พบผลลัพธ์ทั้งหมด 293 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป คือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2500 และวันที่ 1 มีนาคมในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ. 2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2500, 2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ. 2502 ถึง 2506 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ตาม 84, 85 ดังนี้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีเงินได้และภาษีการค้า: การประเมินและแจ้งการประเมินภายใน 10 ปี
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 ถึง 2506 แต่โจทก์ยื่นรายการเงินได้ไม่ถูกต้องต่ำกว่าความจริงและลงรายการไม่ครบถ้วนทำให้จำนวนเงินภาษีเงินได้ขาดไป เจ้าพนักงานประเมินได้ไต่สวนแล้วมีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้รวมทั้งเงินเพิ่มของปีดังกล่าวให้โจทก์ชำระ ดังนี้ หนี้ค่าภาษีเงินได้ที่ขาดไปนั้นได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 56,57 จัตวา คือภายในเดือนกุมภาพันธ์ทุก ๆ ปี ที่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมา และเจ้าพนักงานประเมินมี สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีเงินได้ถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไปคือเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2501
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2500 และวันที่ 1 มีนาคม ในปีถัดไป สำหรับเงินได้ระหว่างปีภาษี พ.ศ.2501 ถึง 2506 ของแต่ละปีตามลำดับเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2500,2501 ให้โจทก์ชำระเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2510 และภาษีเงินได้ปี พ.ศ.2502 ถึง2506 เมื่อวันที่ 19กุมภาพันธ์ 2511 ซึ่งนับอายุความตั้งแต่วันที่ เจ้าพนักงานประเมินอาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินแล้วยังไม่เกิน 10 ปี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีเงินได้จึงไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167
สำหรับภาษีการค้านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับรายรับเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2502 เดือนธันวาคม 2502 และกันยายน 2503 ภายในเวลาตามที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84,85 ดังนี้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีที่โจทก์มีรายรับโดยถือเอาวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเป็นวันที่ครบกำหนดชำระภาษีเดือนนั้น ๆ และเจ้าพนักงานประเมินมีสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีการค้าถัดจากวันที่ครบกำหนดชำระเป็นต้นไป เมื่อเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2511 อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าพนักงานประเมินอาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2637-2639/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่เสียภาษีการค้าและเงินได้ กรณีมีตัวแทน/สาขาในไทย
โจทก์ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อขออนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์ตามนัยมาตาม 3 อัฎฐแห่งประมวลรัษฎากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรไม่ยินยอมโจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งมีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้น และในที่สุดอธิบดีกรมสรรพากรได้มีหนังสือถึงโจทก์อนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ ดังนี้ เป็นการขยายกำหนดเวลาออกไปตามอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรที่มีอยู่แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรขยายเวลาออกไปย่อมถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โดยชอบแล้วและเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
บริษัท อ.และ พ.ทำสัญญาซื้อขายอุปการณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ.แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 % ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ.ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่า การเสนอราคาของบริษัท พ.มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย ใลสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ.และพ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิอยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้าที่บัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วนต่างหมวดกัน ดังนั้น การวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้องอาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติในมาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่องภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยและยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทยและในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายในบริษัท อ.ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ.เท่านั้น แต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ.ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) จากรายรับของบริษัท อ.ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ.ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ.ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของบริษัท พ.ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2506 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508
