คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,449 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5925/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม เริ่มนับจากวันที่ผิดนัดชำระ ไม่ใช่จากวันมีคำพิพากษา
ศาลมีคำพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2529ให้จำเลยผ่อนชำระตามจำนวนเงินที่ระบุและภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นคราว ๆ โดยชำระครั้งแรกวันที่ 27 พฤษภาคม2529 เป็นเงิน 50,000 บาท และส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละ 8,000 บาท ทุก ๆ วันที่ 27 ของเดือนเริ่มนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จเมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้ผู้ร้องเพียง 3 งวด จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ผู้ร้องตั้งแต่ งวดที่ 4 ประจำวันที่ 27 สิงหาคม2529 ดังนั้น ระยะเวลาในการบังคับคดีภายใน 10 ปี ของผู้ร้องจึงจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2529 เป็นต้นไปเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในวันที่ 25 มิถุนายน 2539 ถือว่าได้ขอบังคับคดีภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากค่าจ้างหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อตกลงมีผลบังคับได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักกับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด ในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยนำค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์หลังจากโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากถูกเลิกจ้าง มาชำระหนี้เงินกู้สวัสดิการของโจทก์ตามข้อตกลงก่อน เมื่อไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงกันระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าชดเชยเป็นหนี้ได้ต่อเมื่อลูกจ้างพ้นสภาพแล้ว ไม่ขัดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 30ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นมาหักกับค่าจ้างค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นจากสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้นดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันเมื่อโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยแล้ว โดยโจทก์ตกลงให้จำเลยนำค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งเป็นเงินที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์หลังจากโจทก์พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเนื่องจากถูกเลิกจ้าง มาชำระหนี้เงินกู้สวัสดิการของโจทก์ตามข้อตกลงก่อน เมื่อไม่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงกันระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีผลบังคับได้ไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5243/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: ผลของการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 4 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกัน ลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 4 สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมหากศาลฟังว่าจำเลยที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ แต่หนี้ที่จำเลยที่ 4 ค้ำประกันได้กำหนดจำนวนเงินและเวลาในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ไว้แน่นอน เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้โจทก์ได้ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันไม่ได้ให้ความยินยอม จำเลยที่ 4 จึงหลุดพ้นความรับผิด คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หรือไม่ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คงเป็นเพียงคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 4 ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ตามคำให้การดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 4 เลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยที่ 4 ในประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 4 ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี หากเป็นค่าทดรองจ่าย ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้วจำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิตต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น การที่ จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หัก เงิน ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวตาม พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระ เงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียก เก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ10 ปีแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม 2534เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องแย้งของจำเลยในคดีแพ่ง: ความเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมและหลักการหักกลบลบหนี้
ในคดีแพ่งเมื่อจำเลยถูกฟ้อง นอกจากจำเลยจะให้การปฏิเสธ แล้ว จำเลยย่อมมีสิทธิหักกลบลบหนี้และฟ้องแย้งได้ หากหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันและถึงกำหนดชำระแล้ว โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยได้ก่อสร้างอาคารสูงหลายสิบชั้นโดยประมาท เป็นเหตุให้เศษวัสดุก่อสร้างตกใส่บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหายหลายประการจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันว่า จำเลยยอมชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นค่าชดเชยที่ต้องอพยพครอบครัวโจทก์ทั้งหมดไปอยู่สถานที่อื่นภายใน 1 ปี แต่โจทก์และครอบครัวไม่ได้ไปเช่าที่แห่งอื่นอยู่คงอยู่ในบ้านเดิมตลอดมาและฟ้องแย้งเรียกเงิน 120,000 บาท คืนจากโจทก์ ดังนี้แม้คำฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องละเมิด ส่วนคำฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามแต่เรื่องผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็คือการที่โจทก์และครอบครัวรับเงินค่าชดเชยจากจำเลยไปโดยสัญญาว่าจะต้องอพยพครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ที่อื่นนอกบ้านที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดให้ได้รับความเสียหายแต่แล้วก็ไม่ปฏิบัติตามกลับมาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายต่าง ๆรวมทั้งค่าเสียหายที่โจทก์และครอบครัวไม่สามารถอยู่ในบ้านหลังที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำละเมิดด้วย จึงถือได้ว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมของโจทก์พอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177,179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและการรับชำระหนี้ที่เชื่อมโยงกัน
เมื่อปรากฏว่าหนี้ตามมูลหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับ จนกระทั่งถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้คดีขาดอายุความ 3 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว สัญญารับชำระหนี้ซึ่งระบุว่า"ข้าพเจ้ารับรองจะชำระหนี้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนให้กับธนาคารตามกำหนดเวลาที่กล่าว หากวันกำหนดชำระคืนตรงกับวันหยุดทำการของธนาคารก็ให้ร่นมาชำระในวันทำการที่ถัดมา ในกรณีที่มิได้มีการตกลงให้คิดส่วนลดตามตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว ข้าพเจ้าจะชำระดอกเบี้ยตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 15.0 ต่อปี(สิบห้าต่อปี)..." และลงลายมือชื่อลูกหนี้ (จำเลย) เป็นผู้ให้สัญญา หนังสือฉบับดังกล่าวเมื่อมีลักษณะเป็นหนังสือประกอบตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความ หนังสือสัญญารับชำระหนี้ก็ขาดอายุความด้วย ย่อมต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คจากการไม่จ่ายเงินตามเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้จากการขายทรัพย์มรดก
จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ซ. จึงมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกแล้วนำมาแบ่งให้แก่ทายาทของ ซ. เมื่อบรรดาทายาทได้ตกลงกันให้จำเลยขายที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยขายมาได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของ ซ. ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมแบ่งเงินที่ขายทรัพย์มรดกได้ให้แก่ผู้เสียหายและบรรดาทายาทของ ซ. และแม้จะปรากฏว่ายังมีที่ดินมรดกอีกส่วนหนึ่งยังขายไม่ได้ แต่ก็ได้ปรากฏว่า เมื่อจำเลยตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่บรรดาพี่น้องที่เป็นชายเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เสียหายและพี่น้องจึงไม่ติดใจทรัพย์มรดกส่วนนั้น ซึ่งหมายความว่าพร้อมใจกันยกให้แก่จำเลยนั่นเอง การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก ขายทรัพย์มรดกได้แล้วตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียหายแล้ว เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะแบ่งให้แก่ผู้เสียหายอย่างใดไม่ดังนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน vs. การผ่อนชำระหนี้สัญญาซื้อขาย
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายแม่พันธุ์โคนมจากโจทก์ โดยได้รับแม่พันธุ์โคนมไปถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้ว และนับแต่ทำสัญญา จำเลยชำระค่าแม่พันธุ์โคนมให้แก่โจทก์เพียง 2 งวดเท่านั้น เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่คืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยคืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ หากไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคารวม57,800 บาท กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลย หากคืนไม่ได้หรือไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคาตามฟ้อง ซึ่งไม่มีอายุความ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/33 (2) คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การติดตามทรัพย์คืนหลังบอกเลิกสัญญาซื้อขาย และอายุความของหนี้
จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายแม่พันธุ์โคนมจากโจทก์โดยได้รับแม่พันธุ์โคนมไปถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาแล้วและนับแต่ทำสัญญา จำเลยชำระค่าแม่พันธุ์โคนมให้แก่โจทก์เพียง 2 งวดเท่านั้น เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่คืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกให้จำเลยคืนแม่พันธุ์โคนมและลูกโคแก่โจทก์ หากไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคารวม57,800 บาท กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลย หากคืนไม่ได้หรือไม่ส่งคืนก็ให้จำเลยใช้ราคาตามฟ้อง ซึ่งไม่มีอายุความ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินเพื่อผ่อนทุกคืนเป็นงวด ๆ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/33(2) คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 145