พบผลลัพธ์ทั้งหมด 919 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าเกิดภายหลัง-ตัวการร่วมทำร้าย: ศาลลดโทษจำเลยร่วมจากฆ่าผู้อื่นเป็นทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ 2 ทำร้ายผู้ตายโดยการชกต่อย ส่วนจำเลยที่ 3 ใช้ไม้ตีซึ่งล้วนไม่ก่อให้เกิดบาดแผลถึงตายได้ แต่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลที่จำเลยที่ 1 ใช้อาวุธมีดแทง แม้ว่าหลังจากจำเลยที่ 3 ใช้ไม้ตีผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 1 จึงได้เข้าทำร้ายผู้ตายก็ตามแต่ก็ด้วยการเตะ จำเลยที่ 1 หาได้ใช้มีดที่พกติดตัวมานั้นแทงทำร้ายผู้ตายทันทีไม่ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเพียงเจตนาร่วมทำร้ายก่อน ต่อเมื่อเกิดการโต้ตอบเป็นเชิงต่อว่าระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงชักมีดออกมาแทงผู้ตาย เจตนาในการฆ่าผู้ตายของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังเช่นนี้จึงเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธมีดติดตัวตั้งแต่ก่อนหรือแรกเกิดเหตุ ไม่มีเหตุที่จะคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 จะฆ่าผู้ตายจึงไม่อาจรับฟังเป็นโทษแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ว่า มีเจตนาร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยการแบ่งหน้าที่กันทำ คดีต้องฟังเป็นคุณว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาเพียงร่วมในการทำร้าย จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงต้องรับผิดเพียงฐานเป็นตัวการร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก,83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7416/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเทปวีดีโอลามกประกอบธุรกิจให้เช่า ไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลดโทษรอการลงโทษ
การที่จำเลยมีไว้ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันลามกในการประกอบธุรกิจให้เช่า แลกเปลี่ยนและจำหน่ายซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ดังกล่าว อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ย่อมเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ. 2530 มาตรา 6,34 อยู่ในตัว มิใช่ความผิดที่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 19 ปีเศษ เป็นชาวต่างจังหวัดเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างในกรุงเทพมหานครและเรียนหนังสือเป็นนักศึกษานอกโรงเรียนสามัญ ย่อมมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจึงยังไม่มีเหตุอันควรที่จะลดมาตราส่วนโทษให้ แต่จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนมีเหตุอันควรที่จะรอการลงโทษ เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีจะได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป โดยต้องวางโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วยเพื่อให้หลาบจำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6445/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันดาลโทสะจากการถูกข่มเหงทำร้าย: ลดโทษฐานฆ่าโดยเจตนา
จำเลยเห็น ส. กับ บ. ซึ่งยืนอยู่ข้างประตูหลังรถคนละด้านกับคนขับ แต่ก็ยังใช้อาวุธปืนซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงจ้องยิงไปที่รถยนต์ ขณะที่ บ.ซึ่งกำลังจะขึ้นรถยนต์จำเลยย่อมเล็งเห็นผลหรือคาดหมายได้ว่ากระสุนปืนซึ่งจำเลยยิงไป อาจถูก ส.หรือท.ซึ่งนั่งอยู่ภายในรถยนต์ได้เมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงไปถูก ส.เป็นเหตุให้ส.ถึงแก่ความตาย และ ท.ได้รับบาดเจ็บ จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่า ท.โดยเจตนา แม้จะฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดขณะมึนเมาเพราะเสพสุราก็ตาม จำเลยก็จะยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้นไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 66 ก่อนเกิดเหตุ บ.ซึ่งเป็นปลัดอำเภออาวุโสเคยข่มขู่จำเลยซึ่งเป็นปลัดอำเภอหลายครั้ง ในคืนเกิดเหตุ บ.เมาสุราขึ้นไปเรียกจำเลยบนบ้านขณะจำเลยเข้านอนแล้วและด่าจำเลยซึ่งออกมาพบว่า "ไอ้เหี้ยมึงซ่านักหรือ" แล้วยังได้ตบจำเลยอีกเช่นนี้ การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงไปทางรถเปอร์โยต์ หลังจาก บ.เดินลงบันไดไปจนเกิดเหตุร้ายดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมและได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้นเป็นการกระทำผิดโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียงกระทงลงโทษและการรอการลงโทษ: ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาลดโทษและรอการลงโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่เรียงกระทงลงโทษศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เป็นการปรับบทลงโทษให้ถูกต้องและการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก้โทษจำคุกให้น้อยลงจึงไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดและรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยมีเจตนาอวดอ้างหรือไม่ การลดโทษเนื่องจากวัยเยาว์และสภาพแวดล้อม
