พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยหรือเป็นเบี้ยปรับย่อมขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าเจ้าหนี้เรียกเอาเงินนั้นโดยอาศัยเหตุใด หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามที่กำหนดในสัญญาโดยมิได้คำนึงว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ ย่อมเป็นดอกเบี้ยอันเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับตามอัตราที่เปลี่ยนแปลง ศาลจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านั้นไม่ได้ แต่ถ้าอาศัยข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้เรียกเอาจากลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ย่อมเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ และเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
สัญญากู้เงินระบุว่า ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระเงินกู้และดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ผู้กู้ตกลงเสียเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ของต้นเงินที่ผิดนัด และเอกสารแสดงรายการชำระหนี้มีข้อความในตอนหมายเหตุว่า เริ่มคิดดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ21.00 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นต้นไป แสดงว่าโจทก์อาศัยสิทธิตามสัญญากู้เงินเรียกให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี เนื่องจากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ ดังนี้แม้จะระบุว่าเงินดังกล่าวเป็นดอกเบี้ย แต่ก็เป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2143/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีซ้ำ และการเพิกถอนการรอการลงโทษ กรณีผู้ต้องหาพ้นโทษแล้วกระทำผิดซ้ำ
ตามคำแถลงการณ์ประกอบอุทธรณ์ของจำเลยรับว่า จำเลยเคยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมาก่อน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี แต่ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษจำคุกให้มีกำหนด 2 ปี และจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและมิได้ขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับคดีนี้มาในท้ายฟ้อง อีกทั้งมิได้อุทธรณ์ขอให้บวกโทษก็ตาม ก็เป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก นอกจากนี้ คำว่า "ศาล" ตามมาตราดังกล่าวก็หมายถึงทุกชั้นศาล หาได้มีความหมายเฉพาะศาลชั้นต้นที่มีอำนาจกำหนดโทษตามที่จำเลยฎีกาไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์นำโทษจำคุก 1 ปี ที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดการวางค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ซึ่งรวมถึงค่าทนายความที่ศาลสั่งด้วย เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ โดยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ได้ทันที กรณีไม่ใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนจึงจะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้นอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945-1946/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการสิ้นผลผูกพันเมื่อมีการตกลงระงับข้อพิพาทใหม่ต่อศาล และการแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยนตามกฎหมาย
หลังจากที่มีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้นแล้ว ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มีการตกลงกันใหม่เพื่อระงับข้อพิพาทด้วยการเสนอคดีให้ศาลไทยเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนี้ข้อตกลงเดิมที่ต้องเสนอให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยจึงสิ้นผลผูกพันไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อน
หนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นในต่างประเทศซึ่งมีโนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของต่างประเทศรับรองและยังมีเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศนั้นรับรอง จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนมีคำพิพากษา เป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
หนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นในต่างประเทศซึ่งมีโนตารีปับลิกและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของต่างประเทศรับรองและยังมีเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศนั้นรับรอง จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ได้ทำขึ้นโดยถูกต้อง ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทตามอัตราเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร ถ้าไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าวให้ถือเอาวันสุดท้ายที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเช่นว่านั้นก่อนมีคำพิพากษา เป็นการกำหนดที่ไม่สอดคล้องกับ ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการถอนเงินตามคำสั่งศาลเพิกถอนการอายัดก่อนพิพากษา การถอนเกินจำนวนที่ศาลสั่งต้องคืน
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เลิกห้างจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนพิพากษาตามคำร้องของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินก่อนพิพากษาโดยคิดตามอัตราส่วนการลงหุ้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 2 โดยแบ่งเป็น9 ส่วน และให้เพิกถอนเพียง 4 ส่วนใน 9 ส่วน เป็นเงิน 26,492,000 บาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสใช้เงินหมุนเวียนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1ต่อไปได้ แม้ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 จะแสดงรายละเอียดว่าเงินที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัด 4 ส่วนนั้น เป็นเงิน 48,496,745.08 บาทก็ตามแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเพียง 26,492,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งในยอดเงินดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้เพิกถอนการอายัดนั้นว่าเพียงพอที่จะนำไปใช้หมุนเวียนในกิจการของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถอนเงินเกินกว่าจำนวนที่ศาลสั่งได้แม้ส่วนที่เกินจะเป็นเงินดอกเบี้ยของเงินฝากที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดก็ตาม แต่เงินดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เลิกห้างและมีการชำระบัญชีต่อไป จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินส่วนที่ถอนจากธนาคารเกินไปมาคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของศาลในการแจ้งคำสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้โจทก์ยื่นคำร้องขยายเวลาครั้งที่สองได้
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์แถลงขอคัดสำเนาในวันรุ่งขึ้นต่อมาอีก 1 เดือนโจทก์ยื่นคำร้องว่ายังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแต่กำหนดวันให้น้อยกว่าที่โจทก์ขอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วมิได้ เหตุที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของโจทก์ หากแต่เกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สองก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่สองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673-1674/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากการอายัดเงินชั่วคราว: ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเกี่ยวกับเงินค่าก่อสร้างที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยโดยชอบก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกผู้จะต้องเสียหายเพราะคำสั่งอายัดนั้น ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องในปัญหาที่ว่าจะอายัดเงินดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี กรณีศาลรับคำร้องขอเลื่อนคดีไว้แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของทนายความโจทก์อ้างว่า ไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางกลับจากการทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่เสียกะทันหันและอยู่ไกลร้านซ่อมรถ ไม่สามารถซ่อมรถได้ทัน จึงไปที่ศาลจังหวัดฝางเมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา เพื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กรณีตามคำร้องจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดฝางในขณะนั้นตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 10 ได้ และในความตอนท้ายของมาตรา 10 นี้ บัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นอำนาจของศาลจังหวัดฝางที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของทนายความโจทก์ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้อง ปรากฏว่าศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายความโจทก์ดังกล่าวว่า จัดการให้ ดังนี้ เห็นว่า แม้คำสั่งของศาลจังหวัดฝางจะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ แต่คำสั่งที่ว่า จัดการให้ ก็ย่อมมีความหายเป็นการจัดการให้ตามคำร้อง กล่าวคือ ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้ตามคำร้องโดยปริยาย ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น ที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงย่อมมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ข้อเท็จจริงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายความโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสาร ศาลชั้นต้นจึงสมควรสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีแพ่งที่จำหน่ายคดีเนื่องจากล้มละลาย ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งคืนค่าธรรมเนียม
การที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมด้วย โดยมิได้กำหนดไว้ว่าจะให้ศาลสั่งคืนค่าฤชาธรรมเนียมให้แก่คู่ความทั้งหมดหรือไม่คืน หรือคืนแต่บางส่วน อันแสดงว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้นอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร ซึ่งต่างจากกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องที่มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งให้คืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมด หรือในกรณีที่มีการถอนคำฟ้องหรือได้มีการตัดสินให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่หรือเมื่อคดีได้เสร็จเด็ดขาดลงโดยสัญญาหรือการประนีประนอมยอมความที่มาตรา 151 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนแก่คู่ความได้
โจทก์ยื่นฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การจนถึงได้มีการนัดสืบพยานโจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 25 เนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีเหตุให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้นอันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมคือคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ โดยใช้ดุลพินิจให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167
โจทก์ยื่นฟ้องและจำเลยยื่นคำให้การจนถึงได้มีการนัดสืบพยานโจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 25 เนื่องจากจำเลยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไม่อาจถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีเหตุให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ตั้งแต่ต้นอันจะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนค่าธรรมเนียมคือคืนค่าขึ้นศาลทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ออกจากสารบบความ โดยใช้ดุลพินิจให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นพับจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นคำฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลไม่ชอบวินิจฉัยเอง โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่เพื่อเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างโดยถือว่าสัญญายังไม่เลิกกัน คำฟ้องจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของโจทก์อันเกิดแต่การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 605 และโจทก์ย่อมไม่อาจนำสืบถึงความเสียหายของโจทก์ดังกล่าวได้ เนื่องจากเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้อง เมื่อคดีนี้ไม่มีประเด็นและคู่ความก็มิได้นำสืบกันมา ศาลจะใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเอาเองโดยไม่มีข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานสนับสนุนย่อมเป็นการไม่ชอบ และมีเหตุสมควรให้โอกาสโจทก์ไปฟ้องเป็นคดีใหม่ให้ตรงกับความเป็นจริง