พบผลลัพธ์ทั้งหมด 228 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6498/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นคดีเมื่อวินิจฉัยลดเบี้ยปรับและชดใช้ค่าก่อสร้างทาวน์เฮาส์ ซึ่งขัดต่อประเด็นข้อพิพาทเรื่องค่าเสียหาย
โจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา ขอให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินทั้ง 6 แปลงให้โจทก์และชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 3,000,000 บาท หากไม่สามารถโอนที่ดินได้ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 35,000,000 บาท ซึ่งศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ค่าเสียหายของโจทก์มีหรือไม่เพียงใด ซึ่งมิใช่เป็นการเรียกเบี้ยปรับคืนหรือขอให้ลดเบี้ยปรับแต่อย่างใด เมื่อทาวน์เฮาส์จำนวน 18 ห้อง ที่ ศ. ปลูกสร้างในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายมีข้อตกลงว่าหาก ศ. ผิดสัญญาให้ริบเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้จะขายโดยไม่ต้องใช้ราคาเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่ผู้จะซื้อให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่ผู้จะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 382 เมื่อโจทก์ฟ้องและขอบังคับให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดิน 6 แปลง ตามสัญญาจะซื้อจะขาย หากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายตามสัญญา ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยลดเบี้ยปรับและให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าปลูกสร้างทาวน์เฮาส์เป็นเงินจำนวน 900,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคดี คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5995/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์: ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การครอบครองปรปักษ์, และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์ให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 โจทก์ให้การแก้คำร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ ผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนการได้มาเป็นของผู้ร้อง จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ และผู้ร้องไม่ได้ครอบครองทรัพย์ที่ยึดโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ได้ต่อสู้ว่า ผู้ร้องไม่สุจริตหรือคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่ผู้ร้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ จึงฟังว่าผู้ร้องไม่สุจริต หรือหากผู้ร้องไม่รู้ก็เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ร้อง และคำพิพากษาตามยอมในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยที่ 1 ให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้น เป็นอุทธรณ์นอกเหนือประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ถือได้ว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการที่เชิดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วและต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของผู้ร้องมิใช่ของจำเลยที่ 2 เป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นประเด็นแห่งการร้องขัดทรัพย์ มิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าคำร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในการที่เชิดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วและต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของผู้ร้องมิใช่ของจำเลยที่ 2 เป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่ อันเป็นประเด็นแห่งการร้องขัดทรัพย์ มิใช่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าคำร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4716/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีมรดก: ศาลวินิจฉัยประเด็นสิทธิทายาทแล้ว การฟ้องใหม่ด้วยเหตุเดิมถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินทรัพย์มรดกระหว่าง ต. ผู้จัดการมรดกกับจำเลย โดยอาศัยข้อเท็จจริงเดียวกันกับคดีก่อน แม้อ้างเหตุเพิกถอนว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ก็ด้วยประสงค์ให้ที่ดินกลับสู่กองมรดก และนำมาแบ่งปันแก่โจทก์รวมทั้งทายาทอื่น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคดีนี้และคดีก่อนจึงเป็นข้ออ้างเดียวกัน คือ การโอนที่ดินระหว่าง ต. กับจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยเพราะขาดอายุความ แต่ก็ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีด้วยว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดก การที่ ต. โอนที่ดินให้จำเลยมิใช่การปิดบังยักยอกทรัพย์มรดก และไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ย่อมถือได้ว่าคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ฟ้องกันแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3772/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบุตรชอบด้วยกฎหมายซ้ำ: ศาลวินิจฉัยว่าไม่ใช่ฟ้องซ้ำ หากคดีเดิมยุติด้วยการประนีประนอมและยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ให้ถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลย และให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่โจทก์อันเป็นคำขอเช่นเดียวกับคำขอในคดีเดิม ซึ่งมีประเด็นว่าผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ และมีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองบุตรของจำเลยกับให้จำเลยส่งมอบบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์หรือไม่ แต่ประเด็นในคดีเดิมที่ว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรของโจทก์หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเนื่องจากโจทก์ตกลงไม่ติดใจจดทะเบียนบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และมิได้มีการตกลงยอมรับกันในประเด็นข้ออื่น อันพอจะถือได้ว่าศาลได้มีคำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้ว กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยตกลงยุติคดีไม่ดำเนินการต่อในคดีเดิมเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีในคดีเดิมแล้ว ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ได้บัญญัติถึงเหตุที่ทำให้เด็กอันเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันว่าจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร รวม 3 กรณีด้วยกัน ถึงแม้ว่าคดีเดิมโจทก์ไม่ติดใจจดทะเบียนผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แต่ยังมีกรณีที่ผู้เยาว์ทั้งสองจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ได้โดยคำพิพากษาของศาล การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลพิพากษาว่า ผู้เยาว์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์ทั้งสอง มิใช่การรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ ทั้งคำฟ้องคดีนี้มิใช่คำฟ้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีเดิม อันจะต้องยื่นต่อศาลเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 6 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3688/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สิทธิจำนอง: แม้ไม่บังคับคดีตามคำพิพากษา แต่สิทธิจำนองยังคงมีอยู่