จำเลยใช้มีดจี้ผู้เสียหายและดึงสร้อยคอจากคอผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายส่งเสียงดัง จำเลยก็พูดว่าไม่ต้องร้อง คืนสร้อยให้แล้ว แล้วจำเลยคืนสร้อยให้ผู้เสียหายไปทั้งจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่าเหตุที่กระทำผิดเนื่องจากอยากลองและนึกสนุก แสดงว่าจำเลยกระทำโดยมิได้มีความประสงค์ต่อทรัพย์ที่แท้จริงแต่เพื่ออวดในทางที่ผิดด้วยความโง่เขลาตามประสาวัยรุ่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธ แต่เจตนาไม่ถึงฆ่า ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
แม้จำเลยใช้ขวานและค้อนเป็นอาวุธฟันและตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง แต่สาเหตุของการทำร้ายไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเกิดเหตุ สาเหตุการทำร้ายเป็นเพราะความไม่พอใจกันในหมู่ญาติ ขณะเกิดเหตุจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ต่างมีอาการเมาสุราและสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เมื่อมีผู้ห้ามต่างก็เลิกรากันไป ทั้งขนาดของคมขวานยาว 3 นิ้ว สันขวานหนาเพียง 1 นิ้วครึ่ง เป็นขวานขนาดเล็กเฉพาะความยาวของขวานรวมทั้งด้ามมีความยาว 14 นิ้วครึ่ง ส่วนขนาดของค้อนไม่ปรากฏและแม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่หางคิ้วซ้ายยาว 1.5 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก บาดแผลที่เหนือท้ายทอยยาว 3 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก กับบาดแผลฉีกขาดที่ริมฝีปากด้านบนยาว 4 เซนติเมตร ส่วนผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณศีรษะด้านหน้ายาว 5 เซนติเมตร ลึกถึงกระโหลกก็ตาม แต่บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 หายเป็นปกติภายใน 10 วัน และ 7 วันไม่ถือว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ขวานฟันและใช้ค้อนตีผู้เสียหายทั้งสองโดยแรง ดังนี้ จำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ไม่ใช่เจตนาฆ่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้อง โทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-กฎหมายใหม่มีผล: ศาลแก้โทษจำคุกเป็นปรับจากบทบัญญัติควบคุมอาคารที่แก้ไข
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริงแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คานก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่ 30พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มีพระราชบัญญัติควบคุบอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฎว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วยมีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไขมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขมีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆอันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้นจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลักโดยกำหนดไว้ว่า ผู้กระทำต้องระวางลงโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ และศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2297/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติความผิดฐานไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุหลังเกิดอุบัติเหตุ และการใช้ดุลยพินิจลดโทษ
จำเลยขับรถพุ่งชนและทับไปบนร่างของผู้ตาย ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียง จนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย อันจะทำให้ได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 และ 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรกเท่านั้น และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ การแทงเพื่อป้องกันตัวจากขาโต๊ะ ศาลลดโทษตามมาตรา 69
จำเลยแทงผู้ตายเพราะผู้ตายใช้ขาโต๊ะตีจำเลยก่อน แต่ไม่ถูกและผู้ตายจะตีซ้ำ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกัน แต่การที่ผู้ตายใช้เพียงขาโต๊ะทำร้ายจำเลย จำเลยสามารถหยุดยั้งผู้ตายด้วยวิธีการอื่นได้ แต่ไม่กระทำ กลับใช้มีดแทงผู้ตายทันทีที่บริเวณหน้าอกอันเป็นอวัยวะสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้เถียงก่อนยิงและการลดโทษตามอายุ: ป้องกันตัวไม่สมเหตุผล & ลดโทษทุกกระทง
การที่จำเลยพูดโต้เถียงกับผู้ตายอันเป็นทำนองท้าทายผู้ตายแสดงว่าจำเลยสมัครใจจะทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย เมื่อจำเลยยิงผู้ตายถึงแก่ความ-ตายจึงไม่สามารถอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยแล้วก็จำต้องลดให้ทุกระทงความผิด แม้ว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อแรก ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยแล้วก็จำต้องลดให้ทุกระทงความผิด แม้ว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อแรก ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้