คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์รักใคร่และความยินยอม: ไม่เข้าข่ายพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร
จำเลยกับผู้เสียหายเป็นคู่รักกันเคยไปเที่ยวด้วยกันหลายครั้ง มีจดหมายรักถึงกันในคืนเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปขอพักที่บ้านผู้อื่นโดยบอกว่าพาเมียมาขอนอนพักด้วยทั้งระหว่างกินข้าวผู้เสียหายกับจำเลยหยอกล้อกัน ดังนี้จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อเป็นภริยาของจำเลย มิใช่เพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายเต็มใจไปด้วย และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีภริยาอยู่ก่อนแล้ว จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 319.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานด้วยอาวุธและการข่มขู่ แม้เจ้าของบ้านไม่ได้ห้ามปราม ก็ถือไม่ได้ว่ายินยอม
จำเลยถือมีดโต้เข้าไปในบ้านผู้เสียหาย แล้วเงื้อมีดโต้ขู่เข็ญจะทำร้ายผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ในบ้านผู้เสียหายในขณะนั้น แม้ผู้เสียหายจะอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปดูโทรทัศน์ในบ้านตนได้ ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรหรือได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายให้เข้าไปได้ เพราะจำเลยมิได้เข้าไปดูโทรทัศน์ ที่ผู้เสียหายมิได้กล่าวห้ามปรามหรือกล่าวคำขับไล่จำเลยก็หาได้แสดงว่า ผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ทุกอนุมาตราประกอบด้วยมาตรา 364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกโดยมีอาวุธและข่มขู่ แม้เจ้าของบ้านไม่ได้ห้าม ถือไม่เป็นการยินยอม
จำเลยถือมีดโต้เข้าไปในบ้านผู้เสียหาย แล้วเงื้อมีดโต้ขู่เข็ญจะทำร้าย ผู้เสียหายกับพวกซึ่งอยู่ในบ้านผู้เสียหายในขณะนั้น แม้ผู้เสียหายจะอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปดูโทรทัศน์ในบ้านตนได้ ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควรหรือได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายให้เข้าไปได้ เพราะจำเลยมิได้เข้าไปดูโทรทัศน์ ที่ผู้เสียหายมิได้กล่าวห้ามปรามหรือกล่าวคำขับไล่จำเลยก็หาได้แสดงว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ทุกอนุมาตรา ประกอบด้วยมาตรา 364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุก: การเข้าไปในบ้านผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือการยินยอม
จำเลยถือ มีดโต้เข้าไปในบ้านผู้เสียหาย แล้วเงื้อมีดโต้ขู่เข็ญจะทำร้ายผู้เสียหายกับพวกซึ่ง อยู่ในบ้านผู้เสียหายในขณะนั้นแม้ผู้เสียหายจะอนุญาตให้ชาวบ้านเข้าไปดู โทรทัศน์ในบ้านตน ได้ก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเข้าไปโดย มีเหตุอันสมควรหรือได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายให้เข้าไปได้ เพราะจำเลยมิได้เข้าไปดู โทรทัศน์ที่ผู้เสียหายมิได้กล่าวห้ามปรามหรือกล่าวคำขับไล่จำเลยก็หาได้แสดงว่าผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายไม่การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐาน บุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 ทุกอนุมาตราประกอบด้วย มาตรา 364.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบ้านที่ปลูกบนที่ดินของบุตร โดยเงินทุนจากบิดามารดา: ไม่ถือเป็นส่วนควบของที่ดิน
ส. ปลูกบ้านพิพาทลงบนที่ดินของผู้ร้องทั้งสามเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน ในขณะที่ผู้ร้องทั้งสามมีอายุไม่เกิน7 ปี ไม่มีรายได้อะไร ต้องอยู่ในการอุปการะเลี้ยงดูของ ส.และจำเลยผู้เป็นมารดาทั้งเงินที่ใช้ปลูกบ้านก็เป็นของส. และจำเลย พอจะถือได้ว่าบ้านพิพาทปลูกโดยผู้ร้องทั้งสามยินยอม กรณีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109บ้านพิพาทไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินอันจะถือว่าเป็นของผู้ร้องทั้งสาม ผู้ร้องทั้งสามจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดยินยอมใช้ชื่อสกุลเป็นชื่อห้าง ต้องรับผิดเสมือนหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของตนเป็นชื่อห้างผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด เพราะคำว่า'ชื่อ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1081 และมาตรา 1082หมายถึงชื่อสกุลด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6688/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้มีการยินยอมภายหลังแต่มีเจตนาในเบื้องต้น
