คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 829 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ และอายุความของดอกเบี้ยจากเช็ค: กรณีไม่ถือเป็นการแปลงหนี้และดอกเบี้ยเกินอายุความ
หนังสือยินยอมให้ผ่อนชำระหนี้เอกสารหมาย ล.2 เป็นเพียงหนังสือของโจทก์ที่มีถึง ป. แจ้งว่าโจทก์ยอมรับการขอผ่อนชำระหนี้ต่าง ๆ ของ ถ.ที่มีต่อโจทก์เป็นรายเดือนตามที่ ป.เสนอขอผ่อนชำระหนี้แทนมา หาใช่เป็นการทำสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับ ป.ลูกหนี้คนใหม่แต่ประการใดไม่ ทั้งหนังสือดังกล่าวก็ไม่ได้พูดถึงหนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์เลย กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์จึงยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่ระงับสิ้นไป
หนังสือรับสภาพหนี้และรับใช้หนี้ของ ท.ที่ทำไว้แก่โจทก์ตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นเพียงหนังสือที่ ท.ทำขึ้นฝ่ายเดียว โดย ท.ยอมตนเข้าเป็นลูกหนี้ของโจทก์เพื่อชำระหนี้ตามเช็คที่ ท.เป็นผู้สั่งจ่ายซึ่ง ถ.และจำเลยนำมาทำสัญญาขายลดไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์กับ ท.มิได้มีการทำสัญญากันเพื่อให้หนี้ของจำเลยที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คระงับสิ้นไป และมาบังคับตามหนี้ดังที่ระบุไว้ในเอกสารหมาย ล.1 แต่อย่างใด กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยมาเป็น ท. หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คของจำเลยจึงไม่ระงับสิ้นไป
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม คือมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดเวลาใช้เงิน
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยค้างส่งเกิน 5 ปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ฟ้องโจทก์ส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างส่งจึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเอาแก่จำเลยนั้น จำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในปัญหานี้ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินและสิทธิในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างลูกหนี้กับผู้รับประโยชน์
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท และทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่ต่อมา ต.ให้จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่า ต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ก็ตาม แต่จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 2 ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 วรรคแรกได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ถึงแก่กรรม
สัญญาค้ำประกันระบุไว้เพียงว่าหาก ต. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ดี ถึงแก่กรรมก็ดี ไปจากถิ่นฐานที่อยู่ หรือหาตัวไม่พบก็ดี หรือมีกรณีอื่นใด อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับชดใช้เงินแล้วจำเลยจะเป็น ผู้รับผิดชอบชดใช้แทนให้จนครบจำนวนโดยไม่ได้มีข้อความ ระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ข้อตกลงที่ว่าหาก ต. ถึงแก่กรรมจำเลยจะชำระหนี้แทนไม่ใช่ข้อยกเว้นที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เมื่อ ต. ถึงแก่ความตาย จำเลยผู้ค้ำประกันจึงยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2937/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการยกข้อต่อสู้ของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ถึงแก่กรรม
สัญญาค้ำประกันระบุไว้เพียงว่าหากต. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ก็ดีถึงแก่กรรมก็ดีไปจากถิ่นฐานที่อยู่หรือหาตัวไม่พบก็ดีหรือมีกรณีอื่นใดอันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับชดใช้เงินแล้วจำเลยจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้แทนให้จนครบจำนวนโดยไม่ได้มีข้อความระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ข้อตกลงที่ว่าหากต.ถึงแก่กรรมจำเลยจะชำระหนี้แทนไม่ใช่ข้อยกเว้นที่จำเลยยอมสละสิทธิที่จะไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้เมื่อต.ถึงแก่ความตายจำเลยผู้ค้ำประกันจึงยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสามขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะลูกหนี้ตั๋วแลกเงิน: เจ้าหนี้ผู้รับรองมีสิทธิไล่เบี้ยหรือไม่
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 937 ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน ลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา 967 วรรคสาม เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองตั๋วเงิน: เจ้าหนี้ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา937ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา967วรรคสามเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2605/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้เมื่อใด? มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลอย่างไร? การคิดดอกเบี้ยหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามที่ได้รับการผ่อนผันตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 โดยตามหลักฐานการชำระหนี้มิได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนตามกำหนดระยะเวลาแต่ผู้คัดค้านก็ยอมรับชำระหนี้ในลักษณะนี้มาโดยตลอดโดยมิได้ทักท้วงย่อมถือได้ว่าผู้คัดค้านได้สละสิทธิที่จะถือเอาประโยชน์จากเงื่อนเวลาแล้ว ประกอบกับเมื่อผู้ร้องนำเงินมาชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2534 ยังเหลือหนี้ที่ต้องชำระอีก 95,460.45บาท แต่ผู้คัดค้านยังไม่ถือว่าผู้ร้องผิดนัด โดยขยายเวลาให้ผู้ร้องนำเงินส่วนที่เหลือมาชำระภายในวันที่ 5 มิถุนายน 2534 หากไม่นำมาชำระภายในกำหนดจึงจะถือว่าผิดนัด เมื่อผู้ร้องไม่ได้นำเงินไปชำระหนี้ที่เหลือภายในวันดังกล่าวเช่นนี้ ถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ตามที่กำหนดไว้ หาใช่ผิดนัดเมื่อครบ 3 ปี ตามกำหนดระยะเวลาเดิมตามที่ผู้คัดค้านอนุมัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ไม่ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ให้ยกเลิกมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 ได้ระบุไว้ไม่ให้กระทบถึงลูกหนี้ซึ่งได้รับอนุญาตให้ผ่อนชำระหนี้ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 และอยู่ในระหว่างผ่อนชำระอยู่ แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ลูกหนี้ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ในการผ่อนชำระหนี้นั้นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6 อยู่อีกต่อไป จึงต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ข้อ 1.3 วรรคสอง ตอนท้าย โดยจะต้องชำระเงินต้นเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ยทันทีนับแต่วันที่ยื่นคำร้องขอชำระหนี้นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการผ่อนผันชำระหนี้โดยไม่เสียดอกเบี้ยตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 6จนผ่อนชำระเงินต้นไปรวมทั้งสิ้น 149,600 บาท ยังคงค้างชำระอยู่อีก95,460.45 บาท จึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2534ฉะนั้นเงินต้นที่ค้างชำระที่ผู้ร้องจะต้องชำระทันทีตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าว จึงต้องคิด ณ วันที่มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 มีผลบังคับคือวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2534มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 12 ดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้มีผลย้อนหลังไปลบล้างหรือยกเลิกผลการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ผู้ร้องได้ปฏิบัติมาแล้ว ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 และที่ 6 ก่อนที่จะผิดนัดแต่อย่างใด ผู้ร้องจะต้องชำระหนี้เฉพาะเงินต้นที่ยังคงค้างอยู่จำนวน95,460.45 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่ผู้ร้องผิดนัดอันเป็นเวลาที่ผู้ร้องไม่ได้รับการผ่อนผันอีกต่อไป คือตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องผิดนัดไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534แต่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2534เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไข จึงต้องบังคับไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถือว่าผู้ร้องผิดนัดตั้งแต่วันที่23 เมษายน 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การเพิกถอนสิทธิในส่วนของลูกหนี้
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114หมายถึงการโอนหรือการกระทำใดๆก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้การที่ผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนหย่ากับลูกหนี้โดยมิได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสไว้ผู้คัดค้านที่1กับลูกหนี้จึงมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกันการที่ผู้คัดค้านที่1โอนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้คัดค้านที่2ย่อมเป็นการโอนส่วนของลูกหนี้ด้วยเมื่อได้โอนภายหลังวันที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดการโอนเฉพาะส่วนของลูกหนี้ย่อมตกเป็นโมฆะจึงหาจำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่2รับโอนทรัพย์สินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์: ศาลอนุญาตได้หากเจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ได้
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่2อ้างในคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ว่าผู้ร้องไม่มีทางบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยที่2ได้จำเลยที่2ไม่โต้เถียงในคำคัดค้านว่าตนมีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องอาจบังคับชำระได้ฟังได้ว่าจำเลยที่2ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่ผู้ร้องอาจยึดมาชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิงผู้ร้องจึงขอเฉลี่ยในทรัพย์ที่ถูกยึดได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสองห้ามศาลอนุญาตให้เข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ถูกยึดทรัพย์หากยังสามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้นั้นมิได้หมายถึงลูกหนี้อื่นแม้จะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาร่วมกับจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการยินยอมของลูกหนี้ การที่คู่สัญญาไม่ได้บอกกล่าวหรือได้รับความยินยอมโดยตรง ย่อมใช้ยันต่อกันไม่ได้
คู่สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างคือจำเลยที่3กับห้างหุ้นส่วนจำกัดช.เมื่อโจทก์อ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดช.ได้ทำหนังสือโอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้โจทก์แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บอกกล่าวการโอนหนี้ไปยังจำเลยที่3โดยทำเป็นหนังสือหรือจำเลยที่3ได้ยินยอมในการโอนเป็นหนังสือการที่ป. และจำเลยที่2ลงชื่อในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่3ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้เอกสารที่โจทก์อ้างจึงใช้ยันแก่จำเลยที่3ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306
of 83