คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,231 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2373/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในบ้านผู้อื่น: สิทธิของผู้ร้องเมื่อยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ ศาลไม่อาจเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
ตามคำร้องของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงปรากฏเพียงว่าโจทก์ได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกไปทำการยึดทรัพย์สินของจำเลยในบ้านของผู้ร้อง และเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตตามที่โจทก์ร้องขอเท่านั้น แต่ยังมิได้ทำการยึดทรัพย์สินใด ๆ ในบ้านของผู้ร้องกรณียังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิ เมื่อไม่มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามกฎหมายแพ่งศาลจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยห้ามมิให้ดำเนินการบังคับคดีภายในบ้านของผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการงดจ่ายไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไม่ถือเป็นการข่มขู่ทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินค่าละเมิดสิทธิการใช้ไฟฟ้าไปชำระแก่จำเลย หากไม่ชำระภายในกำหนดจะงดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โจทก์ เป็นการกระทำไปตามสิทธิในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยเชื่อว่ามีสิทธิกระทำได้ ถือเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาตามปกติ หาใช่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้หนังสือรับสภาพหนี้เป็นโมฆียะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032-2033/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานที่ลาออกก่อนเกษียณ: การพิจารณาตามหลักเกณฑ์เฉพาะและการไม่มีสิทธิในกรณีทั่วไป
จำเลยมีหลักเกณฑ์การเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานอยู่ 2 กรณี คือ เลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานทั่วไปซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไปและเลื่อนขั้นเงินเดือนพนักงานที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากเป็นพนักงานของจำเลยเพราะเกษียณอายุเป็นกรณีพิเศษในวันที่ 30 กันยายน ของปีที่ครบเกษียณอายุ โดยมิได้มีการชำระเงินจริงเพียงแต่ให้นำไปใช้ในการคำนวณบำเหน็จหรือบำนาญเท่านั้น โจทกลาออกจากงานก่อนครบกำหนดเกษียณอายุและพ้นจากการเป็นพนักงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 โจทก์จึงพ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยก่อนที่จะมีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2544 จึงไม่มีสิทธิได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปี 2544

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่? สิทธิจากการบังคับตามคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์รถยนต์
คดีก่อนจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับ ภ. และ น. ร่วมกันโอนทะเบียนรถยนต์พิพาท โดยทำเป็นสัญญาขายแก่จำเลยระหว่างพิจารณาโจทก์คดีนี้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีดังกล่าวอ้างว่าจำเลยและ ภ. กับพวกทำสัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทกันโดยไม่สุจริตเพราะรถยนต์พิพาทเป็นของโจทก์ ขอให้ยกฟ้อง จำเลยให้การแก้คำร้องสอดว่า จำเลยซื้อรถยนต์พิพาทจาก ภ. และพวกโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและได้รับมอบการครอบครองไว้ตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย จำเลยจึงมีสิทธิไม่คืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์ เว้นแต่โจทก์จะใช้ราคาแก่จำเลย ศาลฎีกาฟังว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอด ให้ยกฟ้อง ผลของคำพิพากษาฎีกาย่อมผูกพันจำเลยมิให้โต้เถียงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องสอดอีก จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยึดถือรถยนต์พิพาทไว้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์เป็นคดีนี้จึงเป็นการฟ้องเพื่อขอให้บังคับตามสิทธิของโจทก์ที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาคดีดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอคืนภาษีป้ายเมื่อการประเมินไม่ถูกต้อง โดยมิได้อยู่ภายใต้ข้อจำกัดระยะเวลาตามมาตรา 24 พ.ร.บ.ภาษีป้าย
การขอคืนค่าภาษีป้ายตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ต่อผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหาร ท้องถิ่นมอบหมายภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่เสียภาษีป้าย ต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียภาษีป้ายเสียไปโดยไม่มีหน้าที่หรือ เสียเกินกว่าที่ควรต้องเสีย
คดีนี้โจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีป้ายไม่ถูกต้อง และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีป้าย ตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 แล้ว จึงฟ้องให้เพิกถอนหรือแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง พร้อมขอคืนค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มที่ประเมินเกินไปโดยมิชอบที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยที่ 1 แล้วคืน กรณีจึงไม่ใช่ การขอคืนตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจขอคืนค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ vs สิทธิผู้รับจำนองโดยสุจริต: ข้อจำกัดในการอ้างสิทธิโดยมิได้จดทะเบียน
ผู้ร้องได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 อันเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนของผู้ร้อง ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาของผู้ร้องขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ได้นั้น เมื่อบทบัญญัติดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 55 ผู้ร้องจึงต้องบรรยายมาในคำร้องขอว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบไปตามข้ออ้างได้ การที่ผู้ร้องมิได้กล่าวในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นข้อต่อสู้คดีร้องขัดทรัพย์ ต้องแสดงเหตุโต้แย้งสิทธิชัดเจนในคำร้อง
เมื่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 อยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 55 การที่ผู้ร้องจะอ้างการได้มาในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีร้องขัดทรัพย์ได้นั้น ผู้ร้องต้องบรรยายมาในคำร้องขอโดยชัดแจ้งให้เห็นว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ อันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นผู้ร้องจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้ามาสืบตามข้ออ้างได้ การที่ผู้ร้องมิได้บรรยายในคำร้องขอว่าโจทก์รับจำนองโดยไม่สุจริตจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะนำพยานเข้ามาสืบเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในประเด็นดังกล่าวและกรณีมิใช่เรื่องที่คู่ความสามารถนำพยานเข้ามาสืบประกอบได้เองโดยไม่จำต้องกล่าวบรรยายมาในคำร้องดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยไม่ทำการไต่สวนจึงชอบแล้ว
การที่ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอไว้ไต่สวนต่อไปนั้น เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นขอรับชำระหนี้จากการฟื้นฟูกิจการได้ แม้คดีตามคำพิพากษาจะยังไม่ถึงที่สุด
บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/26 แสดงโดยแจ้งชัดแล้วว่า หากเจ้าหนี้ประสงค์จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามวิธีการที่กฎหมายระบุไว้ โดยบทบัญญัติวรรคหนึ่งของมาตรานี้ส่วนท้ายแยกเป็น 2 กรณี กรณีแรกเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งหมายถึงศาลยังไม่มีคำพิพากษา คดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในกรณีแรก คือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้โดยไม่จำต้องรอให้คำพิพากษานั้นถึงที่สุดเพราะมูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ทุกรายเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ทำแผนอาจขอตรวจและโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 90/29 หากมีผู้โต้แย้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องสอบสวนแล้วมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 90/32 โดยเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ดังนั้น หากรอให้ศาลพิพากษาในชั้นที่สุดเสียก่อน เจ้าหนี้ก็ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดได้ ทำให้เจ้าหนี้หมดสิทธิได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 90/61 การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการหรือไม่จึงมิใช่เพราะหนี้นั้นเป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องประกอบด้วยการพิสูจน์หนี้ของเจ้าหนี้ การสอบสวนและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ รวมทั้งคำสั่งของศาลในกรณีมีผู้ยื่นคำร้องคัดค้านเป็นสำคัญ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ คำพิพากษานั้นย่อมมีผลผูกพันลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145ไปจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสียโดยศาลที่มีศักดิ์สูงกว่าเจ้าหนี้จึงนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมารับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
คดีที่ลูกหนี้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงฉบับละ 25 บาท เท่านั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 179(2) ประกอบด้วยมาตรา 90/2 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1175/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเลยการปฏิบัติตามคำสั่งศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว ทำให้สิทธิในการยกคดีขึ้นพิจารณาอีกครั้งหมดไป
โจทก์ได้ลงลายมือชื่อทราบคำสั่งศาลที่ให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความชั่วคราว หากคดีอาญาของ ศาลแขวงธนบุรี ศาลพิพากษาเสร็จแล้ว ให้โจทก์แถลงเพื่อยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปภายใน 15 วัน มิฉะนั้นศาลจะไม่ ยกคดีขึ้นพิจารณา โจทก์จึงทราบและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลดังกล่าว โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลฎีกา คดีดังกล่าว โดยโจทก์ได้ไปฟังคำพิพากษาด้วยตนเอง แต่โจทก์กลับมิได้ดำเนินการแถลงต่อศาลภายในกำหนด ระยะเวลาตามคำสั่งศาลแต่อย่างใด เพิ่งมายื่นคำร้องต่อศาลให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ซึ่งเป็นระยะเวลาเนิ่นนานหลังจากทราบคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วประมาณ 6 เดือน แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งศาล ทั้งคำสั่งศาลดังกล่าวก็ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรยกคดีขึ้นพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก สิทธิผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิรับค่าสินไหมทดแทน
สัญญาประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยทำกับผู้เอาประกันภัยระบุว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย จำเลยเป็นผู้เอา ประกันภัย โดยมี ง. บุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์เป็นการทำสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ง. จะมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ต่อเมื่อ ง. ได้แสดงเจตนาขอเข้ารับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยต่อโจทก์ ตามป.พ.พ. มาตรา 374 มิใช่เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้รับประโยชน์แล้วจะทำให้ ง. มีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยทันที
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่า ง. ได้แสดงเจตนาต่อโจทก์เพื่อเข้าเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ประกันภัย ก่อนที่โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่จำเลย ดังนั้น ง. จึงยังไม่มีสิทธิใด ๆ ตามกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อสิทธิของผู้รับประโยชน์ยังไม่บริบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยในฐานะคู่สัญญาประกันภัยกับโจทก์ย่อมเป็น ผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 861 การที่จำเลยได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากโจทก์จึงเป็นการรับไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย มิใช่เป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
of 424