พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555-1558/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมสำนวนคดีกู้ยืมเงินเกินอำนาจศาลแขวง: พิจารณาทุนทรัพย์รายสำนวน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่างๆ แยกเป็นรายสำนวน การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสำนวน แม้ภายหลังศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุทำให้จำนวนทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555-1558/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: พิจารณาทุนทรัพย์รายสำนวน แม้รวมสำนวนแล้วเกิน 300,000 บาท
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ในวาระต่างๆ แยกเป็นรายสำนวนไป การพิจารณาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษานั้น ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทเป็นรายสำนวน แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะสั่งให้รวมการพิจารณาคดีทั้งสี่สำนวนเข้าด้วยกัน จนเป็นเหตุให้ทุนทรัพย์ที่รวมเข้าด้วยกันเกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าคดียังอยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตสั่งห้ามจ่ายเช็ค-อำนาจศาลแขวง-การรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ร่วมตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 โดยจำเลยออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.3 เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวบางส่วนให้แก่โจทก์ร่วม ทั้งนี้โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยเข้าครอบครองใช้สอยประโยชน์ในทรัพย์สินที่ตกลงจะซื้อจะขายนับแต่วันทำสัญญา ซึ่งจำเลยได้ออกเช็คตามเอกสารหมาย จ.9 เพื่อชำระหนี้ค่าใช้สอยดังกล่าวให้แก่โจทก์ร่วม การที่โจทก์ร่วมปกปิดข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ร่วมถูกธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ฟ้องและศาลพิพากษาให้ชำระหนี้ 115 ล้านบาทเศษเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2539 และสัญญาจะซื้อจะขายในคดีนี้ตามเอกสารหมาย จ.1 ทำกันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้เพียง 12 วัน น่าเชื่อได้ว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์ร่วมถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้และยึดทรัพย์ซึ่งรวมถึงที่ดินที่จะขายให้แก่จำเลยด้วย อันเป็นเหตุที่ทำให้โจทก์ร่วมไม่สามารถโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะขายตามสัญญาให้แก่จำเลยได้ ทั้งในวันที่ตกลงจะจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญานั้น โจทก์ร่วมและเจ้าของร่วมคนอื่นก็มิได้ไปทำการโอนให้จำเลย เมื่อจำเลยทราบเหตุที่โจทก์ร่วมถูกศาลพิพากษาให้โจทก์ร่วมชำระหนี้และโจทก์ร่วมไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยตามกำหนด การที่จำเลยเห็นว่าการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 นั้น มีปัญหาที่อาจจะทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ดังนั้น การที่จำเลยไปแจ้งให้ธนาคารระงับการจ่ายเงินตามเช็คเอกสารหมาย จ.9 ซึ่งเป็นการสั่งจ่ายในการที่จำเลยได้ครอบครองหรือใช้สอยทรัพย์สินที่จะซื้อขายกันจึงเป็นการระงับการสั่งจ่ายโดยสุจริต แม้ว่าตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 10 วรรคสองจะระบุว่าสำหรับเงินที่ผู้จะซื้อชำระให้แก่ผู้จะขายเป็นรายเดือนเดือนละ 300,000 บาท ตามความในข้อ 6 นั้นไม่อยู่ในข้อบังคับของวรรคแรกคงปล่อยให้ตกเป็นของผู้จะขายตลอดไป เพราะถือว่าเป็นค่าตอบแทนของการเข้าครอบครองและใช้สอยประโยชน์แล้ว ก็หาทำให้จำเลยมีความผิดเพราะแจ้งธนาคารระงับการจ่ายเงินโดยสุจริตไม่
อนึ่ง คดีความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 และต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวงพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22, 22 ทวิ ซึ่งใช้บังคับแก่ศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการด้วยตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ความว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริตเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการเขต 2 รักษาการในตำแหน่งอัยการพิเศษประจำเขต 2 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไม่มีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งอนุญาตให้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง
อนึ่ง คดีความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 นั้น ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17, 25 และต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเว้นแต่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลแขวงพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออธิบดีกรมอัยการหรือพนักอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22, 22 ทวิ ซึ่งใช้บังคับแก่ศาลจังหวัดในท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการด้วยตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่ากรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริต โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ความว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยมีคำสั่งห้ามธนาคารใช้เงินตามเช็คโดยเจตนาทุจริตเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์โดยอธิบดีอัยการเขต 2 รักษาการในตำแหน่งอัยการพิเศษประจำเขต 2 ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชอบที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไม่มีผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งอนุญาตให้อุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็ชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกเสีย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมมาด้วยเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9641/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาคดีลักทรัพย์ในศาลแขวง: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกพันบาท เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 โจทก์ร่วมอุทธรณ์โต้เถียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมฟังได้ว่าจำเลยลักทรัพย์ของโจทก์ร่วม อันเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะได้วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ก็เป็นการไม่ชอบเช่นกัน ดังนี้ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อาจอนุญาตให้โจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีนี้ได้อีก ทั้งศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมได้เพราะเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5222/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง และการนับเวลาเดินทางของผู้ต้องหา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิได้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมายังที่ทำการของพนักงานสอบสวน จากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้าในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนั้นด้วยตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา ระบุวัน เดือน ปี และเวลาจับเป็นวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 13 นาฬิกา วัน เดือน ปี และเวลาควบคุมเป็นวันเดียวกัน เวลา 14.40 นาฬิกา จึงต้องถือว่าวันที่ 26 พฤษภาคม 2551 เวลา 14.40 นาฬิกา เป็นเวลาที่นำตัวจำเลยจากที่จับมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน ซึ่งยังมิได้นับเวลาที่นำตัวจำเลยจากที่ทำการของพนักงานสอบสวนและหรือจากที่ทำการของพนักงานอัยการมาศาลเข้ารวมในกำหนดเวลาด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.55 นาฬิกา จึงเห็นได้ชัดว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาจับกุมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีมีทุนทรัพย์เกิน 300,000 บาท แม้คำขอท้ายฟ้องระบุจำนวนเงินน้อยกว่า ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญากู้เงินซึ่งเป็นโมฆะ และขอเรียกเงินคืน 275,957 บาท อันเป็นจำนวนเงินที่ไม่เกิน 300,000 บาท แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ยังคงค้างชำระต้นเงินตามสัญญากู้ดังกล่าวจำนวน 445,502.50 บาท ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ผลของคำพิพากษาก็คือเมื่อโจทก์ชนะคดีทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระต้นเงินที่ค้างจำนวน 445,502.50 บาท กรณีจึงเป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 เป็นคดีมีทุนทรัพย์เกินกว่า 300,000 บาท ศาลแขวงจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 และ 25 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา แม้มีการแก้ไขคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 1 อ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะ และกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่สาธารณะ ให้โจทก์ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และรั้วกำแพงคอนกรีตออกจากที่ดินดังกล่าว หากไม่รื้อถอนจำเลยที่ 1 จะดำเนินคดีกับโจทก์ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช่ร่วมกันและเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง คือที่ดินจำนวน 1 ไร่ 11 ตารางวา ราคา 267,150 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อศาลแขวงนครปฐมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่แล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคำขอต่อเนื่องดังกล่าวด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ว่า อ่านคำร้องของโจทก์แล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนใดของคำฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำคำร้องฉบับใหม่โดยบรรยายให้ชัดว่าต้องการแก้ไขคำฟ้องเดิมในส่วนใดหรือต้องการเพิ่มเติมคำร้องลงไปในตรงส่วนใดของคำฟ้องเดิมโดยให้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้อง โจทก์มิได้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง จึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา แต่ถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 11 ตารางวา เท่านั้น จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ว่า อ่านคำร้องของโจทก์แล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนใดของคำฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำคำร้องฉบับใหม่โดยบรรยายให้ชัดว่าต้องการแก้ไขคำฟ้องเดิมในส่วนใดหรือต้องการเพิ่มเติมคำร้องลงไปในตรงส่วนใดของคำฟ้องเดิมโดยให้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้อง โจทก์มิได้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง จึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา แต่ถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 11 ตารางวา เท่านั้น จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีภาระจำยอมไม่มีทุนทรัพย์: ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณา ไม่ใช่ศาลแขวง
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งกีดขวางและเปิดทางภาระจำยอมและให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ แม้จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินของจำเลยมิได้ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ แต่ก็มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์อันจะทำให้กลายเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่พิพาทส่วนที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันฟ้องนั้น ค่าเสียหายดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายในอนาคต จึงไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทได้ คดีตามคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้ฟ้องขอเพิกถอนการคัดค้าน แต่มีประเด็นทุนทรัพย์ชัดเจน ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นของโจทก์ จึงเห็นได้ว่า ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยทั้งสองมีจุดประสงค์โต้เถียงแย่งความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลัก ดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์นั้น จึงเป็นผลอันสืบเนื่องมาจากประเด็นที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ คือตามราคาที่ดินที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคแรก นั้นเอง คดีเรื่องนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินพิพาทราคา 100,000 บาทเศษ ตามที่คู่ความตีราคาและตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอผักไห่ (เสนาใหญ่) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ย่อมเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลชั้นต้นชอบที่จะโอนคดีเรื่องนี้ไปให้ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีมีทุนทรัพย์จากข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์ อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่จำเลยที่ 1 สังกัดอยู่เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเป็นเรื่องที่โต้เถียงแย่งความเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลัก ส่วนคำขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำคัดค้านการนำชี้แนวเขตที่ดินของโจทก์เป็นผลอันสืบเนื่อง จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 150 วรรคแรก เมื่อที่ดินพิพาทราคา 100,000 บาทเศษ จึงเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต้องโอนคดีไปให้ศาลแขวงพระนครศรีอยุธยาพิจารณาพิพากษาต่อไป