พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของพินัยกรรม, การจัดการมรดก, และการเพิกถอนนิติกรรมจำนอง: สิทธิของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทระบุสถานที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงความจริง วัน เดือน ปี ที่ระบุไว้ในพินัยกรรมเป็นที่น่าสงสัยทั้งผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมโดยพยานมิได้อยู่ในขณะนั้น การทำพินัยกรรมจึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีผลให้พินัยกรรมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 จำเลยมิได้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายมิได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้าพยานอันเป็นข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกปัญหาว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหานี้ต่อมาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ผู้ตายได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมขณะรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลและผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่และได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ ผู้ตายเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรมส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริง และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตามวันเดือนปีที่แท้จริงนั้นข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อแม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม และการลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามฟ้อง โจทก์มิได้ฟ้องผู้รับจำนองเข้ามาด้วย การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เพิกถอนการจำนองกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เป็นการไม่ชอบ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล แม้จำเลยจะโอนที่ดินเป็นของตนแล้วนำไปจำนองกับบุคคลภายนอกเป็นการโอนตามพินัยกรรมที่จำเลยเข้าใจว่าสมบูรณ์และไม่ปรากฏว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องในการเป็นผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอันจะให้เพิกถอนผู้จัดการมรดกดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธิจัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โจทก์จึงไม่มีสิทธิห้ามจำเลยยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีโต้แย้งสิทธิในที่ดินจากการโอนที่ดินโดยไม่ชอบ และผลกระทบต่อผู้มีสิทธิในมรดก/สินสมรส
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรของ ส.และ น. ที่ดินพิพาทเป็นมรดกของ ส.กับ น.โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทจึงมีส่วนได้เสียในที่ดินแปลงดังกล่าว ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ฟ้อง ค.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ให้โอนที่ดินหลายแปลงเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ของศาลแพ่งแล้วจำเลยที่ 1 กับ ค.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดย ค.ตกลงโอนที่ดินให้จำเลยที่ 1 ตามฟ้องรวมทั้งที่ดินพิพาทในคดีนี้ด้วย และในการทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความในคดีดังกล่าว ค.มิได้แยกที่ดินส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.ออกก่อนน.และโจทก์ทั้งสามจึงได้ยื่นฟ้อง ค.ขอให้แบ่งสินสมรสและขอให้แบ่งมรดกเป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10864/2534 ของศาลแพ่ง และ น.ได้ฟ้องคดีขอให้ศาลพิพากษาว่า สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค.ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523 ไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นสินสมรสของ น.เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 16824/2534 ของศาลแพ่ง ในระหว่างดำเนินคดีดังกล่าว ศาลแพ่งได้มีคำสั่งให้ ค.ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ค.ไม่ยอมส่งโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ศาล ศาลแพ่งจึงมีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 9 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินสังกัดจำเลยที่ 10 ให้ออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์โจทก์ทั้งสามคัดค้านต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าออกใบแทนไม่ได้เพราะเอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์มิได้สูญหายไป แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ยังฝ่าฝืนออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทั้ง ๆ ที่ปิดประกาศไม่ครบกำหนดและไม่ได้ปิดประกาศในที่ดินพิพาททุกแปลงอันเป็นการไม่ชอบ แล้วโอนให้จำเลยที่ 1 เสร็จแล้วจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 รู้ว่าโจทก์ทั้งสามและ น.ได้ฟ้องค.ขอแบ่งสินสมรสและแบ่งมรดก และได้ฟ้องคดีขอให้มีคำพิพากษาว่าสัญญาประนี-ประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ค.ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9536/2523ของศาลแพ่ง ไม่มีผลผูกพันสินสมรสของ น. ทั้งนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 สมคบกันกระทำเพื่อมิให้โจทก์ทั้งสามได้รับส่วนแบ่งที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสามถือว่าการกระทำของจำเลยทั้งสิบเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินต้องเพิกถอนโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของนายสดที่โจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทและเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย และกล่าวอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 9 และที่ 10 ในการออกใบแทนโฉนดที่ดินและใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งอ้างว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ถึงที่ 8 ที่สมคบกันโอนที่ดินพิพาทให้แก่กันนั้นทำให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสามมิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวด้วย คำพิพากษาและการบังคับคดีในคดีดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสามในคดีนี้คำฟ้องของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการตั้งประเด็นข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกที่ดินที่เป็นทรัสต์ก่อนใช้ พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์ 2478: กฎหมายที่ใช้บังคับ
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ที่ดินโฉนดตามคำร้องขอเป็นทรัพย์ของ ล. ล.ตาย พ.ศ.2480 หรือ 2481 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ผู้ร้องไปขอรับมรดก แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดการให้ได้ต้องมีผู้จัดการมรดกเสียก่อนนั้น แต่ตามสำเนาโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวมีข้อความว่า โฉนดที่ดินฉบับนี้...ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเจ้าพนักงานออกโฉนดดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2462 แสดงให้เห็นว่า ล.มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นทรัสตีของที่ดินแปลงนี้ซึ่งใช้เป็นป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของ ล.อันจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทรัสต์ที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 ซึ่งเป็นวันใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 มาตรา 1686 ย่อมมีผลสมบูรณ์ใช้ได้เพราะกฎหมายดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลัง การมีชื่อ ล.เป็นทรัสตีในโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งได้ทำก่อนวันใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 กรณีจึงต้องใช้กฎหมายก่อน ป.พ.พ.บรรพ 6 บังคับ คือ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2459 มาตรา 8 ที่กำหนดว่า ถ้าผู้ใดเป็นทรัสตีในเรื่องที่ดินมีโฉนดแผนที่แล้วให้มีอำนาจมาจดทะเบียนชื่อให้มีข้อความบ่งชัดในหลังโฉนดว่าเป็นทรัสตีด้วย ดังนี้ ข้อความที่บันทึกไว้ในโฉนดที่ดินที่ว่าโฉนดที่ดินฉบับนี้...ให้ไว้เป็นสำคัญแก่ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจึงเป็นหลักฐานเพียงพอที่ฟังได้ว่ามีการตั้งทรัสตีขึ้นจริง เพราะตามกฎหมายเรื่องทรัสต์ขณะนั้นยังไม่ปรากฏว่าการตั้งทรัสตีจะต้องทำเป็นตราสารตามแบบพิธีอย่างใดเป็นพิเศษกรณีไม่จำต้องมีการจัดการมรดก ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาภารจำยอมทางมรดก: จำเลยต้องรื้อสิ่งกีดขวาง แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ป. กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินซึ่งมีข้อความว่าบิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่5621เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่4587โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่5621มาโดยทางมรดกจำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ป่านที่ดินเอกสารหมายจ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจากป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรมมิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599,1600ก็ตามแต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าวย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฎิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไปแต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของป. เจ้าของที่ดินเดิมจึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความและข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4จึงไม่เป็นภารจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและกรรมสิทธิ์ร่วม การพิสูจน์ส่วนได้เสียตามพินัยกรรมและข้อเท็จจริงจากการครอบครอง
แม้ตามโฉนดที่ดินแปลงที่พิพาทเดิมจะมีชื่อจ.และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยในโฉนดมิได้บรรยายส่วนของแต่ละคนไว้ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่าใดก็ตามแต่ก็หาเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาดไม่ถ้าผู้เป็นเจ้าของรวมคนใดสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีส่วนเป็นเจ้าของในส่วนใดเท่าใดแล้วเจ้าของรวมคนนั้นก็จะเป็นเจ้าของในส่วนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2737/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโดยอ้างคำพิพากษาเดิม ศาลฎีกาแก้ ให้สืบพยานใหม่
ก่อนคดีนี้จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 3 ออกจากบ้านเลขที่ 39 ส่วนโจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเลขที่ 38/2 คดีทั้งสองสำนวนศาลชั้นต้นรวมพิจารณาพิพากษา และคดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวน โดยคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ส.หรือของจำเลย ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวว่า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า บ้านเลขที่ 39 เป็นของจำเลย ส่วนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยกึ่งหนึ่งในฐานะที่ครอบครองร่วมกันมา ส. ก็ยังเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท ส่วนบ้านเลขที่ 39 ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาท เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทพร้อมบ้านเลขที่ 39 จึงเป็นทรัพย์มรดกของ ส. โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเท่าใดดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ส.หรือไม่ จึงหายุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ แม้คำพิพากษาในคดีก่อนจะผูกพันโจทก์จำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ข้อเท็จจริงที่รับฟังมาในคดีก่อนยังหาเพียงพอแก่การวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินการสืบพยานต่อไปและพิพากษาใหม่ตามรูปคดียังไม่ควรงดสืบพยานคู่ความ จำเลยฎีกาเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี มิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีจึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมเมื่อผู้รับบุญธรรมถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก และ จ.ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดก เช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ.ได้ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกแทนที่ของบุตรบุญธรรม: ไม่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก และ จ. ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ. ได้เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่สามารถรับมรดกแทนที่ได้หากไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1643ที่กำหนดให้สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรงนั้นหมายความถึงผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตอันแท้จริงเท่านั้นส่วนบุตรบุญธรรมแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1627จะให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตามก็หมายความเพียงว่าบุตรบุญธรรมเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1629(1)และมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้นหามีผลทำให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยไม่เพราะไม่ใช่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1643ดังนั้นเมื่อผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของจ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกและจ. ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้วเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่จ. ได้เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของจ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่สามารถรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมที่เสียชีวิตก่อน
ผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของจ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดกและจ. ได้ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกเช่นนี้ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่จ. ได้เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของจ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคหนึ่ง