คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญากู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินเพื่อค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องเกิดจากสัญญากู้หลัก ไม่ใช่สัญญากู้ค้ำประกัน
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน 500 บาท โดยให้จำเลยเขียนสัญญากู้ 500 บาทฉบับหนึ่ง แล้วให้เขียนสัญญากู้อีกฉบับหนึ่งว่าจำเลยกู้ 20,000 บาท คือฉบับหมาย จ.1 เพื่อค้ำประกันสัญญากู้ฉบับแรกดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำสัญญากู้หมาย จ.1 มาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยต้องรับผิด เพราะโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้หมาย จ.1 และโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาเรียกร้องตามสัญญากู้หมาย จ.1 เลยการที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงิน 20,000 บาทตามสัญญากู้หมาย จ.1. เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้หมาย จ.1ว่ามีอยู่อย่างไร และเป็นการนำสืบว่า มูลหนี้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินโจทก์นั้นหามีไม่ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (อ้างฎีกาที่ 781/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เพื่อค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องเกิดจากสัญญากู้จริงเท่านั้น ไม่ใช่สัญญากู้ค้ำประกันที่ไม่มีการรับเงิน
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน 500 บาท โดยให้จำเลยเขียนสัญญากู้ 500 บาทฉบับหนึ่ง แล้วให้เขียนสัญญากู้อีกฉบับหนึ่งว่าจำเลยกู้ 20,000 บาท คือฉบับหมาย จ.1 เพื่อค้ำประกันสัญญากู้ฉบับแรกดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำสัญญากู้หมาย จ.1 มาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเพราะโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้หมาย จ.1 และโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาเรียกร้องตามสัญญากู้หมาย จ.1 เลยการที่จำเลยนำสืบว่า ไม่ได้รับเงิน 20,000 บาทตามสัญญากู้หมาย จ.1. เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้หมาย จ.1 ว่ามีอยู่อย่างไร และเป็นการนำสืบว่า มูลหนี้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินโจทก์นั้นหามีไม่ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (อ้างฎีกาที่ 781/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: หลักฐานการกู้ยืม, การเบิกเงิน, และดอกเบี้ยทบต้น
ฟ้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป 10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้ พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้ว การเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลผูกพัน แม้จะไม่มีหลักฐานการเบิกเงินเพิ่มเติม และศาลรับฟังเอกสารแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความ
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่าจำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้วการเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปแล้วและยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมในสมรส: พยานสัญญากู้ถือเป็นการให้สัตยาบันและก่อหนี้ร่วม
แม้หนี้ตามสัญญากู้จะมีมูลหนี้เนื่องมาจากชายาโจทก์นำเงินมาฝากให้จำเลยหาดอกผล จำเลยก็มีหนี้ผูกพันที่จะต้องคืนเงินจำนวนนี้ให้โจทก์ ฉะนั้น เมื่อจำเลยทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน จำเลยจึงมีความผิดที่จะต้องชดใช้เงินตามสัญญากู้
จำเลยก่อหนี้ขึ้นในระหว่างสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องเซ็นชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ จึงถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นและให้สัตยาบันหนี้สินรายนี้ และเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อประกันสัญญากู้ ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่ได้ออกเช็คเพื่อชำระหนี้
จำเลยออกเช็คเพื่อใช้แทนสัญญากู้. ไม่ใช่ออกเช็คเพื่อชำระหนี้. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบการชำระดอกเบี้ยจากพยานบุคคล แม้ไม่มีหลักฐานการมอบที่ดินเป็นประกัน
แม้ในสัญญากู้จะเขียนว่า ได้เอาที่ไร่ให้โจทก์ไว้เป็นประกัน โดยไม่ปรากฏว่าได้มอบที่ไร่ให้ทำกินต่างดอกเบี้ยก็ตามจำเลยก็นำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบการชำระเงินดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานเพิ่มเติมหลังศาลอนุญาตพยานฝ่ายตรงข้าม และหน้าที่ในการนำสืบเมื่อจำเลยต่อสู้ว่าสัญญากู้เป็นปลอม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ถ้าศาลยอมรับฟังพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่สืบภายหลัง โดยที่จำเลยไม่ได้ถามค้านโจทก์ไว้ขณะโจทก์เบิกความคู่ความที่ได้นำพยานสืบก่อนจะเรียกพยานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกก็ได้ ถ้าโจทก์เพียงแต่ยื่นคำแถลงคัดค้านว่าคำสั่งศาลคลาดเคลื่อนด้วยกฎหมาย ขอโต้แย้งไว้ให้ศาลสูงวินิจฉัย โจทก์ไม่ได้ขอให้เรียกพยานที่เกี่ยวข้องของโจทก์มาสืบตามสิทธิที่มีอยู่ ดังนี้ จะว่าศาลไม่อนุญาตให้โจทก์นำพยานที่เกี่ยวข้องมาสืบอีกหาได้ไม่
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้ไป จำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากู้ไว้กับโจทก์ โจทก์เอาสัญญากู้ซึ่งไม่มีข้อความอื่น นอกจากจำเลยเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ให้ ป.มากรอกข้อความแล้วเอามาฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยสู้ว่าสัญญากู้นั้นปลอม โจทก์จึงต้องนำสืบก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้และการค้ำประกัน, การเบิกเงินเกินบัญชี, และดอกเบี้ย
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคาร และจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกันลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้ และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว เชื่อว่าลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ ถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้ ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินบัญชีสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร การเบิกเงินเกินกว่านี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัดซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้ เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา (ฎีกาที่ 658 - 659/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้, สัญญาค้ำประกัน, เบิกเกินบัญชี, อายุความดอกเบี้ย, การพิสูจน์ลายมือชื่อ
สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของธนาคาร. และจำเลยได้ลงชื่อในสัญญานั้นด้วย. เมื่อศาลได้พิจารณาสัญญาดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกับลายเซ็นตัวอย่างที่จำเลยมอบให้ธนาคารไว้และกับลายเซ็นของจำเลยในใบแต่งทนายแล้ว. เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของบุคคลคนเดียวกัน ประกอบกับมีพยานบุคคลมายืนยันด้วย. สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันจึงไม่ใช่สัญญาปลอม.
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในวงเงิน 50,000 บาท. ต่อมาจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีผลักใช้หนี้เป็นคราวๆ แสดงถึงฐานะของจำเลยว่ามีทางจะชำระหนี้ได้. ธนาคารจึงยอมให้เบิกเงินเกินกว่าสัญญากู้อันเป็นประเพณีของธนาคาร. การเบิกเงินเกินบัญชีนี้ถือว่าเป็นเรื่องของบัญชีเดินสะพัด.ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ. จำเลยเบิกเงินไปมากกว่าวงเงินที่ทำสัญญากู้ไว้ ต้องรับผิดในยอดเงินที่เกินนั้น. ส่วนผู้ค้ำประกันคงต้องรับผิดในวงเงินเท่าที่ทำสัญญาค้ำประกันไว้เท่านั้น.
อายุความใช้สิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง. เมื่อจำเลยไม่ได้ยกเอาอายุความขึ้นต่อสู้.เรื่องดอกเบี้ยนี้ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน. ธนาคารจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเกินกว่า 5 ปี. ทั้งนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นได้เฉพาะที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ผิดนัด. เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้ว ต่อแต่นั้นไปเจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้. คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยตามธรรมดา(ฎีกาที่ 658-659/2511).
of 40