เด็กหญิง ก.ผู้เสียหายอายุ 14 ปีเรียนหนังสือที่กรุงเทพมหานครได้ไปเยี่ยมบิดามารดาที่จังหวัดเลย ได้ออกไปเที่ยวจนดึก เมื่อกลับบ้านบิดาไม่ยอมให้เข้าบ้านจึงไปนอนที่หอพักกับจำเลย คืนนั้นจำเลยจะล่วงเกินผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ยินยอมเช้าวันรุ่งขึ้นผู้เสียหายยินยอมให้จำเลยร่วมประเวณี 2 ครั้งและจำเลยให้ผู้เสียหายพักอยู่ด้วยจนถึงตอนเย็นแล้วพาไปจังหวัดขอนแก่นพักนอนบ้านเพื่อน วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายกับจำเลยยังเที่ยวต่อที่จังหวัดขอนแก่นอีก ไม่ส่งผู้เสียหายกลับจนมารดาผู้เสียหายพาตำรวจมาจับจำเลย พฤติการณ์ถือได้ว่า จำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าเพิ่มเติมและการผูกพันตามการยินยอมของหุ้นส่วนผู้จัดการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 จะไม่มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำประจำเดือนของโจทก์ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2525 เป็นต้นไป เพราะโจทก์ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือปฏิบัติขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ก็ตาม แต่ได้ความว่าเมื่อโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้าในปี พ.ศ.2525 ไว้แล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ตรวจสอบพบว่า โจทก์ได้แสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีต่ำกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้ จึงแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2525 ถึงเดือนธันวาคม 2525 และเดือนมกราคม 2526 ถึงเดือนเมษายน 2526 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 87, 87 ทวิ (7) นั้นเป็นการแจ้งการประเมินภาษีการค้าที่ชอบแล้ว
หลังจากที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มแล้ว การที่ น.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่ม เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มถูกต้องแล้วรวมทั้งสละสิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จะโต้เถียงว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีการค้าเพิ่มรวมตลอดถึงคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5ว่าไม่ชอบนั้นไม่ได้ การกระทำของ น.ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องเสียภาษีการค้าเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ตามที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 เรียกเก็บเพิ่มขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้คำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ผูกพันเมื่อโจทก์ยินยอมแล้ว
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่า มีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ประเมินภาษีแบบเหมาจ่าย แม้ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่หากยินยอมแล้วจะมาอ้างภายหลังไม่ได้
โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของคนงานตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอ้างภายหลังว่าการคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องโดยต้องคำนวณตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินไม่อาจคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายดังที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวได้ เพราะโจทก์ไม่สามารถนำสืบฐานะทางครอบครัวของคนงานของโจทก์ว่ามีภริยาและบุตรหรือไม่ ทั้งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนงานที่ปรากฏชื่อในใบสำคัญการจ่ายเงินมีตัวตนอยู่หรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างไปจริงหรือไม่ เช่นนี้แม้มติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากรเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติในการคำนวณภาษีและไม่มีกฎหมายรับรอง โจทก์ก็ได้ให้ความยินยอมในการคำนวณภาษีตามแนวทางปฏิบัตินั้นแล้ว การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงชอบด้วยกฎหมาย
of 68