บริษัท อ.และ พ.ทำสัญญาซื้อขายอุปการณ์โทรศัพท์กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยบริษัท อ.แต่งตั้งให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อเจรจาตกลงกับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 % ของราคาเอฟโอบี ที่ได้รับคำสั่งซื้อ และในการติดต่อขายอุปกรณ์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ยื่นเสนอราคาหรือลดราคา และได้ขอยืดเวลาการเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ ตกลงซื้อแล้วก็ได้แจ้งให้โจทก์ติดต่อบริษัท อ.ให้เข้ามาทำสัญญา การชำระราคาองค์การโทรศัพท์ฯ เปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไปยังบริษัท พ. โดยโจทก์อ้างว่าได้รับมอบให้เป็นนายหน้าตัวแทน ในหนังสือขององค์การโทรศัพท์ที่ขออนุมัติสั่งซื้อต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็อ้างว่า การเสนอราคาของบริษัท พ.มีโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทย ใลสั่งซื้อก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงชื่อเป็นพยาน ประกอบกับโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการติดต่อให้บริษัท อ. และ พ. เข้าทำสัญญาซื้อขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะนายหน้า แสดงว่าโจทก์ได้แสดงออกโดยแจ้งชัดแล้วว่า โจทก์เป็นผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อในประเทศไทยของบริษัท อ.และพ. แล้ว ถือได้ว่าโจทก์เป็นตัวแทนของบริษัททั้งสองดังกล่าวอันเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศในการขายอุปกรณ์โทรศัพท์ให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 76 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2494 มาตรา 33
บทบัญญัติมาตรา 76 ทวิอยู่ในส่วนที่ 3 ของหมวดที่ 3 ว่าด้วยภาษีเงินได้ แต่เรื่องภาษีการค้าที่บัญญัติอยู่ในหมวดที่ 4 ต่างส่วนต่างหมวดกัน ดังนั้น การวินิจฉัยถึงความรับผิดในเรื่องภาษีการค้า จึงต้องอาศัยบทบัญญัติในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้า จะนำบทบัญญัติในมาตรา 76 ทวิ อันเป็นบทบัญญัติที่ให้สันนิษฐานเด็ดขาดในเรื่องภาษีเงินได้มาใช้กับเรื่องภาษีการค้าไม่ได้
โจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายของบริษัท อ. เพื่อจุดประสงค์ในการเจรจากับกระทรวงคมนาคมและเจ้าหน้าที่องค์การโทรศัพท์ฯ โดยโจทก์ได้รับค่านายหน้า 2 เปอร์เซนต์ ของราคาเอฟโอบีที่ได้รับคำสั่งซื้อ ต่อมามีบริษัทในเครือเดียวกับบริษัท อ.มีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นตัวแทนในประเทศไทยและยืนยันข้อตกลงที่แต่งตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าโดยให้โจทก์กระทำการเป็นตัวแทนนายหน้าต่อหน่วยราชการหรือองค์การในประเทศไทยและในการเซ็นสัญญาซื้อขายโจทก์เป็นผู้ขอยืดเวลาเซ็นสัญญาแทนบริษัท อ. เมื่อองค์การโทรศัพท์ฯ จ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายในบริษัท อ.ก็ต้องแจ้งผ่านโจทก์ ดังนี้ บริษัทโจทก์มิได้กระทำการเป็นเพียงนายหน้าของบริษัท อ.เท่านั้น แต่ถือได้ว่าเป็นผู้ทำการแทนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 มาตรา 37 และเป็นสาขาของบริษัท อ.ผู้นำเข้าตามมาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1 (ก) จากรายรับของบริษัท อ.ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2504 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2507
สำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท พ.ขายสินค้าให้องค์การโทรศัพท์ฯ ก็ปรากฏว่า โจทก์มีหนังสือเสนอขายสินค้าแทนบริษัท พ. โดยอ้างว่าโจทก์ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนนายหน้า ใบสั่งซื้อสินค้าที่องค์การโทรศัพท์กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการส่งถึงบริษัท พ. ก็ต้องผ่านโจทก์ สัญญาซื้อขายระหว่างองค์การโทรศัพท์ฯ กับบริษัท พ.ก็มีผู้จัดการบริษัทโจทก์ลงนามเป็นพยานด้วย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ได้เข้าเกี่ยวข้องติดต่อทุกขั้นตอนในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท พ. โจทก์จึงเป็นสาขาของบริษัท พ.ผู้นำเข้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 มาตรา 9 โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของบริษัท พ.ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2506 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2507 และมกราคม ถึงสิงหาคม 2508
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าสินค้าสำเร็จรูปและการยกเว้นภาษีส่วนประกอบเครื่องจักรชำรุด
ตาม ประมวลรัษฎากรฉบับที่ 18 พ.ศ.2504 ในขณะนั้นสินค้าสำเร็จรูปไม่ว่าจะนำเข้ามาผลิตสินค้าอื่นหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นผู้ขาย และเสียภาษีการค้าในวันนำเข้า
ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด ไม่ใช่สินค้าที่ยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 14 พ.ศ.2508มาตรา 4
ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่นำเข้ามาเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด ไม่ใช่สินค้าที่ยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 14 พ.ศ.2508มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสีต้องชัดเจนเพื่ออ้างสิทธิไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ. 2504 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้จากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐาน เมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐาน เมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1 (ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าข้าว: หลักฐานการซื้อจากโรงสี ต้องแสดงได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้าจริง
โจทก์ประกอบการค้าข้าวโดยซื้อข้าวส่งไปจำหน่ายต่างประเทศในปี พ.ศ.2509 และ 2510 โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ข) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชี และรายรับจากการค้าประเภทการค้าข้าวหมายความรวมถึงเงินที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายข้าวซึ่งไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นข้าวที่ได้มาหรือได้รับช่วงมาจากผู้ประกอบกิจการตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด)
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
โจทก์อ้างว่าข้าวที่โจทก์ส่งไปจำหน่ายเป็นข้าวที่โจทก์ซื้อจากบรรดาโรงสีต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร มีใบเสร็จรับเงินที่โรงสีข้าวนั้นๆ ออกให้เป็นหลักฐานเมื่อทางนำสืบรับฟังได้ว่าผู้ที่ขายข้าวให้โจทก์ตามใบเสร็จดังกล่าวมิใช่ผู้ประกอบการค้าประเภทการค้า 2 ชนิด1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จนั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าโจทก์ซื้อข้าวจากผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า 2 ชนิด 1(ก) แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า (การสีข้าวทุกชนิด) โจทก์จึงต้องมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับในการที่ขายข้าวที่ซื้อมาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลสำหรับวัตถุดิบผลิตสินค้าน้ำอัดลมที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้า
โจทก์นำน้ำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลม ระหว่างต้นปี 2507 ถึงเดือนกรกฎาคม 2509 โจทก์เสียภาษีที่ที่ว่าการอำเภอโดยโจทก์ยื่นแบบ ภ.ค.4 แสดงยอดราคาน้ำเชื้อที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วคำนวณออกมาเป็นภาษีการค้าบวกกับภาษีบำรุงเทศบาล ต่ออำเภอภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งชำระเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2509 กรมศุลกากร เป็นผู้เก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแทนกรมสรรพากรจำเลยโดยเมื่อโจทก์นำน้ำชื้อมาในราชอาณาจักรก็ต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับแนบเอกสารแสดงรายการสินค้าคือใบอินวอยซ์ เมื่อกรมศุลกากรตรวจถูกต้องแล้วก็จะเรียกเก็บภาษีจากโจทก์โดยแยกเป็นอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล ดังนี้ การกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งทางอำเภอและทางกรมศุลกากรดังกล่าว แม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนกรมสรรพากรจำเลย แต่ก็หาใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ไม่ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1734/2519)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขาย การที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อ โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ไห้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขาย การที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อ โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ (3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ไห้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีการค้าสำหรับวัตถุดิบในการผลิต ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้า - อายุความไม่ขาด
โจทก์นำน้ำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลม ระหว่างต้นปี 2507 ถึงเดือนกรกฎาคม 2509 โจทก์เสียภาษีที่ที่ว่าการอำเภอโดยโจทก์ยื่นแบบภ.ค.4 แสดงยอดราคาน้ำเชื้อที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรแล้วคำนวณออกมาเป็นภาษีการค้าบวกกับภาษีบำรุงเทศบาลต่ออำเภอ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งชำระเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2509กรมศุลกากรเป็นผู้เก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแทนกรมสรรพากรจำเลยโดยเมื่อโจทก์นำน้ำเชื้อเข้ามาในราชอาณาจักรก็ต้องยื่นแบบใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับแนบเอกสารแสดงรายการสินค้าคือใบอินวอยซ์ เมื่อกรมศุลกากรตรวจถูกต้องแล้วก็จะเรียกเก็บภาษีจากโจทก์โดยแยกเป็นอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล ดังนี้ การกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งทางอำเภอและทางกรมศุลกากรดังกล่าวแม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนกรมสรรพากรจำเลย แต่ก็หาใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ไม่ ซึ่งไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1734/2519)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขายการที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ให้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้ จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
โจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มน้ำอัดลมต้องใช้น้ำเชื้อเป็นวัตถุดิบในการผลิต โจทก์ไม่ได้สั่งน้ำเชื้อเหล่านี้มาเพื่อขายการที่โจทก์นำน้ำเชื้อดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรผลิตเป็นสินค้าน้ำอัดลมเพื่อขายเช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการขายสินค้าน้ำเชื้อโจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 77 ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าและรายการที่ประกอบการค้า ตามมาตรา 78 วรรคแรก และไม่ต้องเสียภาษีการค้าในกรณีให้ถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเป็นผู้ประกอบการค้าตามมาตรา 78 วรรคสอง และเมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าน้ำเชื้อก็จะถือว่าการนำน้ำเชื้อเข้ามาสำหรับผลิตเป็นเครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นการขายสินค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ทวิ(3) ไม่ได้ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1606/2512 และ 2807/2515)
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่กรมสรรพากรจำเลยรับชำระจากโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้และจำเลยก็ให้การและโต้แย้งตลอดมาว่า โจทก์ต้องเสียภาษีการค้าดังกล่าวตามประมวลรัษฎากรซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้การฟ้องเรียกภาษีคืนในคดีนี้ จึงมิใช่การฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2520)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าที่รับเงินค่าจ้าง
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกันอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหม โจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างใดขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย ครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้ แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมา เมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก้เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้า และเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค.ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้าง เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเอง โจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค.ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้าง เมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเอง โจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีการค้าและอากรแสตมป์ของผู้ทำการแทนผู้ประกอบการค้าในสัญญาจ้างทำของ
บริษัท ค. เป็นบริษัทในต่างประเทศได้ร่วมกับอีกบริษัทหนึ่งทำสัญญารับเหมาก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันกับกระทรวงกลาโหมโจทก์เป็นผู้ลงนามในสัญญากับกระทรวงกลาโหมแทนบริษัท ค. บริษัท ค. ได้มอบให้โจทก์เป็นผู้มีอำนาจเต็มและมีสิทธิทำการทุกอย่างในขอบเขตเรื่องการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมัน โจทก์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงกลาโหมชี้แจงข้อความเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้ลงนามกู้เงินจากธนาคารมาใช้ในการก่อสร้างโดยเปิดบัญชีไว้ 4 บัญชี ทุกบัญชีโจทก์มีอำนาจสั่งจ่ายครั้นก่อสร้างเสร็จกระทรวงกลาโหมจ่ายเงินค่าจ้างแก่ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้แล้วธนาคารจึงจ่ายต่อไปให้แก่ผู้รับเหมาเมื่อมีเงินเหลือธนาคารก็จ่ายให้โจทก์และโอนเข้าบัญชีอื่นๆ ที่โจทก์มีอำนาจสั่งจ่าย แม้บริษัท ค. จะมีสำนักงานไว้ ณ สถานที่ก่อสร้างก็เพื่อติดต่อเกี่ยวกับคนงานที่มาก่อสร้างเท่านั้น มิใช่บริษัท ค. ใช้สถานที่นั้นเป็นสาขาประกอบการค้าในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้ทำการแทนบริษัท ค. เป็นผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและเสียภาษีการค้าตามรายรับเงินค่าจ้างของบริษัท ค.
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค. จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค. ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้างเมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเองโจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้
ธนาคารที่โจทก์เปิดบัญชีไว้เป็นผู้รับเงินค่าจ้างของบริษัท ค. จากกระทรวงกลาโหมมาจ่ายให้บริษัท ค. ผู้รับจ้าง เงินที่รับมานั้นจึงเป็นค่าจ้างทำของซึ่งจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามจำนวนเงินแบ่งสินจ้างเมื่อโจทก์เป็นผู้กระทำการแทนบริษัท ค. ในประเทศไทย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียค่าอากรแสตมป์ในเงินค่าจ้างซึ่งเสมือนเสียจากผู้รับจ้างนั่นเองโจทก์ต้องเป็นผู้เสียค่าอากรแสตมป์นี้