พบผลลัพธ์ทั้งหมด 506 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอม สัญญาผูกพันคู่กรณี แม้จดทะเบียนภายหลังก็ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จะขอจดทะเบียนใช้อักษรจีนคำว่า "เล่างี่ชุน" เป็นเครื่องหมายการค้า กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะได้ใช้สิทธิจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสิทธิตามสัญญาอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้ง สิทธิโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์จำเลยต่างมีสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จะขอจดทะเบียนใช้อักษรจีนคำว่า 'เล่างี่ชุน' เป็นเครื่องหมายการค้า กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้ทั้งสองฝ่ายได้ ดังนั้นแม้จำเลยจะได้ใช้สิทธิจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสิทธิตามสัญญาอยู่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้ง สิทธิโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าที่ดินหลังสัญญาประนีประนอม: สิทธิใหม่ของผู้ร้องไม่ผูกพันกับสัญญาเดิม
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยรื้อถอนสิ่งก่อสร้างและออกไปจากที่พิพาทแล้วต่อมาโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกระทรวงการคลังเจ้าของที่พิพาทกระทรวงการคลังจึงได้ยกเลิกสิทธิการเช่าของโจทก์ และอนุญาตให้จำเลยมีสิทธิแทนโจทก์แต่จำเลยตายเสียก่อน ผู้ร้องจึงได้รับอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิเช่าแทนจำเลยดังนี้ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิขึ้นใหม่ไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์จำเลย ผู้ร้องจึงมิใช่บริวารของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ตกเป็นโมฆียะ แม้ทำสัญญาเนื่องจากเกรงกลัวถูกฟ้องร้อง
ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะเกรงว่าจะถูกฟ้องเสียชื่อเสียงขาดความไว้วางใจ เป็นการเนื่องมาจากการใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมตามปกติ ไม่เป็นโมฆียะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทดแทนซ้ำซ้อนจากนายจ้างและกองทุนเงินทดแทน สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขัดกฎหมาย
ท.ลูกจ้างโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติงานให้โจทก์ โจทก์ได้จ่ายเงินทดแทนและค่าทำศพให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ท.แล้ว ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลแพ่ง ข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหาย โจทก์และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ยอมให้จำเลยที่ 3 ขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้ โดยโจทก์จะไม่เกี่ยวข้องโต้แย้ง จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดห้ามนายจ้างจ่ายเงินทดแทนหรือห้ามลูกจ้างรับเงินทดแทนเกินกว่าจำเลยที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 3 ได้รับเงินทดแทนจากโจทก์แล้ว แต่โจทก์ยังทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 3 ยอมให้จำเลยที่ 3 ยื่นขอรับเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้อีก สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นจึงหาเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนฯ ข้อ 15 วรรคสอง กำหนดให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิยื่นคำร้องเรียกเงินทดแทนจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้มีสิทธ์ทราบว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายและจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดแล้ว ก็หาเป็นการห้ามสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 3 ไม่ และแม้การจ่ายเงินดังกล่าวทำให้โจทก์เสียหายเพราะต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น แต่เป็นความเสียหายที่เกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ทำลงโดยสมัครใจและบังคับได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องให้ห้ามกรมแรงงานและผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนเงินทดแทนจ่ายเงินทดแทนแก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเหนือกว่า พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา แม้จะเข้าข่ายการเช่า
โจทก์ไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีอาญากับจำเลยฐานบุกรุกแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า โจทก์ยอมให้จำเลยทำประโยชน์ในที่พิพาทต่อไปอีกหนึ่งปี โดยจำเลยยอมจ่ายค่าเช่าให้โจทก์ 4,000 บาท ดังนี้ จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จะอ้างพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 มาตรา 5 มาเพื่อขยายเวลาเช่าออกไปเป็น 6 ปีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิตามพินัยกรรม, ผลสัญญาประนีประนอม, และคุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้ามรดกตาย ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 1 กับพวก เป็นผู้จัดการมรดกในคดีหนึ่งแล้ว ต่อมา อ. ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้อีกจำเลยที่ 1 กับพวกคัดค้านในที่สุดมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ อ. เป็นผู้จัดการมรดกโดยศาลพิพากษาให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น การเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 1 กับพวกจึงสิ้นสุดลงตามสัญญาดังกล่าวนั้นแล้วดังนั้นเมื่อ อ. ถึงแก่กรรมโจทก์กับพวกซึ่งตามพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับ อ. ย่อมร้องขอต่อศาลให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้ได้ไม่เป็นร้องซ้ำ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฉบับแรกระบุให้โจทก์กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกต่อมาได้ทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งซึ่งมิได้กล่าวถึงการเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้ระบุไว้ให้ยกเลิกหรือเพิกถอนพินัยกรรมฉบับที่ทำขึ้นก่อนแต่ประการใด ฉะนั้นโจทก์จึงยังมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก
แม้โจทก์เคยสละสิทธิเพื่อให้ อ. เป็นผู้จัดการมรดกแต่เมื่อ อ. ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดกได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสม ศาลก็ตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ และแม้โจทก์ที่ 1 จะมีส่วนได้รับทรัพย์มรดกน้อยกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 ก็เป็นทายาทและมีส่วนได้เสียส่วนโจทก์ที่ 2 แม้จะไม่ได้เป็นทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกแต่ก็เป็นผู้ที่เจ้ามรดกระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1712 และ มาตรา 1713
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฉบับแรกระบุให้โจทก์กับพวกเป็นผู้จัดการมรดกต่อมาได้ทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งซึ่งมิได้กล่าวถึงการเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้ระบุไว้ให้ยกเลิกหรือเพิกถอนพินัยกรรมฉบับที่ทำขึ้นก่อนแต่ประการใด ฉะนั้นโจทก์จึงยังมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมฉบับแรก
แม้โจทก์เคยสละสิทธิเพื่อให้ อ. เป็นผู้จัดการมรดกแต่เมื่อ อ. ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ทั้งสองก็มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดกได้เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วน ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ที่ไม่เหมาะสม ศาลก็ตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ได้ และแม้โจทก์ที่ 1 จะมีส่วนได้รับทรัพย์มรดกน้อยกว่าจำเลยที่ 2 โจทก์ที่ 1 ก็เป็นทายาทและมีส่วนได้เสียส่วนโจทก์ที่ 2 แม้จะไม่ได้เป็นทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกแต่ก็เป็นผู้ที่เจ้ามรดกระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดกด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1712 และ มาตรา 1713
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแบ่งที่ดินตามสัดส่วนการครอบครองสำคัญกว่าเนื้อที่ตามโฉนด สัญญาประนีประนอมยอมความต้องผูกพันตามเจตนาที่แท้จริง
โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ส่วนหนึ่งของที่พิพาทมาจาก ช. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ รวมกับจำเลยแล้วโจทก์ครอบครองที่พิพาทส่วนทางทิศเหนือตามที่ ช. เจ้าของเดิมครอบครองมา ส่วนจำเลยครอบครองทางทิศใต้โดยถือเอาคันสวนเป็นแนวเขต ต่อมาโจทก์จำเลยได้ ทำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมมีความว่า โจทก์จำเลยตกลงแบ่งส่วนที่ดินของตนที่มีอยู่ในที่ดินแปลงนี้ออกจากกันทางทิศใต้แบ่งเป็นของจำเลยให้ได้เนื้อที่ครึ่งหนึ่ง ส่วนแปลงคงเหลือเป็นของโจทก์ บันทึก ดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับกันได้
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่าโจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรังวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่าคู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่
บันทึกดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่าให้แบ่งตามส่วนที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ กับข้อ 2 ระบุว่าโจทก์จำเลยจะนำช่างแผนที่ไปทำการรังวัดปักหลักเขตให้เป็นการแน่นอนต่อไป เมื่ออ่าน 2 ข้อประกอบกันแล้วเห็นได้ว่าคู่กรณีเจตนาให้แบ่งกันตามส่วนที่ทั้งสองฝ่ายมีอยู่แล้ว ต้องถือตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณี คือแบ่งครึ่งกันตามที่ทั้งสองฝ่ายนำชี้ ที่ซึ่งตนครอบครองอยู่แล้ว หาใช่แบ่งครึ่งกันตามเนื้อที่ที่คำนวณได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับละเมิดของเด็กเยาว์ต้องได้รับอนุญาตศาลจึงจะมีผลผูกพัน
บิดาเด็กชาย บ. โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับบิดาเด็กชาย ว. ผู้ทำละเมิดต่อผู้เยาว์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลมูลละเมิดที่เด็กชาย ว. ก่อขึ้นหามีผลระงับไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นโมฆะไม่และไม่มีผลผูกพันเด็กชาย บ. โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1745/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำพยานบุคคลสืบแทนสัญญาประนีประนอมที่เสียหายจากเหตุสุดวิสัย
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า เงินค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันไว้เป็น 2 ฉบับต่างยึดถือไว้ฝ่ายละ 1 ฉบับ แต่ฉบับที่จำเลยเก็บรักษาถูกไฟไหม้เสียหายโดยเหตุสุดวิสัยไม่อาจนำมาอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาจำเลยจึงนำพยานบุคคลมาสืบแทนได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)