พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันสัญญาจำนองและค้ำประกันจากเจตนาจดทะเบียนแก้ไขวัตถุประสงค์ และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 ต่อมาอีก 3 วัน คือวันที่ 29 พฤษภาคม2521 จำเลยที่ 2 ได้มาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเพื่อมาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรแก่โจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อต่อมาภายหลังคือวันที่ 1 มิถุนายน 2521นายทะเบียนรับจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองให้ตามที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนแล้ว แม้วัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองนั้น ยังไม่ได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ตามฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจถือเอาประโยชน์จากการขอจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในข้อกิจการจำนองของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวได้แล้ว ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1023 สัญญาจำนองผูกพันจำเลยที่ 2 ได้.
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ มีจำเลยที่ 4ลงชื่อและประทับตราห้างจำเลยที่ 2 ในขณะทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการจากจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยที่ 3 แล้ว แสดงว่าหลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่ และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิม โดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4 ให้แสดงออกเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามห้างจำเลยที่ 2ซึ่งโจทก์มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงจำเลยที่ 2 จึงจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างต่อโจทก์ด้วย.
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ มีจำเลยที่ 4ลงชื่อและประทับตราห้างจำเลยที่ 2 ในขณะทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการจากจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยที่ 3 แล้ว แสดงว่าหลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่ และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิม โดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4 ให้แสดงออกเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามห้างจำเลยที่ 2ซึ่งโจทก์มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงจำเลยที่ 2 จึงจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างต่อโจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4677/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันของสัญญาจำนองและค้ำประกันต่อจำเลยจากการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์และการยินยอมให้ผู้อื่นลงนาม
จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2521 ต่อมาอีก 3 วัน คือวันที่ 29 พฤษภาคม2521 จำเลยที่ 2 ได้มาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองเพื่อมาทำสัญญาจำนองเครื่องจักรแก่โจทก์ตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อต่อมาภายหลังคือวันที่ 1 มิถุนายน 2521นายทะเบียนรับจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองให้ตามที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนแล้ว แม้วัตถุประสงค์ข้อกิจการจำนองนั้น ยังไม่ได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาก็ตามฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็อาจถือเอาประโยชน์จากการขอจดทะเบียนเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ในข้อกิจการจำนองของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวได้แล้ว ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1023 สัญญาจำนองผูกพันจำเลยที่ 2 ได้. สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้แก่โจทก์ มีจำเลยที่ 4ลงชื่อและประทับตราห้างจำเลยที่ 2 ในขณะทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการจากจำเลยที่ 4 เป็นจำเลยที่ 3 แล้ว แสดงว่าหลังจากจำเลยที่ 3 เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการสืบต่อจากจำเลยที่ 4 แล้ว จำเลยที่ 3 ยังคงยอมให้จำเลยที่ 4 ครอบครองตราของห้างอยู่ และเมื่อจะทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ก็ยินยอมให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการเสมือนยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตามเดิม โดยจำเลยที่ 3 มิได้ทักท้วงว่ากล่าวหรือแจ้งให้โจทก์ทราบพฤติการณ์บ่งชัดว่าจำเลยที่ 3 เชิดจำเลยที่ 4 ให้แสดงออกเป็นตัวแทนของตนในการทำสัญญาค้ำประกันในนามห้างจำเลยที่ 2ซึ่งโจทก์มิได้ล่วงรู้ข้อความจริงจำเลยที่ 2 จึงจำต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดในหนี้ของห้างต่อโจทก์ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องระบุชัดเจนถึงผู้ค้ำประกันและหนี้ที่ค้ำ หากไม่ชัดเจน ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีแต่จำเลยที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันไว้เท่านั้น โดยข้อความในสัญญามิได้ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของผู้ใดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันนั้นมาให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งข้อความในสัญญาก็กล่าวถึงการค้ำประกันต่อบริษัทโดยตลอด มิได้บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 เจตนาจะค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ย่อมไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องระบุชัดเจนถึงผู้ค้ำประกันและผู้รับประกัน มิฉะนั้นใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีแต่จำเลยที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันไว้เท่านั้น โดยข้อความในสัญญามิได้ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของผู้ใดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันนั้นมาให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งข้อความในสัญญาก็กล่าวถึงการค้ำประกันต่อบริษัทโดยตลอด มิได้บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 เจตนาจะค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ย่อมไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อไม่ถือเป็นการระงับหนี้ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล
การที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ต่อมาผู้เช่าซื้อทำหนังสือยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงยอมผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นงวด ดังนี้เป็นความตกลงในการชำระหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาชำระหนี้และจำเลยเงินที่จะชำระแก่กันเป็นงวด ๆ เมื่อหนี้ดังกล่าวยังไม่ได้ชำระโดยสิ้นเชิง หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับฉะนั้นสัญญาค้ำประกันเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวก็ยังไม่สิ้นผลผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ ฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ กรณีสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกัน
จำเลยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอม เมื่อเอกสารที่ฟ้องไม่ใช่เอกสารปลอม ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่ากระทำผิดอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเพื่อประกันตัวคดีอาญา ไม่ถือเป็นหนี้เดิมแปลงเป็นหนี้สัญญาเช่า/กู้ยืม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้เงินและค้ำประกัน ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ตามฟ้องไปจากโจทก์แต่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเช่าหลักทรัพย์ที่ดินของโจทก์เพื่อประกันตัวนาย ว. ญาติของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เรียกค่าตอบแทนและให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโดยให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้เพื่อเป็นประกันในการที่โจทก์ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวนาย ว. ในคดีอาญาต่อศาล การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำสัญญากู้เงินและค้ำประกันต่อโจทก์ก่อนแล้วโจทก์จึงไปยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัวนาย ว. นั้น ขณะทำสัญญากู้เงินและค้ำประกันดังกล่าว สัญญาประกันตัวนาย ว. ยังไม่ได้ทำและความเสียหายอันเกิดจากสัญญาประกันตัวนาย ว. ยังไม่ได้เกิดขึ้น ทำให้ไม่มีมูลหนี้เดิมที่จะแปลงเป็นมูลหนี้ในสัญญากู้เงินได้ จึงไม่เป็นการแปลงนี้ อีกทั้งยังไม่รู้ว่าศาลจะตีราคาประกันเท่าใด จึงเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนและไม่อาจทำสัญญากู้เงินเพื่อประกันหนี้นั้นได้ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ผู้กู้เงินและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันก่อนสัญญาประกันตัวเป็นโมฆะ: ไม่มีหนี้เดิมและหนี้ไม่แน่นอน
จำเลยทั้งสองเช่าหลักทรัพย์ น.ส.3 ที่ดินของโจทก์เพื่อประกันตัว ว. พี่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกฟ้องในข้อหาฉ้อโกงประชาชนต่อศาล โดยโจทก์เรียกค่าตอบแทนและให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไว้ เพื่อเป็นประกันในการที่โจทก์ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว ว. ซึ่งขณะจำเลยที่ 1 และที่ 2ทำสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว สัญญาประกันตัว ว.ยังไม่ได้ทำและความเสียหายยังไม่เกิดขึ้น ไม่มีหนี้เดิมที่จะแปลงเป็นมูลหนี้ในสัญญากู้เงินได้ จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ อีกทั้งยังไม่รู้ว่าศาลจะตีราคาประกันเท่าใด จึงเป็นหนี้ที่ไม่แน่นอนและไม่อาจทำสัญญากู้เงินเพื่อประกันหนี้นั้นได้ ดังนั้นจำเลยที่ 1ผู้กู้เงินและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี
การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้
สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้
จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้, อายุความ, สัญญาค้ำประกัน, และอำนาจฟ้องแย้งในคดีแพ่ง
ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกเงินค่าสุราสำรอง โจทก์ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ค่าส่วนแบ่งกำไรสุทธิและได้ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ไปแล้วประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนจึงมีว่าจำเลย (โจทก์ในคดีนี้) มีสิทธิหักกลบลบหนี้หรือไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่จำเลยที่ 1 ชำระไม่ครบถ้วนตามสัญญา จำเลยให้การว่าชำระแก่โจทก์ครบถ้วนตามสัญญาแล้วประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยที่ 1 ชำระเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้โจทก์ครบถ้วนหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นคนละประเด็นกัน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เข้ามาดำเนินการในโรงงานโดยมีข้อตกลงในการผลิตและจำหน่ายสุรา ค่าตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไรสุทธิและข้อตกลงอื่น ๆ สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิมิใช่ค่าเช่า ทั้งมิได้กำหนดจำนวนเงินกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จึงต้องใช้อายุความในบททั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 ได้ตอบหนังสือทวงถามของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1พร้อมจะจ่ายเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิที่ยังส่งไม่ครบถ้วน พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาเช่า แต่มีเงื่อนไขว่าขอให้รอฟังผลคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีที่ตนเป็นโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรในปัญหาเรื่องการคำนวณกำไรสุทธิก่อน แสดงว่าจำเลยที่ 1 เห็นว่าการคำนวณส่วนแบ่งกำไรสุทธิของตนนั้นถูกต้องแล้ว มิได้ยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามที่ทวงถามแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ว่าจะนำหนังสือค้ำประกันมามอบให้โจทก์นั้น ก็เป็นเพียงคำเสนอให้โจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนากระทำผิดสัญญาเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ซึ่งจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 อย่างไรก็ตาม หนังสือดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความในเงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนเกิน 10 ปี และ 5 ปี ซึ่งขาดอายุความในวันทำหนังสือดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 192 จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิที่จะยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดในหนี้จำนวนดังกล่าวไม่ ทั้งหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิและดอกเบี้ยส่วนที่ขาดอายุความนั้น แม้จำเลยจะสามารถยกขึ้นต่อสู้กับโจทก์ได้ก็ตาม แต่อายุความย่อมไม่ตัดรอน การหักกลบลบหนี้โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ได้ถ้าเวลาที่อาจจะหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1 ได้นั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์ได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังจำเลยที่ 1 การแสดงเจตนาของโจทก์จึงมีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่ 23 มกราคม 2523ซึ่งเป็นเวลาที่อาจหักกลบลบหนี้ได้เป็นครั้งแรก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 342 วรรคสอง ในวันดังกล่าวเมื่อหักกลบลบหนี้กันแล้ว จำเลยที่ 1 ยังคงเป็นหนี้เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิของปี 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ แม้หนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้โจทก์บางส่วนจะขาดอายุความซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่เป็นผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็ตาม แต่เมื่อหนี้ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ขาดอายุความมีเกินกว่าวงเงินที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดเต็มตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ได้ฟ้องโจทก์เรียกเงินค่าสุราสำรองที่ศาลแพ่งคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1มาฟ้องแย้งเรียกเงินค่าสุราสำรองจำนวนเดียวกันกับที่ได้ฟ้องในคดีดังกล่าวในคดีนี้อีก ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ในส่วนนี้จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ส่วนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรสุทธิที่เป็นส่วนแบ่งของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จำเลยที่ 1 ชำระไปแล้ว จึงเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่ชำระแทนโจทก์ โจทก์จะมีหน้าที่เสียภาษีหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิมาเรียกร้องให้โจทก์ชำระเงินในส่วนนี้ และไม่อาจรับช่วงสิทธิจากกรมสรรพากรและกระทรวงการคลังมาเรียกร้องได้อีกเช่นเดียวกันจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งได้ สัญญาค้ำประกันข้อ 2 มีใจความว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลา หรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้นทั้งการที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยในทันทีที่หนี้ถึงกำหนดชำระไม่ใช่การผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้โจทก์นำเงินค่าสุราสำรองมาหักกลบลบหนี้ตามข้อเสนอของโจทก์ แต่โจทก์ใช้สิทธิหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน