่การกำหนดให้จดทะเบียนภารจำยอมเป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ อันจะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ เพราะแนวที่กำหนดให้จดทะเบียนนั้นอยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ในภารยทรัพย์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม: การกำหนดแนวทางจดทะเบียนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์และไม่เพิ่มภาระ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์เดินออกสู่ถนนมีความกว้าง 2 เมตร ตามแนวเส้นสีแดงในแผนที่ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งระบุว่ามีความกว้าง 6 เมตร โดยไม่ได้ระบุตำแหน่งทางภารจำยอมที่แน่นอน ดังนี้ แนวทางที่จะมีการจดทะเบียนจะต้องเป็นแนวทางที่สามารถใช้เดินได้โดยไม่มีการขัดขวาง เมื่อจำเลยเลือกจดทะเบียนภารจำยอมบนแนวฟุตบาทบางส่วนและบนถนนบางส่วนโดยมีเสาไฟฟ้าและซุ้ม ต้นไม้บนฟุตบาท บางตอนโจทก์ใช้เดินไม่ได้ต้องลงไปเดินบนถนน ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้ย้ายไปจดทะเบียนภารจำยอมบนถนนที่ใช้เดินได้โดยเริ่มจากขอบถนนออกไป 2 เมตรซึ่งยังอยู่ภายในแนวเส้นสีแดงได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความหรือเพิ่มภาระ แก่ภารยทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางโดยวิสาสะ ไม่เกิดภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องเกิน 10 ปี
การที่ราษฎรได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางโคกระบือเดินผ่านที่ดินจำเลยเป็นการใช้ชั่วคราวโดยวิสาสะตามประเพณีของชาวบ้าน โจทก์ซึ่งอยู่บ้านใกล้เคียงก็ได้ขออาศัยเดินผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ถนนด้วยแต่ภายหลังโจทก์จะถมดินขยายทางเพื่อให้รถยนต์เข้าออกได้อย่างถาวรจำเลยจึงไม่ยอม ดังนี้ การที่โจทก์ขออาศัยเดินผ่านทางพิพาทในที่ดินจำเลยจึงเป็นการใช้ทางโดยอาศัยสิทธิของจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินทั้งตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยถือวิสาสะ แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ.