พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13673/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนกระทำชำเรา: การสมคบคิดร่วมกัน และการยอมความ
ความผิดฐานร่วมกันกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงนั้นจะต้องมีลักษณะของการสมคบกันมาแต่ต้น และขณะเกิดเหตุได้ผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราหญิงด้วย แต่ทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันสมคบคิดมาแต่ต้นกันอย่างไร และไม่ปรากฏว่าก่อนจำเลยที่ 1 จะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 จำเลยทั้งสามได้ตกลงให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 รออยู่นอกห้องนอนเพื่อให้จำเลยที่ 2 รอที่จะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 เป็นคนถัดไป ประกอบกับจำเลยที่ 2 ได้พูดขอมีเพศสัมพันธ์กับโจทก์ร่วมที่ 1 ในลักษณะขอความยินยอมจากโจทก์ร่วมที่ 1 ก่อน เมื่อโจทก์ร่วมที่ 1 ไม่ยินยอมจำเลยที่ 2 จึงใช้กำลังข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ หากจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 มาแต่ต้น จำเลยที่ 2 คงจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 ในทันทีที่พบ คงไม่รั้งรอเพื่อพูดขอร่วมเพศกับโจทก์ร่วมที่ 1 ด้วยความสมัครใจของโจทก์ร่วมที่ 1 ก่อน พฤติการณ์แห่งคดียังไม่อาจรับฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุจำเลยทั้งสามร่วมกันผลัดเปลี่ยนข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสาม แต่เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา และฐานช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกผู้อื่นกระทำความผิดดังกล่าวตามลำดับ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ตาม ป.อ. มาตรา 281 เมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์โดยมีบันทึกการชดเชยเยียวยาให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสองแนบท้ายอุทธรณ์ มีข้อความว่า โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นผู้เสียหายไม่ประสงค์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามอีกต่อไป จึงถือได้ว่ามีการถอนคำร้องทุกข์หรือยอมความกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7445/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีอาญา และการยอมความที่ไม่สมบูรณ์ในคดีฐานยักยอก
การที่จำเลยรับเงินค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมที่จังหวัดต่างๆ แล้วไม่โอนเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมกับไม่มาชำระบัญชีกับโจทก์ร่วมที่อำเภอกระทุ่มแบน ดังนี้ ความผิดฐานยักยอกจึงอาจเกิด อ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยรับเงินจากลูกค้าของโจทก์ร่วมแต่ละจังหวัดจนถึงสำนักงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสถานที่ที่จำเลยต้องมาชำระบัญชีกับโจทก์ร่วม กรณีเป็นเรื่องที่จำเลยกระทำความผิดต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป และเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรมกระทำลงในท้องที่ต่างๆ กันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) และ (4) พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ เมื่อโจทก์ร่วมไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรกระทุ่มแบนจึงมีอำนาจสอบสวน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์มิได้ระบุว่า ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้ใด แต่ก็ระบุให้ พ. มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นการมอบอำนาจทั่วไป และต่อมาโจทก์ร่วมก็มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหายักยอก เมื่ออ่านประกอบกันโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาอะไรแล้ว การมอบอำนาจของโจทก์ร่วมที่ให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือรับสารภาพเป็นเพียงเอกสารที่จำเลยรับว่า ไม่ได้นำเงินจำนวน 3,266,808 บาท ส่งคืนโจทก์ร่วม ยอมรับว่าได้กระทำผิดจริง และยอมชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม โดยยินยอมให้ยึดถือที่ดินและรถยนต์ไว้ก่อน ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่า โจทก์ร่วมตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
แม้หนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์มิได้ระบุว่า ให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่ผู้ใด แต่ก็ระบุให้ พ. มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นการมอบอำนาจทั่วไป และต่อมาโจทก์ร่วมก็มอบอำนาจให้ พ. ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในข้อหายักยอก เมื่ออ่านประกอบกันโดยตลอดย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาอะไรแล้ว การมอบอำนาจของโจทก์ร่วมที่ให้ พ. ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
หนังสือรับสารภาพเป็นเพียงเอกสารที่จำเลยรับว่า ไม่ได้นำเงินจำนวน 3,266,808 บาท ส่งคืนโจทก์ร่วม ยอมรับว่าได้กระทำผิดจริง และยอมชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ร่วม โดยยินยอมให้ยึดถือที่ดินและรถยนต์ไว้ก่อน ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่า โจทก์ร่วมตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับตามป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5868/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างดำเนินคดีอาญา ส่งผลให้คดีความผิดต่อส่วนตัวระงับตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 341 ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 เป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้อง ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว ระหว่างพิจารณาศาลอุทธรณ์ภาค 5 คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องอ้างว่า จำเลยได้บรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์แล้ว คณะกรรมการโจทก์มีมติให้ถอนฟ้องจำเลยและไม่ติดใจว่ากล่าวคดีนี้อีก จำเลยไม่คัดค้านและท้ายคำร้องลงลายมือชื่อจำเลยไว้ด้วย คำร้องขอถอนฟ้องโจทก์เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญาในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20145/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องและการยอมความในคดีอาญา ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้จำหน่ายคดีฐานยักยอกและฉ้อโกง
ระหว่างกำหนดระยะเวลาฎีกาก่อนจำเลยยื่นฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์แปลความได้ว่าเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องในส่วนความผิดฐานยักยอก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมมิใช่ความผิดอันยอมความกันได้ จึงไม่ระงับ โดยศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและให้จำหน่ายคดีโจทก์ในส่วนความผิดต่อส่วนตัวฐานยักยอกและฐานฉ้อโกงที่โจทก์ขอถอนฟ้อง จึงยังไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่ง จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและให้จำหน่ายคดีโจทก์ในส่วนความผิดฐานยักยอกและฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 และมาตรา 352 วรรคแรก จากสารบบความ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นอันระงับไปในตัว รวมทั้งที่ให้จำเลยคืนเงินแก่โจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7296/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่ไม่สมบูรณ์และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: เงื่อนไขการไม่ประจาน vs. การสละสิทธิ
รายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าฝ่ายโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยตลอดไป แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ร่วม โดยจำเลยจะต้องไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะอีกต่อไป แสดงว่าโจทก์ร่วมจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปพูดให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยได้ประกาศต่อที่ประชุมใหญ่บริเวณหมู่บ้านว่า โจทก์ร่วมไปขโมยปลา และประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้านให้ชาวบ้านนำไข่เน่าไปปาหน้าบ้านโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่า ถ้าจำเลยนำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะ โจทก์ร่วมยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ร่วม กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7243/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยอมความระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายกระทบสิทธิโจทก์ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
ปัญหาว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้ตกลงยอมความกันอันทำให้ความผิดฐานฉ้อโกงระงับไปแล้วหรือไม่ ไม่ปรากฏในคำอุทธรณ์ แต่จำเลยเพิ่งอ้างในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์จึงไม่มีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ข้อเท็จจริงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจ ฟังได้ว่าผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนพอใจ ไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ถือเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
จำเลยลักปลายขั้วสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัวของผู้เสียหายไปกรอกเลขให้ตรงกับรางวัลเลขท้ายประจำงวด นำไปหลอกเอาเงินรางวัลจากผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เอาไปเสียซึ่งเอกสารผู้อื่น และใช้เอกสารสิทธิปลอม แม้จะเป็นการกระทำต่างฐาน แต่เป็นการกระทำเกี่ยวพันต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวเพื่อเอาเงินจากผู้เสียหาย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นเป็นกรรมเดียวหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อเท็จจริงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีของเจ้าพนักงานตำรวจ ฟังได้ว่าผู้เสียหายได้รับชดใช้ค่าเสียหายจนพอใจ ไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญา ถือเป็นการยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
จำเลยลักปลายขั้วสลากเลขท้าย 3 ตัวและ 2 ตัวของผู้เสียหายไปกรอกเลขให้ตรงกับรางวัลเลขท้ายประจำงวด นำไปหลอกเอาเงินรางวัลจากผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เอาไปเสียซึ่งเอกสารผู้อื่น และใช้เอกสารสิทธิปลอม แม้จะเป็นการกระทำต่างฐาน แต่เป็นการกระทำเกี่ยวพันต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวเพื่อเอาเงินจากผู้เสียหาย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นเป็นกรรมเดียวหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม - ปัญหาข้อเท็จจริง & ยอมความก่อนฟ้อง - อำนาจฟ้องระงับ
จำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์ร่วมได้มอบหมายให้จำเลยดำเนินการในลักษณะที่ส่งมอบการครอบครองเงินไปอยู่กับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ก่อนแจ้งความร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ จำเลยและโจทก์ร่วมได้ทำบันทึกข้อตกลงอันเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์จึงระงับไป โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน เมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมโดยแจ้งข้อหาลักทรัพย์ จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหาลักทรัพย์นั้นเป็นฎีกาที่มีเงื่อนไขว่าศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยก่อนว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาดังวินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การวินิจฉัยเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษานี้
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ก่อนแจ้งความร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ จำเลยและโจทก์ร่วมได้ทำบันทึกข้อตกลงอันเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์จึงระงับไป โจทก์ร่วมไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวน เมื่อมีการสอบสวนเพิ่มเติมโดยแจ้งข้อหาลักทรัพย์ จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องในข้อหาลักทรัพย์นั้นเป็นฎีกาที่มีเงื่อนไขว่าศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยก่อนว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาดังวินิจฉัยไว้ข้างต้นแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระอันควรแก่การวินิจฉัยเพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5471/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายฐานบุกรุก และผลของการยอมความระหว่างโจทก์และจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2540 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2540 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกันตลอดมา โดยข้อเท็จจริงตามทางนำสืบได้ความว่าพยานโจทก์เห็นจำเลยบุกรุกในเวลากลางวัน ดังนั้น ความผิดฐานบุกรุกจึงเกิดขึ้นและสำเร็จตั้งแต่ขณะที่จำเลยเข้าไปในที่ดินในเวลากลางวันแล้ว การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินอันเป็นการบุกรุกต่อเนื่องถึงเวลากลางคืนและวันต่อมาทั้งเวลากลางวันและกลางคืน จึงเป็นเพียงผลของการกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางวันเท่านั้น จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกในเวลากลางคืนอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ไม่ได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้นเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 แล้ว คดีนี้จึงเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว เมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องว่าไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยและขอถอนคำแก้ฎีกาในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ถือว่าโจทก์ร่วมและจำเลยยอมความกันแล้ว สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13596/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล: การพิจารณาองค์ประกอบตามสภาพสถานที่เกิดเหตุและการยอมความ
แม้ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนสายหลักและเป็นที่เปิดเผย แต่ตามบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุปรากฏว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นถนนพหลโยธินขาขึ้น มีการสร้างสะพานคอนกรีตข้ามคลองอนุศาสนนันทน์และยังไม่แล้วเสร็จ รถยนต์ยังแล่นสัญจรผ่านสะพานไม่ได้ ส่วนถนนพหลโยธินขาล่องสร้างสะพานเสร็จเรียบร้อยและมีการเปิดการจราจรสวนกันที่บริเวณสะพานข้ามคลองดังกล่าว ทั้งบริเวณเกาะกลางถนนที่จำเลยทั้งสองนำผู้เสียหายที่ 4 มากระทำอนาจาร มีการปลูกหญ้าเต็มเกาะกลางถนน แสดงว่าขณะเกิดเหตุบริเวณถนนที่เกิดเหตุยังไม่เปิดให้บุคคลใดขับรถผ่าน ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ขับรถสัญจรไปมาบนถนนที่เกิดเหตุที่จะให้การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 ของจำเลยทั้งสองได้เกิดต่อหน้าบุคคลผู้สัญจรไปมาทั่วไป การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 จึงไม่ได้เกิดต่อหน้าต่อตาผู้คนจำนวนมากหรือที่มีผู้ชุมนุม ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9337/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการยอมความของผู้เสียหาย ศาลฎีกายืนตามความผิดฐานบุกรุกและสั่งจำหน่ายคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในห้องนอนอันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิด ว่าจำเลยกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง