คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สามีภริยา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุหย่าตามมาตรา 1516(4/2) ต้องเป็นการแยกกันอยู่โดยมีเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
พฤติการณ์ที่จะเข้าเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) นั้น นอกจากสามีภริยาต้องสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน 3 ปี แล้ว ยังต้องเป็นการแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติด้วย
โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อความตกลงประนีประนอมยอมความกันว่า ไม่ประสงค์จะร่วมชีวิตฉันสามีภริยากันอีกต่อไปจนถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นเวลาเกิน 3 ปี แล้ว แต่เหตุที่โจทก์จำเลยไม่สามารถอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกตินั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่นำสืบถึงเหตุทะเลาะ แต่โจทก์กลับรับว่า จำเลยไม่เคยประพฤติเสียหายหรือประพฤติชั่วอันจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา ทางนำสืบของจำเลยซึ่งอ้างว่าโจทก์ติดพันหญิงอื่นมีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ จึงรับฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินกับจำเลยและไปจากภูมิลำเนาเสียเอง ทั้งที่จำเลยยังเต็มใจที่จะเป็นคู่สมรสของโจทก์ โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ชอบด้วยเหตุใด ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังยุติตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย แม้ข้อความในบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความว่า โจทก์จำเลยไม่ประสงค์จะอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยากันอีกต่อไป แต่ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นเพียงว่า โจทก์เท่านั้นที่สมัครใจแยกไปฝ่ายเดียว ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่โจทก์และจำเลยไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข จึงไม่เข้าเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4/2) ไม่ว่ามีการแยกกันอยู่นานเท่าใดก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องหย่าไม่ระงับแม้มีการยินยอมเรื่องชู้สาว หากไม่มีเจตนาที่จะกลับไปอยู่กินฉันสามีภริยา
แม้โทรสารที่โจทก์ส่งมายังจำเลยที่ 1 ข้อความบางตอนมีรายละเอียดเกี่ยวกับการหย่าว่าการหย่าครั้งนี้เป็นการหย่าที่ยินยอมทั้งสองฝ่าย โดยไม่มีการฟ้องหย่าเรื่องชู้สาวระหว่างจำเลยทั้งสอง แต่กรณีที่จะเป็นการกระทำอันแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ให้อภัยการกระทำของจำเลยทั้งสองและทำให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปนั้นต้องได้ความว่าคู่สมรสที่มีสิทธิฟ้องหย่าจะต้องมีเจตนาที่จะยกโทษให้คู่สมรสฝ่ายที่ทำผิดกลับคืนสู่สถานะในทางครอบครัวดังเดิม คือคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเจตนากลับมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป การที่โจทก์ขอเข้าไปขนย้ายทรัพย์สินต่าง ๆ ของโจทก์ออกจากบ้านที่เคยอยู่กินกับจำเลยที่ 1 ไม่มีพฤติการณ์ที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะอยู่กินฉันสามีภริยาดังเดิมต่อไปอีก นอกจากนี้โจทก์ยังได้แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในความผิดฐานพยายามฆ่า ตามพฤติการณ์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่โจทก์และจำเลยที่ 1 จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันดังเดิมต่อไป ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ให้อภัยแก่จำเลยอันจะเป็นเหตุให้สิทธิฟ้องหย่าหมดไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8877/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากผู้เยาว์และการกระทำชำเรา โดยพิจารณาเจตนาในการเลี้ยงดูฉันสามีภริยา
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 3 พักอาศัยอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นย่า แต่เมื่อยังไม่บรรลุนิติภาวะย่อมต้องตกอยู่ใต้อำนาจปกครองดูแลของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาและผู้เสียหายที่ 2
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์กระทงแรกนั้น จำเลยโทรศัพท์นัดหมายเด็กหญิง จ. ผู้เสียหายที่ 3 ให้ไปพบแล้วพาผู้เสียหายที่ 3 ไปบ้านจำเลย แล้วกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 3 ฟังไม่ได้ว่าผู้เสียหายที่ 3 สมัครใจไปจากผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 เอง หลังจากที่จำเลยกระทำชำเราแล้ว จำเลยไปหาผู้เสียหายที่ 2 ผู้เสียหายที่ 2 ต่อว่าจำเลยและเรียกค่าสินสอดจากจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงินให้ จากนั้นจำเลยรับผู้เสียหายที่ 3 ไปอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนาของจำเลยได้ว่าประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 3 เป็นภริยา เมื่อจำเลยยังมิได้มีภริยาจึงสามารถที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 3 ฉันสามีภริยาได้ การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แต่เป็นการกระทำที่ล่วงล้ำต่ออำนาจปกครองดูแลของบิดาและย่าผู้เสียหายที่ 3 ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรพรากผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดาหรือผู้ดูแล จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคแรก
ส่วนการกระทำความผิดของจำเลยกระทงที่สองนั้น เมื่อจำเลยได้มาเจรจาสู่ขอผู้เสียหายที่ 3 จากผู้เสียหายที่ 2 แต่จำเลยไม่มีเงินค่าสินสอด ในวันรุ่งขึ้นจำเลยก็ไปรับผู้เสียหายที่ 3 มาอยู่ด้วย กระทั่ง ม. มารับผู้เสียหายที่ 3 กลับไป แสดงว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 3 ไปเพื่อร่วมอยู่กินฉันสามีภริยา ฟังไม่ได้ว่าจำเลยพรากผู้เสียหายที่ 3 ไปจากบิดาหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์โดยสามีภริยาที่อยู่อาศัย ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์และ ส. ทำพิธีสมรสกันและอยู่กินกันฉันท์สามีภริยามาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2535 โจทก์และ ส. ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์และจดจำนองไว้กับธนาคาร ระหว่างนั้นโจทก์และ ส. มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยทั้งหมดอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์ดังกล่าวต่อมาวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ส. ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในอาคารพาณิชย์ และวันที่ 22 เมษายน 2537 ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต่อมาโจทก์และ ส. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2540 เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ และผู้ขายเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่กินด้วยกันมาตลอดโดยฝ่ายหนึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี มิใช่เป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นการค้าหรือหากำไร หากเป็นที่อยู่อาศัยของสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา มิใช่ว่าจะเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) จึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี
วันที่ 1 มีนาคม 2534 โจทก์และ ส. ทำพิธีสมรสและอยู่กินฉันท์สามีภริยาวันที่ 6 ตุลาคม 2535 โจทก์และ ส. ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์พิพาท ระหว่างนั้นโจทก์และ ส. มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยทั้งหมดอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ส. ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในอาคารพาณิชย์พิพาท วันที่ 22 เมษายน 2537 โจทก์และ ส. จดทะเบียนสมรสกัน วันที่ 10 มีนาคม 2540 โจทก์และ ส. ได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไป การขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ และผู้ขายเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่กินด้วยกันมาตลอดโดยฝ่ายหนึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี ไม่ถือเป็นทางค้าหรือหากำไร หากเป็นที่อยู่อาศัยของสามีภริยาที่อยู่กินกันมา
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มา มิใช่ว่าจะเป็นการขายเป็นทางค้าหรือหากำไรเสมอไป พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 จึงได้กำหนดข้อยกเว้นไว้บางกรณี การที่โจทก์และ ส. ได้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องมาแล้วขายให้แก่บุคคลอื่นไป แม้จะถือว่าเป็นการขายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) ที่ได้กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์และ ส. สมรสกันและอยู่กินกันฉันท์สามีภริยามาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2535 โจทก์และ ส. ซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์และจดจำนองไว้กับธนาคาร ระหว่างนั้นโจทก์และ ส. มีบุตรด้วยกัน 3 คน โดยทั้งหมดอาศัยอยู่ในอาคารพาณิชย์ดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2536 ส. ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ จากนั้นโจทก์และ ส. จดทะเบียนสมรสกัน และเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2540 โจทก์และ ส. ขายที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ไป การขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์และ ส. ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญ และผู้ขายเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อยู่กินด้วยกันมาตลอดโดยฝ่ายหนึ่งมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี การขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมิใช่เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6686/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยา: การรู้เห็นยินยอมในการกู้ยืมเงิน และการใช้จ่ายในครอบครัวเป็นเหตุให้เกิดหนี้ร่วม
ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. การที่ ส. กู้ยืมเงินโจทก์เป็นจำนวนมาก น่าเชื่อว่านำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวและให้การศึกษาบุตร ทั้งยังต้องใช้เงินรักษาตัวเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง ส. นำโฉนดที่ดินไปวางเป็นประกันเงินกู้ให้แก่โจทก์ ผู้ร้องน่าจะทราบดีเพราะผู้ร้องยืนยันว่า ส. ไม่เคยหยิบโฉนดที่ดินโดยไม่บอกกล่าวผู้ร้องก่อน ทั้งผู้ร้องยังเบิกความยอมรับว่า ภายหลังได้รับหนังสือทวงถามหนี้ ผู้ร้องเคยไปพบโจทก์รวม 2 ครั้ง คดีรับฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นในการที่ ส. กู้ยืมเงินจากโจทก์หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) ผู้ร้องจะต้องร่วมรับผิดกับ ส. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสได้ทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้กับส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายแยกส่วนได้, เหตุสุดวิสัยเฉพาะสัญญาบางส่วน, หนี้ร่วมสามีภริยา
คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่า ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจสืบพยาน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยตามคำฟ้องและคำให้การในประเด็นข้อแรกว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ข้อสอง จำเลยทั้งสองผิดสัญญาและจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ และข้อสาม โจทก์จะต้องคืนเงินประกันแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่และคู่ความยังแถลงรับกันว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายลูกไก่และรับซื้อคืนไก่กระทงกับโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาในฐานะสามีผู้ให้ความยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำไก่มาขายคืนให้แก่โจทก์เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกและทางราชการได้สั่งทำลายฆ่าไก่ที่จำเลยที่ 1 เลี้ยงไว้ทั้งหมด 40,137 ตัว โดยทางราชการจ่ายค่าชดเชยให้ตัวละ 45 บาท รวมเป็นเงิน 1,806,165 บาท เหตุดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยที่จะทำได้ จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ โดยที่คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องตามที่ให้การต่อสู้ไว้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สละประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไปแล้วจำเลยทั้งสองจะมายกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้อีกในชั้นฎีกาไม่ได้ อีกทั้งเหตุที่จำเลยทั้งสองอ้างในชั้นฎีกาขึ้นใหม่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
สัญญาซื้อขายลูกไก่และรับซื้อคืนไก่กระทงมีสาระสำคัญว่า โจทก์ตกลงขายลูกไก่และขายอาหารไก่ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลือกชำระค่าลูกไก่และค่าอาหารไก่ให้โจทก์โดยจ่ายเป็นเช็ค โจทก์ให้สินเชื่อจำเลยที่ 1 สามารถสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้า 60 วัน แต่หากจำเลยที่ 1 จ่ายเป็นเงินสดหรือดร๊าฟหรือแคชเชียร์เช็คโจทก์ก็จะลดราคาลูกไก่ให้ตัวละ 25 สตางค์ ของราคาลูกไก่แต่ละชนิด หรือมิฉะนั้นจำเลยที่ 1 จะนำลูกไก่และอาหารไก่ที่ซื้อไปจากโจทก์ไปเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่โจทก์กำหนดแล้วนำมาขายคืนให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์กำหนด แล้วหักชำระค่าลูกไก่และอาหารไก่ภายหลังก็ได้ ล้วนเป็นวิธีการที่จำเลยที่ 1 สามารถเลือกชำระค่าลูกไก่อาหารไก่ที่ทำสัญญาซื้อไปจากโจทก์ได้ เห็นได้ว่าสัญญาดังกล่าวมีสัญญาสองส่วนรวมอยู่ด้วยกัน คือสัญญาซื้อขายลูกไก่และอาหารไก่ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นสัญญาที่โจทก์สัญญาว่าจะรับซื้อไก่ที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่โจทก์กำหนดแล้วนำมาขายคืนโจทก์ในราคาที่โจทก์กำหนด โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 หักชำระค่าลูกไก่และอาหารไก่จากราคาไก่ที่โจทก์รับซื้อคืนได้ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นสัญญาต่างตอนแทนที่แยกจากกันไม่ได้ การชำระหนี้ตามสัญญาจึงสามารถแยกออกจากกันได้
ดังนั้น การที่ไก่ของจำเลยที่ 1 ที่ซื้อจากโจทก์ไปเลี้ยงถูกทางราชการสั่งให้ฆ่าทำลายไปทั้งหมด เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกทำให้ไม่สามารถนำไก่ไปขายคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำไก่ที่เลี้ยงโตแล้วไปขายคืนโจทก์นั้น จึงเป็นการชำระหนี้ที่พ้นวิสัยเฉพาะในส่วนสัญญาที่โจทก์สัญญาว่าจะรับซื้อไก่คืนโดยยอมให้จำเลยที่ 1 หักชำระหนี้ค่าลูกไก่และค่าอาหารไก่ที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น หากทำให้การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายลูกไก่และอาหารไก่ที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าชดเชยจากโจทก์ตกเป็นพ้นวิสัยไปด้วยไม่สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นสามีของจำเลยที่ 1 รู้เห็นและให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อลูกไก่และอาหารไก่จากโจทก์ไปใช้เพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ ถือเป็นหนี้ร่วมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงนามในสัญญาในฐานะคู่สัญญากับโจทก์ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิหักเงินค้ำประกันสัญญา เพื่อชำระหนี้ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา แม้แยกกันอยู่และมีภาระหนี้สิน
วัตถุประสงค์ของการสมรสก็เพื่อให้ชายหญิงได้อยู่กินกันฉันสามีภริยา ป.พ.พ. มาตรา 1461 บัญญัติให้สามีภริยาช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะตน และมาตรา 1598/38 บัญญัติว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นอีกฝ่ายสามารถเรียกได้ในเมื่อได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ อันแสดงว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจกำหนดให้เพียงใดก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับตามพฤติการณ์แห่งกรณี จึงเป็นบทบัญญัติคุ้มครองแก่สามีภริยาให้ฝ่ายที่มีฐานะดีต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง มิฉะนั้น อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) แต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องหย่าก็ฟ้องเรียกเฉพาะค่าเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 ดังนั้น สิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงหาใช่เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเมื่อมีการฟ้องหย่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง: การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย การพิสูจน์เจตนาใช้ภูมิลำเนาเดิม และการรับผิดร่วมของสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์และทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว โดยมีข้อสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองว่า หากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ขาดจนครบ จำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินดังกล่าว เป็นการร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นและได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) จำเลยที่ 2 ในฐานะภริยาต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นสามีรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ด้วย
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติเพียงว่า ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น มิได้บัญญัติบังคับว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือด้วยการมอบอำนาจให้ทนายความบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่จำต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 798 วรรคหนึ่ง
of 24