คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9275/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิบังคับคดีเมื่อไม่ดำเนินการภายใน 10 ปี ทำให้ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ที่บัญญัติว่า"คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น" ภายในกำหนดเวลาสิบปีดังกล่าว เจ้าหนี้ต้องดำเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วน ประการแรกต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีประการที่สองต้องแจ้งหรือแถลงให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ประการที่สามต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าเจ้าหนี้มีความประสงค์ขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ แม้ว่าเจ้าหนี้จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและศาลออกหมายบังคับคดีภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าหนี้ก็ยังมีหน้าที่ต้องแถลงนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้ออกขายทอดตลาดแต่เมื่อล่วงเลยระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาแล้ว เจ้าหนี้ยังมิได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้เลย เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อไป เมื่อล่วงเลยระยะเวลาสิบปีแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิเพียงที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่ยึดไว้ให้เสร็จสิ้นไปเท่านั้นแต่จะขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้หรือจำเลยร่วมตามคำพิพากษาในคดีแพ่งอีกหาได้ไม่
เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าหนี้มิได้ดำเนินการบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา เจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดี หนี้ดังกล่าวอยู่ในฐานะเป็นหนี้ที่จะร้องขอให้บังคับคดีไม่ได้ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีลูกหนี้ร่วมและทรัพย์สินอื่นเพียงพอ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร การที่โจทก์รับจำนองที่ดินในราคา 8,000,000 บาท เป็นการแสดงให้เห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีราคาที่แท้จริงสูงกว่า 8,000,000 บาท หากโจทก์ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้ดีก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ย่อมทราบว่าจำเลยที่ 2 มีที่ดินที่จำนองแก่โจทก์อีก 5 แปลง ซึ่งสามารถยึดมาชำระหนี้จำนองได้และยังมีเงินเหลือที่จะนำมาชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีกด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด
แม้หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นหนี้ร่วม และจำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ ให้โจทก์ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่การมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน และโจทก์สามารถเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ได้เต็มจำนวน เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (5) นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่เคยติดต่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8799/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์ทรัพย์สินและหนี้สินของลูกหนี้ร่วม, การสันนิษฐานภาวะล้มละลาย
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร หากโจทก์ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้ดีก่อนฟ้องแล้ว โจทก์ย่อมทราบว่าจำเลยที่ 2 มีที่ดินที่จำนองแก่โจทก์อีก 5 แปลง ซึ่งสามารถยึดมาชำระหนี้จำนองและยังมีเงินเหลือที่จะนำมาชำระหนี้โจทก์ได้อีก ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด
การมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นหนี้ร่วมและจำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ทั้งหมดก็ตามแต่โจทก์สามารถเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ได้เต็มจำนวนเมื่อจำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่เคยติดต่อขอชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใดพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายเดิม แม้มีการปิดคดีชั่วคราว เนื่องจากยังมีอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 มาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2538 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่19 มิถุนายน 2539 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด คดีจึงมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย อนึ่งแม้ตามหนังสือของผู้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง รายงานศาลปิดคดี ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไป กับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 หากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 117เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆไว้เป็นการชั่วคราว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 134 และ 160 กรณียังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จึงร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35ไม่ได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายเดิม แม้มีการปิดคดี หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีอำนาจหน้าที่อยู่
พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2538 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด คดีจึงมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย อนึ่งแม้ตามหนังสือของผู้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง รายงานศาลปิดคดี ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไป กับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 หากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 117 เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้เป็นการชั่วคราว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 134 และ 160 กรณียังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จึงร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ไม่ได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: แม้ศาลสั่งปิดคดี แต่หากเจ้าหนี้ยังต้องสอบสวนทรัพย์สิน คดีอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 กำหนดให้บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 28 เมษายน2538 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดวันที่ 4 ตุลาคม2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายวันที่ 19 มิถุนายน 2538โดยจำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดทำให้คดีมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
แม้การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไปกับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินจนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 ซึ่งหากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 117 เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้เป็นการชั่วคราวและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 134 และ 160 กรณีจึงยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จะร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ไม่ได้รวมทั้งไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาได้ ต้องเป็นอำนาจศาล
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9มิถุนายน 2540 เป็นคำสั่งที่สมบูรณ์มีผลบังคับแล้วหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ในคำร้องดังกล่าว (เอกสารหมาย ร.1) ปรากฏว่า นางอุษณีย์ อยู่แย้ม เกษียนสั่งเป็นคนแรกว่า หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินภายในวันดังกล่าว ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัด ให้ริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ประกาศขายทอดตลาดใหม่
++ ต่อมานางกรองกาญจน์สถิตมิลินทากาศ สั่งว่า ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำ และประกาศขายทอดตลาดต่อไป และนางกรองกาญจน์ยังได้เขียนบันทึกต่อไปว่า ขอประทานเสนอ ท่านอธิบดีเพื่อโปรดทราบ
++ นอกจากเกษียนสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์ดังกล่าวแล้วในคำร้องดังกล่าวยังปรากฏอีกว่า นายสำเร็จ บุษยากรณ์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี ได้ลงลายมือชื่อรับทราบ พร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์แล้ว
++ คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 จึงสมบูรณ์และมีผลว่าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่ขาดในวันดังกล่าว ต้องริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ที่ผู้ซื้อทรัพย์วางไว้และประกาศขายทอดตลาดใหม่อันเป็นการยืนยันให้ผู้ซื้อทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งได้ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งของผู้คัดค้านส่วนนี้ชอบแล้ว
++ แต่คดีนี้ ผู้ซื้อทรัพย์กลับยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก และผู้คัดค้านมีคำสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไป ไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขยายเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาดอยู่ในอำนาจศาล ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาเอง
ในคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ นอกจาก อ. และ ก. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เขียนเกษียนสั่งแล้ว ยังปรากฏว่า ส. รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีได้ลงลายมือชื่อรับทราบพร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงว่าอธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของ อ. และ ก. แล้ว คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน2540 จึงสมบูรณ์ คำสั่งของผู้คัดค้านที่มีคำสั่งว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำและประกาศขายทอดตลาดใหม่จึงชอบแล้ว
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีกการขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไปไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ คำสั่งของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีล้มละลาย: จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ และมีทรัพย์สิน/สิทธิเรียกร้องอื่น จึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ขณะโจทก์ฟ้องคดี จำเลยยังประกอบกิจการอยู่ไม่ได้ ปิดกิจการแต่อย่างใด กรณียังไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข จำเลยยังนำสืบว่า นอกจากโจทก์แล้วจำเลยยังเป็นหนี้บริษัท ธ ประมาณ 8,000,000 บาทแต่จำเลยก็ยังมีสิทธิเรียกร้องหนี้สินจากลูกหนี้ของจำเลยโดยจำเลยได้ฟ้องกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้ชำระค่าก่อสร้างอาคารโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เป็นเงินประมาณ 61,000,000 บาท ซึ่งหากจำเลยชนะคดีและ ได้รับชำระหนี้แม้เพียงบางส่วน จำเลยก็สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึง ฟังได้ไม่แน่ชัดว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7898/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค้ำประกันสะดุดหยุดเมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (3) อันเป็นโทษแก่ลูกหนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 ผู้คัดค้านจึงใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 มีหนังสือทวงหนี้ให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้
of 192