คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1127/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่นเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่: การวิพากษ์วิจารณ์วิธีการสอบสวนที่เข้าข่ายการดูหมิ่น
กล่าวว่าเจ้าพนักงานตำรวจ++สอบสวนโดยไม่ยุตติธรรม แกล้งบอกให้จดคำให้การไม่ตรงต่อความจริง++เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีผิดตาม ม. 116

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนหลังฟ้องคดี: จำเลยมีสิทธิไม่ตอบคำถาม
เมื่อฟ้องคดีต่อศาลแล้วเจ้าพนักงานก็ไม่มีสิทธิทำการสอบสวนเกี่ยวแก่จำเลยในคดีนั้น ผู้ที่ถูกสอบสวนในฐานะเป็นจำเลย ไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซักค้านพยานจำเลยด้วยคำให้การชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือ
การถามคำพะยานจำเลยเพื่อให้แตกต่างกับคำของจำเลยที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนนั้น ถือว่าเป็นวิธีหนึ่งของการซักค้านพะยาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายของหนีภาษี แม้จะผ่านการสอบสวนแล้ว ยังเป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร
ผู้ที่รับซื้อของไว้จากบุคคลอื่นโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่ลอบหนีภาษีมาแลยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรแล้วนำเอาไปจำหน่ายนั้นต้องมีผิดตามกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานจ้างวานฆ่าและช่วยเหลือทางการสอบสวนคดีฆาตกรรม
เหตุพยาบาทระเบียบการของศาลฎีกากราบคมทูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาใช้พิสูจน์ความผิดจำเลยอื่นได้
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 134/4 วรรคสาม กำหนดไว้ว่าถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 ในเรื่องการสอบถามและจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ต้องหานั้นไม่ได้เท่านั้น แต่หาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ๆ ที่ห้ามมิให้นำคำให้การชั้นสอบสวนของผู้ต้องหาในลักษณะดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของบุคคลอื่นหรือจำเลยอื่นในคดีแต่ประการใดทั้งสิ้น ดังนั้น คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยจึงสามารถนำมาเป็นพยานหลักฐานประกอบในคดีเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างต้องสอบสวนลูกจ้างด้วยความเป็นธรรม หากไม่ทำ อาจถูกฟ้องและเลิกจ้างได้
นายจ้างมีหน้าที่ดำเนินการสอบสวนลูกจ้างที่ถูกกล่าวหาโดยตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนในการพิจารณาว่าจะลงโทษทางวินัยต่อลูกจ้างผู้นั้นหรือไม่ ซึ่งการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงนั้นจะต้องมีกระบวนการที่เป็นธรรมให้โอกาสลูกจ้างที่ถูกกล่าวหาชี้แจงแสดงหลักฐานโดยปราศจากการกลั่นแกล้งบังคับข่มขู่ การที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ดำเนินการดังกล่าวและทำให้ลูกจ้างผู้นั้นได้รับความเสียหาย ถือได้ว่านายจ้างผิดสัญญาจ้างและอาจถูกลูกจ้างฟ้องร้องให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ทั้งยังกระทบต่อระบบการระงับความขัดแย้งหรือข้อพิพาทแรงงานในองค์กรของจำเลยอันเป็นผลให้ลูกจ้างและบุคลากรหรือบุคคลอื่นที่รับทราบขาดความไว้วางใจในการบริหารจัดการองค์กรของจำเลย เมื่อโจทก์มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายภาคพื้นอินโดจีนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของจำเลยและมีผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากได้รับมอบหมายจากจำเลยให้สอบสวนกรณีการแจกรางวัลชุดโฮมเธียเตอร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับ พ. ลูกจ้างที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ การสอบสวนของโจทก์จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง โจทก์มีหน้าที่ดำเนินการสอบสวน พ. ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมปราศจากการกลั่นแกล้งบังคับข่มขู่รวมทั้งเปิดโอกาสให้ พ. ชี้แจงแสดงหลักฐาน แต่โจทก์ดำเนินการสอบสวนโดยไม่รับฟังคำชี้แจงของ พ. และไม่นำเสนอหลักฐานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ทั้งที่เป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. แจกรางวัลชุดโฮมเธียเตอร์ให้แก่ร้าน ศ. ไปโดยลำพัง โดย พ. ไม่ได้เบียดบังเอารางวัลชุดโฮมเธียเตอร์ไป และโจทก์กลั่นแกล้งกล่าวหา พ. ว่าเป็นผู้กระทำผิดแล้วให้เขียนใบลาออก ทำให้ พ. ไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้บริหารของจำเลยย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าจำเลยอาจถูกฟ้องร้องให้รับผิดจากการกระทำของโจทก์ได้ และเล็งเห็นผลได้อีกว่าจำเลยอาจได้รับผลกระทบต่อระบบการบริหารจัดการข้อพิพาทแรงงานและระบบการบริหารงานบุคคลในองค์กร กรณีมิใช่เป็นความขัดแย้งหรือการกลั่นแกล้งที่เป็นเพียงเรื่องส่วนตัวระหว่างลูกจ้างด้วยกันที่ไม่มีผลกระทบต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้าง กรณีดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่งเป็นข้อยกเว้นที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายส่งผลถึงการมีอำนาจฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยอยู่ระหว่างการคุมความประพฤติในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกและต้องคำพิพากษาให้จำคุก โดยจำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุก 1 ปี รอการลงโทษ 2 ปี รายงานตัว 3 เดือนต่อครั้ง บำเพ็ญประโยชน์ 20 ชั่วโมง ซึ่งยังไม่ครบกำหนด และจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้น โดยโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำผิดเงื่อนไขในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้น และอยู่ในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยกคดีดังกล่าวขึ้นพิจารณา โจทก์เพิ่งยกข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3
ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว เมื่อมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่าต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง และไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด และข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้องว่า คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2860/2554 ของศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น ศาลชั้นต้นรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างต้องหาหรือถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ดังนี้การที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนจำเลยโดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อน และย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกเงินบริจาคของโรงเรียน ผิดต่อหน้าที่ราชการ และความชอบด้วยกฎหมายในการสอบสวน
แม้ตามหนังสือที่ ศธ 0806/1917 มีใจความสำคัญว่า กรมสามัญศึกษาได้แจ้งการสนับสนุนให้โรงเรียนรับบริจาคเงินเพื่อการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการบริจาคโดยมีวัตถุประสงค์หรือไม่มีวัตถุประสงค์ก็ตาม ทั้งนี้ การรับบริจาคนั้นต้องไม่มีเงื่อนไขในการรับนักเรียน และหนังสือที่ ศธ 0804/5175 กรมสามัญศึกษาซักซ้อมความเข้าใจเรื่องการรับบริจาคเงินและสิ่งของในช่วงระยะเวลาที่โรงเรียนรับสมัครนักเรียนเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระบุว่า การรับบริจาคเงินและสิ่งของควรดำเนินการโดยไม่นำมาเป็นเงื่อนไขหรือข้อต่อรองในการรับนักเรียนเข้าเรียน ไม่ว่าจะเป็นการรับนักเรียนกรณีพิเศษ หรือรับนักเรียนในพื้นที่บริการอันเห็นได้ว่าการรับบริจาคโดยมีเงื่อนไขในการรับนักเรียนเป็นสิ่งที่ไม่ควรดำเนินการ แต่ตามหนังสือที่ ศธ 0880/1523 ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์มีหนังสือสั่งการไปยังโรงเรียนในสังกัดว่า ถ้าโรงเรียนได้รับเงินบริจาคโดยมีเงื่อนไขในการรับนักเรียนเข้าเรียนก็ขอให้โรงเรียนคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้ปกครองทั้งหมด เงินที่มีผู้บริจาคโดยมีเงื่อนไขฝ่าฝืนต่อหนังสือซักซ้อมความเข้าใจของกรมสามัญศึกษา จึงเป็นเงินของทางราชการเพราะเหตุว่ายังมีหน้าที่ต้องคืนให้แก่ผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้บริจาค และแม้ทางปฏิบัติสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียน ส. เป็นผู้บริจาคเงินดังกล่าวโดยออกใบเสร็จรับเงินให้ในนามของตนเองแทนโรงเรียนก็ไม่ทำให้เงินดังกล่าวไม่เป็นเงินของทางราชการ ซึ่งอยู่ในหน้าที่จัดการหรือรักษาของจำเลยเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการและกรมสามัญศึกษา การที่จำเลยรับเงินไว้ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานและกิจการการศึกษาของโรงเรียนตลอดจนบริหารงานและควบคุมดูแลด้านการเงินทุกประเภทของโรงเรียนให้เป็นไปโดยเรียบร้อย การปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในการรับและเก็บรักษาเงินบริจาคดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติราชการตามกฎหมาย การที่จำเลยมิได้นำเงินเก็บรักษาไว้ตามระเบียบจนกระทั่งมีการร้องเรียนและตรวจสอบพบการกระทำของจำเลยจึงเป็นการเบียดบังเงินบริจาคของโรงเรียน ส. ที่อยู่ในหน้าที่จัดการหรือรักษาของจำเลย ไปโดยทุจริต อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147
ป.วิ.อ. มาตรา 133 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมาย ดังนั้น การสอบสวนจึงกระทำในสถานที่ใดๆ ก็ได้ ไม่จำต้องเป็นที่สถานีตำรวจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4283/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนที่ไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ทำให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มีหลักการว่า ผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง มิใช่อาชญากรปกติ พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงกำหนดให้มีกระบวนการคัดแยกผู้เสพยาเสพติดไปดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพแทนการที่จะให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนสรุปสำนวนเสนอพนักงานอัยการฟ้องศาลเพื่อลงโทษผู้นั้นเหมือนอย่างผู้กระทำความผิดอื่น ๆ และเมื่อผู้เสพยาเสพติดได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจนครบถ้วนตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูสมรรถภาพ และผลการฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นที่พอใจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้ว มาตรา 33 บัญญัติว่า "...ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 และให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพมีคำสั่งปล่อยตัวผู้นั้นไป..." แต่ถ้าผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพยังไม่เป็นที่พอใจ มาตรา 33 วรรคสอง บัญญัติให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพรายงานความเห็นไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการพิจารณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป โดยมีมาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดว่า ต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก หรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด จึงเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ได้บังคับให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาซึ่งเป็นบุคคลที่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ไปศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 22 โดยให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ตรวจวินิจฉัย ขั้นตอนดังกล่าวจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แต่ความปรากฏตามฎีกาของโจทก์โดยจำเลยไม่ได้แก้ฎีกาให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งส่งตัวผู้ต้องหาไปควบคุมเพื่อการตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าพฤติการณ์เป็นภัยร้ายแรง ไม่อนุญาต ข้อเท็จจริงจึงรับฟังเป็นยุติว่า คดีนี้ไม่ได้มีการส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดเพื่อให้จำเลยได้รับประโยชน์ในการที่จะได้รับการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 เท่ากับว่าไม่มีการสอบสวนคดีนี้มาก่อนย่อมส่งผลให้พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
of 26