เดิมโจทก์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนธนาคาร น. โจทก์ในคดีก่อนซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนด้วย โจทก์ย่อมเป็นผู้สืบสิทธิที่อยู่ในฐานะเดียวกันกับธนาคาร น. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน เมื่อคดีก่อน โจทก์มิได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม) โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาดังกล่าวอีกต่อไป การที่โจทก์ในฐานะผู้สืบสิทธิของธนาคาร น. โจทก์ในคดีก่อน นำคดีมาฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ถือว่าโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกับโจทก์และจำเลยในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว และประเด็นที่ศาลวินิจฉัยในคดีก่อนเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์เดิมในมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมและสัญญาจำนองโดยวินิจฉัยว่าโจทก์เดิมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและมีสิทธิบังคับจำนอง การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองเดียวกันอีก คดีนี้จึงมีประเด็นเดียวกับคดีก่อนว่า โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระหนี้และบังคับทรัพย์จำนองหรือไม่ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าการจำนองที่ดินพิพาทได้ระงับสิ้นไป สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่ดินยังคงมีอยู่และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์จำนองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากยื่นขยายระยะเวลาหลังพ้นกำหนด และการยื่นคำร้องซ้ำหลังศาลวินิจฉัยแล้ว
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งแรกของจำเลยไม่ปรากฏพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย ถือว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาครั้งต่อมา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาครั้งหลัง อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 มาตรา 144 วรรคหนึ่ง และถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3295/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษา: ข้อผิดพลาดเล็กน้อย vs. การวินิจฉัยจำเลยที่ 2 ที่ศาลยังมิได้ตัดสิน
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยในส่วนวินิจฉัยรับฟังว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ หลังจากทำสัญญาจำเลยชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ แล้วผิดนัดชำระเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน ต่อมาจำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ อันเป็นการวินิจฉัยถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อเท่านั้น มิได้วินิจฉัยถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย จึงไม่อาจแปลไปว่าได้วินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกันหรือแทนกันกับจำเลยที่ 1 แล้ว แม้การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยและพิพากษาถึงจำเลยที่ 2 จะเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) และ (5) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 แต่เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้จำเลยทั้งสองรับผิดต่อโจทก์อันเป็นการให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดโดยศาลมิได้วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดนั้น จึงมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องวินิจฉัยคดีตามพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นฟ้อง หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและอาจเพิกถอนได้
คดีที่ยื่นฟ้องต่อศาลและศาลไม่ได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี นั้น ป.วิ.พ. มาตรา 131 และ มาตรา 133 บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งในวันที่สิ้นการพิจารณา โดยมาตรา 104 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบนั้นจะเกี่ยวกับประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ ทั้งมาตรา 87 (1) ยังบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องนำสืบ อันเป็นความหมายว่า การวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องประเด็นแห่งคดี ศาลต้องอาศัยพยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีในคดีนั้น ๆ ด้วย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ศาลต้องปฏิบัติ และต้องนำมาใช้กับคดีผู้บริโภคด้วย ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมและจำนองกับมีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับเกี่ยวกับทรัพย์จำนองโดยนำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นในคำฟ้องและอ้างส่งเอกสารเป็นพยาน แต่การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นกลับปรากฏตามคำพิพากษาว่า เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ศาลพิจารณาคำเบิกความพยานโจทก์ประกอบพยานเอกสารแล้วรับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้บริการสินเชื่อกับโจทก์และผิดสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าข้อที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดไม่ได้เป็นไปตามประเด็นในคำฟ้องและโดยอาศัยพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในคดีนี้ แต่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ตามพยานหลักฐานซึ่งไม่ใช่พยานหลักฐานอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีนี้เลย การพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ทั้งยังเป็นข้อที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการพิจารณาพยานหลักฐาน อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและมีเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และเป็นผลให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกเพิกถอนไปในตัว
ความผิดระเบียบของกระบวนพิจารณาเพิ่งปรากฏหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่โจทก์จะยื่นคำร้องได้ก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง