คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หนี้สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องหนี้สินนอกพินัยกรรม และความชอบธรรมของสัญญากู้ซื้อโบราณวัตถุ
อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นทรัพย์มรดกในส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 ผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจหน้าที่จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทด้วย ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม
สัญญากู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อโบราณวัตถุตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวไม่เป็นโมฆะ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มีการซื้อขายโบราณวัตถุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการฟ้องหนี้สินนอกพินัยกรรม และการซื้อขายโบราณวัตถุไม่ขัดกฎหมาย
อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1719ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นทรัพย์มรดกในส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมหรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1620ผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจหน้าที่จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทด้วยดังนั้นผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม สัญญากู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อโบราณวัตถุตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวไม่เป็นโมฆะเพราะไม่มีกฎหมาย ห้ามมิให้มีการซื้อขายโบราณวัตถุ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนและการพิทักษ์ทรัพย์: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้วต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนหุ้นส่วนที่เหลือไม่ต้องพิสูจน์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4 ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาด แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของห้างหุ้นส่วนและหุ้นส่วน: ผลกระทบต่อความรับผิดของหุ้นส่วนที่ออกไปแล้วและหุ้นส่วนที่ยังคงเป็นหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483มาตรา 89 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยในคดีล้มละลาย: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้ว vs. หุ้นส่วนที่ยังคงเป็นอยู่
จำเลยที่2และที่4เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่1แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่1ให้ล้มละลายจำเลยที่2และที่4ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่1ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแม้จำเลยที่2และที่4มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่1ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1068ก็ตามแต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่2และที่4มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่2และที่4เด็ดขาด จำเลยที่5เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่1ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อห้างจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่1และจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่นๆให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วเช่นนี้โจทก์ก็ไม่จำ้องนำสืบว่าจำเลยที่5ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกรณีมีเหตุที่จำเลยที่5จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่5ล้มละลายตามห้างจำเลยที่1โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา89อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดมีส่วนร่วมจัดการธุรกิจ ทำให้ต้องรับผิดชอบหนี้สินไม่จำกัดตามกฎหมาย
หนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ปรากฏข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่2ว่าในการทำนิติกรรมผูกพันกับบุคคลภายนอกจะต้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นคือจำเลยที่3ที่4ยินยอมด้วยเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อนเช่นนี้เป็นการแสดงออกให้เห็นว่าจำเลยที่3ที่4ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องในการจัดการงานของห้างแล้วมีผลทำให้จำเลยทั้งสองต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างจำเลยที่1โดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ.มาตรา1088 คำสั่งของศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อนับจากวันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษาเป็นเวลาถึง20กว่าวันจำเลยไม่โต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าวไว้จึงหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนมีหน้าที่ส่งมอบทะเบียนรถตามคำสั่งตัวการ แม้มีหนี้สินอื่นเกี่ยวกับตัวรถ
โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถแทรกเตอร์จากบริษัทย. โดยชำระราคาครบถ้วนแล้วบริษัทย. จึงได้โอนทะเบียนรถมาให้โจทก์โดยส่งมายังจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องทำตามคำสั่งของบริษัทย. ซึ่งเป็นตัวการโดยมอบทะเบียนรถให้แก่โจทก์จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มีหนี้สินเกี่ยวกับตัวรถซึ่งไม่เกี่ยวกับทะเบียนรถมาเป็นข้ออ้างว่ามีสิทธิยึดหน่วงหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4538/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในหนี้สินของผู้ตายจากเงินทุนเลี้ยงชีพธนาคารออมสิน
เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งของธนาคารออมสินสำหรับพนักงานแต่ละคนให้สะสมขึ้นด้วยเงินที่ธนาคารคำนวณเพิ่มให้ร้อยละสิบจากเงินเดือนที่พนักงานได้รับในวันจ่ายเงินเดือนทุกเดือนโดยขึ้นบัญชีแยกไว้สำหรับพนักงานแต่ละคนเรียกว่าบัญชี"เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่ง" และให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละสี่ต่อปี ถ้าผู้ตายยังไม่ตายและออกจากธนาคารไป ธนาคารออมสินก็ต้องจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ผู้ตายตามระเบียบ เงินทุนเลี้ยงชีพประเภทหนึ่งจึงเป็นมรดกของผู้ตายจำเลยรับเอาไปจำเลยจึงได้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวของผู้ตาย จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ของผู้ตายให้โจทก์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังอายุความ: การละเสียซึ่งสิทธิในการยกอายุความ
ภายหลังจากหนี้ขาดอายุความแล้ว จำเลยมีหนังสือรับรองยอดหนี้สิน ที่ค้างชำระส่งไปยังผู้อำนวยการ กองตรวจเงินรัฐวิสาหกิจและเงินทุนสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินระบุว่า จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ และจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความจำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้และต้องรับผิดชำระหนี้ที่ค้างให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2183/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมให้ทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน และความรับผิดของทายาทต่อหนี้ของเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินและรถยนต์ที่ ต. ลูกหนี้โจทก์ทำขึ้นก่อนตาย โดยขอให้ทายาทของ ต. รับผิดชดใช้หนี้สินของ ต. แก่โจทก์ด้วยนั้น แม้ปรากฏว่า ขณะฟ้อง ต. ไม่มีทรัพย์มรดกและทายาทก็ไม่ได้รับมรดกของ ต. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ดังกล่าว ก็เป็นการฟ้องเพื่อให้ทรัพย์ที่ ต. ยกให้บุคคลอื่น นั้นกลับมาเป็นทรัพย์มรดกของ ต. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องทายาทในฐานะผู้รับมรดกของ ต. ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ แต่ทายาทของ ต. ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
การที่ศาลซึ่งพิจารณาคดีอาญาพิพากษายกฟ้องผู้ใต้บังคับบัญชาของ ต. ในข้อหายักยอกเงินของโจทก์แล้ว แต่ ต. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเงินของโจทก์ ก็ยังทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับผิดชดใช้เงินของทางราชการที่ขาดหายไปให้แก่โจทก์แสดงว่า ต. คงจะรู้ว่าตนปฏิบัติหน้าที่บกพร่องจึงยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้เช่นนั้น ดังนี้ จะถือว่า ต.ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไปโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมหาได้ ไม่
หนี้ที่ ต. ก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรส เนื่องจาก ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ จนต้องรับผิดชดใช้เงินให้ทางราชการนั้น มิใช่หนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิมหรือมาตรา 1490 ใหม่
ที่ดินที่บิดาจำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 1 เมื่อจำเลย ที่ 1 สมรสกับ ต.แล้ว และการยกให้มิได้ระบุว่าให้ เป็นสินส่วนตัว ถือเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1466 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยกให้ ต. จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอยู่ครึ่งหนึ่ง.
กรณีที่ ต. ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ดินและรถยนต์ พิพาทและต.มีหนี้ที่ค้างชำระอยู่เป็นเงินถึง 153,342 บาทเศษ ซึ่ง ต. รู้ดีว่าการผ่อนชำระให้แก่โจทก์ เดือนละ 300 บาท ย่อมไม่ทำให้หนี้หมดไปในขณะที่ ต.ยังมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น การที่ ต. ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและรถยนต์พิพาทที่เป็นเจ้าของอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ให้แก่บุตรโดยเสน่หาย่อมเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ที่ก่อหนี้ขึ้นโดยตรง แต่เมื่อจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานะที่เป็นทายาทของ ต.และโจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจาก จำเลยได้
of 48