คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 691 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการประเมินภาษี และการจำหน่ายหนี้สูญตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ที่บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล เป็นที่เห็นได้ว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อโจทก์ที่ 1 ยังอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ กรมสรรพากรจำเลยจะมีสิทธิได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อนการที่โจทก์ที่ 1 ไม่ชำระภาษีตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จึงหาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ไม่ เพราะมิฉะนั้นบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลจะไร้ผล ห้างหุ้นส่วนจำกัดส. เป็นหนี้โจทก์ที่ 2 ค่าซื้อสินค้าเป็นเงิน 1,352,680 บาท ห้างดังกล่าวถูกบริษัท ฮ.ฟ้องล้มละลาย และศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2525 โจทก์ที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวนดังกล่าวข้างต้น เมื่อวันที่18 พฤศจิกายน 2525 ศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของห้างนั้น แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ติดตามยึดทรัพย์สินของลูกหนี้และขายทอดตลาดได้เงิน 400,000 บาทเศษสภาพของทรัพย์ที่ยึดส่วนใหญ่ไม่มีราคา หุ้นส่วนผู้จัดการและผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างลูกหนี้หลบหนีจนต้องออกหมายจับ จำนวนหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็มีถึง 59 ล้านบาทเศษ และในการแบ่งทรัพย์ครั้งที่ 1 โจทก์ที่ 2 ได้รับส่วนแบ่งร้อยละ 1.85 คิดเป็นเงินเพียง25,024.85 บาท และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะติดตามยึดได้อีกข้อเท็จจริงดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ที่ 2 ได้กระทำการตามสมควรเพื่อที่จะให้ได้รับชำระหนี้ตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) ที่ใช้บังคับอยู่ในปี 2525 แล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิจำหน่ายหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาอุทธรณ์ภาษี: ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย และพิจารณาเจตนาในการซื้อขายที่ดินเพื่อยกเว้นภาษี
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วันตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) นั้น เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี ถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และกำหนดเวลาเช่นว่านี้ แม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.252 แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากร ศาลภาษีอากร-กลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาให้โจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบด้วยมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 252
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการประ-เมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) ก็ตาม แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้น ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาตาม มาตรา30 (2) ดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษี-อากร พ.ศ.252 มาตรา 17 อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางที่วินิจฉัยว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 พฤติการณ์แห่งคดีนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17
จ. ซื้อที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี 2523จึงได้ขายไป รวมระยะเวลาถือครองนานถึง 12 ปี โดยมิได้มีการพัฒนาปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อจะให้มีราคาสูงขึ้นและรีบขายไปภายในระยะเวลารวดเร็วเหตุที่ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายที่ดินค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่งด้วยซึ่งถือว่า จ. จำเป็นต้องซื้อที่ดินแปลงนี้เพื่อมิให้หนี้ของตนต้องสูญเสียไป ถือได้ว่าจ. ซื้อที่ดินแปลงนี้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แม้ว่าขณะขายที่ดินแปลงนี้จ. จะมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรก็ตาม จ. ก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายที่ดินแปลงนี้มารวมคำนวณภาษีตาม มาตรา 42 (9) ทั้งนี้เพราะต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่
(วรรคหนึ่งและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การที่โจทก์เป็นผู้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกับ ส. ทุกฉบับที่นำไปจำนำแก่ผู้รับจำนำ ทำให้เห็นว่าโจทก์กับ ส. ทำกิจการร่วมกัน และการที่โจทก์เป็นผู้มีชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนด ที่ดินที่โจทก์กับพวกซื้อมาจากบริษัท บ. จำกัดร่วมกับ ส. และคนอื่น ๆ รวม 20 คน อันเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์ร่วมกับ ส.ซื้อที่ดินดังกล่าวมาแต่ต้น เป็นการแสดงให้เห็นและฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ร่วมซื้อที่ดินที่นำมาแบ่งแยกและปลูกสร้างอาคารขาย กรณีจึงต้องถือ ว่าการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ดินที่ซื้อมา การ ปลูกสร้างอาคารลง ในที่ดินที่แบ่งแยกเป็นโฉนดแปลงย่อย และการที่ ได้มีการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่แบ่งแยกมา ได้ ดำเนินการโดยการรู้เห็น ของโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ดำเนินการ เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งการดำเนินการ ดังกล่าวเป็นการประกอบการค้า ประเภทการค้า 11 การค้า อสังหาริมทรัพย์ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าใน ป.รัษฎากร โจทก์จึง มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลจากรายรับ และภาษีเงินได้จากการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5251/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การตรวจสอบบัญชี, ค่าใช้จ่ายที่หักได้, และการโต้แย้งการประเมิน
โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย อ้างว่าเสียไว้เกินเจ้าพนักงานประเมินต้องตรวจสอบว่าโจทก์ชำระภาษีเกินหรือไม่ผลจากการตรวจสอบจึงพบว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงถือได้ว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่าโจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์ไปไต่สวนได้ตามความในมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์อ้างว่าได้รับยกให้ที่ดินที่ติดจำนอง 1,000,000 บาท โจทก์ไถ่ถอนจำนองและต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนหลายแสนบาท จะต้องถือเป็นรายจ่ายนำไปหักจากรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่า โจทก์เสียดอกเบี้ยจริงหรือไม่และจำนวนเท่าไรเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบที่จะฟังว่าไม่มีดอกเบี้ยที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายของโจทก์ โจทก์และบริษัท ส. ต่างเป็นนิติบุคคลแยกจากกัน เงินที่โจทก์นำไปชำระแก่ธนาคารแทนบริษัท ส. มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์ จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ของโจทก์มิได้ตาม มาตรา 65 ตรี(13) ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินประเมินรายได้ของ โจทก์ในการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์โดยวิธีสุ่มตัวอย่างไม่ชอบ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ประเด็นนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ถือว่าโจทก์ไม่ติดใจอุทธรณ์ แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้น โต้แย้งการประเมินต่อศาลได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ - เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีแทนลูกหนี้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จำเลยที่ 2) แต่ผู้เดียว โจทก์ จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้อีก ปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้จำเลยที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่เมื่อ จำเลยที่ 1 ยังเป็นเจ้าของโรงเรือนและที่ดิน ซึ่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 และ พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 บัญญัติให้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายดังกล่าวทุกปี จำเลย ที่ 2 ในฐานะ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ เอาเงินของจำเลย ที่ 1 ชำระค่าภาษีดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีจำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ ใน ฐานะเจ้าหนี้จะบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับ ชำระหนี้จำเลยที่ 2 ไม่จำต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสีย ภาษีแทนจำเลยที่ 1เช่นนี้ หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียง ความเห็นของจำเลยที่ 2ในปัญหาว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ ค่าภาษีจะใช้สิทธิเรียก ค่าภาษี ได้โดยวิธีใด หาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับ ค่าภาษีไม่ ทั้งคำวินิจฉัยดังกล่าวก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้อง คัดค้าน ต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาล ในคดีล้มละลายภายใน 14 วัน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อการฟ้องร้องเรียกค่าภาษี และหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้แทนลูกหนี้
ปรากฏตามคำฟ้องว่า ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1เด็ดขาดก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมหมดอำนาจที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ อำนาจในการจัดการทรัพย์สินและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ตกเป็นของจำเลยที่ 2 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ภาษีอากรได้ เพราะเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 เมื่อที่ดินและโรงเรือนของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการนั้นมี พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7,35บัญญัติให้ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปีหรือภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินแล้วแต่กรณี กับมี พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา8,38,40 บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินชำระค่าภาษีปีละครั้งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งความการประเมิน จำเลยที่ 2จึงมีหน้าที่ที่จะต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่และค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง แม้เป็นหนี้ที่เกิดภายหลังจากศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วก็ตาม การที่เจ้าพนักงานของกรุงเทพมหานครโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ให้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับโรงเรือนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีหนังสือตอบว่า โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะบังคับสิทธิเรียกร้องได้ก็แต่โดยการขอรับชำระหนี้ จำเลยที่ 2ไม่จำต้องยื่นแบบรายการเพื่อเสียภาษีแทนจำเลยที่ 1 นั้น หนังสือตอบของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงความเห็นของจำเลยที่ 2 ในปัญหาว่าโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจะใช้สิทธิเรียกค่าภาษีดังกล่าวได้โดยวิธีใด ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยเพื่อให้ศาลสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากดอกเบี้ยกู้ยืมที่ไม่สมเหตุสมผลระหว่างห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการ
โจทก์เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มี อ. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่ง มีหน้าที่ต้องระมัดระวังจัดการงานของห้างหุ้นส่วนให้ดำเนินไป ด้วย ดีและต้องเป็นผู้เสียสละอีกด้วย การที่ อ. ได้ค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนเพื่อจะได้เงินมาดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วน เป็น การปฏิบัติตามหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งแม้จะเห็นได้ว่า เป็น การช่วยเหลือโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์จะตอบแทน อ. ด้วยการกู้ยืม เงินจากผู้อื่นหรือเอาเงินของโจทก์ที่มีอยู่มาให้ อ. กู้ยืม โดย คิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำมาก ในขณะที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ย ใน อัตราที่สูงกว่าให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันสมควรเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าดอกเบี้ยนั้นตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงินได้ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ตามตัวอย่าง: การจัดทำสัญญาซื้อขายและการหักค่าใช้จ่าย
ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. ได้ซื้อบ้านที่โจทก์ปลูกลงในที่ดินนั้นพร้อมกันด้วยและโจทก์ได้จัดเตรียมแบบแปลนสำหรับปลูกบ้านในที่ดินทุกแปลงไว้เหมือนกันทุกหลังกับได้สร้างบ้านตัวอย่างขึ้นไว้ให้ผู้ซื้อได้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งโจทก์ได้ลงมือปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไปก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินกับ ฉ. และทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์ แสดงว่าโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้น อันเป็นลักษณะของการขายตามตัวอย่าง หาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ยิ่งกว่านั้นบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ. โดยได้รับความยินยอมจาก ฉ. นั้น ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้าน จึงตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ. และโจทก์ แต่โจทก์กลับจัดให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ฉ.และทำสัญญาว่า โจทก์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. โดยใช้สัมภาระของโจทก์ขึ้นไว้แทน ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนี้ รายรับที่โจทก์ได้จากการโอน-กรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหา-ริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (8) โดยขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตรงตามจำนวนเงินในสัญญาจ้างเหมาผู้อื่นปลูกสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ตามความจำเป็นและสมควรเป็นการถูกต้องแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินของกรมโยธาธิการนั้น เป็นเพียงราคาจากการประเมิน มิใช่ค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเกินกำหนดอายุความและข้อโต้แย้งเรื่องที่มาของทรัพย์สินเพิ่มพูน
ก. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีสำหรับปี 2518-2520 ขณะ ที่มีชีวิตอยู่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2521 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนการเสียภาษีของ ก. ไปยังทายาทของก. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2527 จึงเกินกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีปี 2518-2520 การออกหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบด้วยมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีในปี ดังกล่าว การกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร เท่านั้น ที่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน ส่วนการออกหมายเรียกไต่สวน เพื่อกำหนดเงินได้สุทธิเป็นกรณีเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตาม มาตรา 19หรือมาตรา 23 ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวหาได้บัญญัติไว้ว่า จะต้องได้ รับอนุมัติจากอธิบดีก่อนไม่ โจทก์อ้างว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินนำหุ้นของ ก. ที่เพิ่มขึ้นในปี 2521 หรือ 2522 มาถือเป็นเงินได้ของปี 2521 และ 2522ไม่ชอบ เพราะหุ้นที่เพิ่มขึ้นนั้น ก. ได้นำเงินที่ได้รับคืนจากการทดรองจ่ายให้บริษัทโรงงานน้ำตาลซื้อมา จึงเป็นทรัพย์สิน ที่มีอยู่เดิมแต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเป็น เงินได้พึงประเมิน จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนภาษี: นับจากวันยื่นแบบแสดงรายการ แม้ทายาทจะยื่นภายหลัง
การที่ผู้ต้องเสียภาษีได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว แม้ต่อมาเมื่อผู้ต้องเสียภาษีตาย ทายาทจะไปยื่นเสียภาษีอีกก็ตาม การนับกำหนดระยะเวลาออกหมายเรียกไต่สวนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19ก็ต้องนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีครั้งแรก กรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีให้ออกหมายเรียกก่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 เป็นเรื่องการกำหนดเงินได้สุทธิ ซึ่งจะมีขึ้นหลังจากมีการไต่สวนแล้ว ส่วนกรณีที่จะออกหมายเรียกมาไต่สวนนั้น เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 หรือ 23 แล้วแต่กรณี ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน.
of 70