คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 709 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าช่วงต่อเจ้าของทรัพย์เมื่อสัญญาเช่าหลักสิ้นสุด
โจทก์ให้ บ. เช่าโรงภาพยนตร์และเครื่องอุปกรณ์การฉายภาพยนตร์ต่อมา บ. นำทรัพย์สินดังกล่าวไปให้จำเลยเช่าช่วงโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ จำเลยจึงเป็นผู้เช่าช่วงทรัพย์สินของโจทก์โดยชอบ หาใช่เป็นบริวารของ บ. ไม่ จำเลยต้องรับผิดชำระค่าเช่าให้โจทก์โดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 545และเมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ บ. สิ้นสุดลงก็ทำให้สัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยกับ บ. สิ้นสุดลงด้วย จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ชำระค่าเช่าให้โจทก์นับแต่นั้น แต่เมื่อจำเลยยังคงครอบครองทรัพย์สินที่เช่าช่วงอยู่ จำเลยก็ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์จนถึงวันที่ส่งมอบทรัพย์สินคืนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายงานโดยไม่ชอบ และความผิดฐานยักยอกทรัพย์เจ้าพนักงาน
คำสั่งของบุคคลซึ่งมิได้เป็นผู้บังคับบัญชาที่ได้มอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติ เป็นคำสั่งที่ออกโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการตามคำสั่งนั้น การที่จำเลยรับเงินค่าดูดสิ่งปฏิกูลของเทศบาลซึ่งมิใช่หน้าที่ของจำเลยแล้วเบียดบังไว้ จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147, 157, และ 161 แต่เป็นความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แม้ต่อมาจำเลยจะได้นำเงินจำนวนที่ยักยอกไปดังกล่าวมาชดใช้คืนแก่เทศบาลก็ตาม ก็เป็นเพียงการกระทำเพื่อบรรเทาความเสียหายเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าเทศบาลซึ่งเป็นผู้เสียหายตกลงให้ระงับข้อพิพาทหรือสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยเช่นนี้ ย่อมถือไม่ได้ว่า เป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับนายจ้าง หากไม่แจ้งลาหยุดงานล่วงหน้า และการละทิ้งหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้
นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยกรมแรงงานมีคำสั่งอนุมัติแล้ว นายจ้างจึงประกาศกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติงานตอนกลางคืนเวลา 20 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นหากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานและไม่แจ้งล่วงหน้า ให้ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นขาดงานและละทิ้งหน้าที่ ดังนี้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าย่อมผิดข้อบังคับลูกจ้างจะอ้างว่าเป็นสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาหาได้ไม่ และการละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายประมาณ 600,000 บาทถือว่าลูกจ้างกระทำผิดเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงาน: การจ่ายเงินเดือนให้ยามรักษาการณ์ของบริษัทที่ถูกยึดทรัพย์ ไม่ถือเป็นการจ้างงาน
คดีมีประเด็นว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ ที่โจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่า โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างบริษัท ข. เป็นผู้รักษาทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวเนื่องจากจำเลยนำยึดเพื่อขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ และจำเลยได้จ่ายเงินเดือนให้โจทก์เป็นค่ารักษาทรัพย์นั้น เป็นการแถลงรับกันในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เพียงพอจะวินิจฉัยได้แล้วว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ แม้โจทก์จะมีพยานมาสืบข้อเท็จจริงอย่างใดก็หาอาจรับฟังนอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันไม่ ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยาน จึงชอบแล้ว
เมื่อเดือนสิงหาคม 2528 จำเลยฟ้องบริษัท ข. ให้ชำระหนี้กรรมการผู้จัดการหลบหนี และบริษัท ข. หยุดกิจการ จำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยจ่ายเงินเป็นรายเดือนให้ ต่อมาจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของบริษัท ข. เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2529 เจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์อีก ดังนี้ จำเลยเพียงแต่ตกลงให้โจทก์รับทำหน้าที่เฉพาะอย่าง คือ การดูแลทรัพย์สินของบริษัท ข. มิให้สูญหายหรือเสียหาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่งานของจำเลยโดยตรง ทั้งโจทก์มิได้อยู่ในการบังคับบัญชาของจำเลย เมื่อมีการยึดทรัพย์สินของบริษัท ข. ขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีมอบให้โจทก์เป็นผู้รักษาทรัพย์ก็เป็นการมอบตามอำนาจและหน้าที่ แม้จำเลยจะให้เงินเดือนแก่โจทก์จำนวนเดิมก็ตามยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้จ้างโจทก์ โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนเงินอากรเกิน การประเมินอากรที่ไม่ถูกต้อง และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการตรวจสอบเอกสาร
ตามพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า นั้นการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงแม้จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออก แต่ผู้นำของเข้าหรือส่งของออกก็ต้องแจ้งความไว้ก่อนว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียไว้เกินประการหนึ่งหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนว่าเงินอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียอีกประการหนึ่ง ดังนี้ เมื่อตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เชื่อได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปว่าเงินอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสีย จำเลยก็ต้องคืนเงินอากรส่วนที่ชำระไว้เกินแก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานให้ถ้อยคำเกินหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 157
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ระวังแนวเขตสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้ไประวังแนวเขตที่พิพาทเมื่อได้ความว่าที่พิพาทไม่ได้เป็นที่สาธารณประโยชน์หรือทางราชการสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ดังนี้การที่จำเลยที่ 1ให้ถ้อยคำถึงที่พิพาทจึงไม่เกี่ยวและเกินไปจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเวรยามต่อเหตุลักทรัพย์: การปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยไม่มีละเว้นประมาท
การอยู่เวรเวลากลางคืนของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างประจำที่ศาลากลางจังหวัดเน้นหนักเรื่องป้องกันอัคคีภัยและการก่อวินาศกรรม เช่นนี้ หน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องป้องกันเหตุดังกล่าวไม่ให้เกิดแก่สถานที่ราชการเท่านั้น วิธีปฏิบัติจึงได้จัดที่นอนไว้ให้ และที่นอนก็อยู่ชั้นล่าง ในขณะที่คนร้ายปีนขึ้นไปบนชั้นสองงัดประตูหน้าต่างแล้วลักเอาเครื่องพิมพ์ดีดไป แม้จะต้องใช้เวลานานพอสมควรแต่ก็อยู่คนละชั้นกับที่จำเลยนอนอยู่ และเป็นเรื่องธรรมดาที่คนร้ายจะต้องระมัดระวังตัวมิให้ใครรู้เห็น จำเลยทั้งสองได้เข้าเวรยามตามปกติ และปฏิบัติอย่างที่เคยปฏิบัติกันก่อน ๆ มาแล้วโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างจำเลยละเว้นหน้าที่ข้อใด และกระทำโดยประมาทหรือผิดระเบียบข้อใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำโดยประมาท ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องการแต่งตั้งเทศมนตรี: ต้องมีสิทธิหรือหน้าที่ถูกละเมิด หรือมีกฎหมายรองรับการใช้สิทธิทางศาล
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง จำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ก็โดยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาลส่วนใหญ่ในที่ประชุมสภาเทศบาลจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งของโจทก์ที่ 3ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ทั้งตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลขอให้บังคับผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการแต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไว้แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น โจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภริยาผู้ต้องหาจัดหางานต่างประเทศ ไม่มีความร่วมกระทำผิด เพียงช่วยสามีปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
ผู้เสียหายได้พบปะและติดต่อเรื่องการสมัครไปทำงานต่างประเทศกับ ล. ที่ร้านอาหารก่อนแล้วจึงตามไปดูหลักฐานการรับคนงานที่บ้านของ ล. ผู้เสียหายได้พบจำเลยซึ่งเป็นภริยาของ ล. ออกมาต้อนรับและจัดหาเครื่องดื่มรับรองตลอดจนพูดสนับสนุน ความสำคัญของบริษัทที่ ล. ทำงานว่าเป็นบริษัทที่มั่นคงไม่หลอกลวงและจำเลยยังช่วยนับเงินที่พวกผู้เสียหายจ่ายเป็นค่าสมัครแก่ ล. ดังนี้เป็นเรื่องธรรมดาของภริยาที่จะพึงปฏิบัติ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีส่วนร่วมกระทำผิดด้วยกันกับ ล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานกล่าวความจริงตามหน้าที่ แม้ใช้ถ้อยคำไม่สมควร ไม่เป็นความผิดหมิ่นประมาท
หนังสือรับรองของอธิบดีกรมอัยการที่จำเลยยื่นพร้อมฎีกาเป็นหลักฐานเช่นเดียวกับการที่อธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาถือได้ว่าเป็นการรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แล้ว โจทก์ก่อสร้างตลาดผิดจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและยังก่อสร้าง ต่อไปโดยไม่ขอต่ออายุใบอนุญาต จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าเขตให้ โจทก์ปฏิบัติการให้ถูกต้อง โจทก์ก็เพิกเฉย การที่จำเลยใช้เครื่องขยายเสียงพูดกับคนงานของโจทก์บริเวณที่ทำการก่อสร้างว่า"งานบริษัทนี้ (หมายถึงบริษัทโจทก์) พวกคุณไม่ต้องมาทำอีกต่อไปแล้ว พวกคุณไม่ต้องมาอยู่คอยเพราะคอยแค่ไหนก็ไม่สามารถจะทำได้ พวกคุณไปทำงานที่อื่นได้แล้วบริษัทอื่นที่ดีกว่านี้ยังมีอีกมาบริษัทเลว ๆ อย่างนี้หากพวกคุณขืนอยู่คอยต่อไปพวกคุณก็อดตายขณะนี้ผู้จัดการบริษัทนี้ก็ได้หลบหนีไปแล้วและบริษัทนี้ก็ไม่มีใบอนุญาตด้วย" เป็นการกล่าวเพื่อชี้แจงให้คนงานทราบว่าการก่อสร้าง ผิดแบบแปลนและใบอนุญาตหมดอายุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย คนงานอาจมีความผิดด้วย ขอให้คนงานหยุดก่อสร้างและอย่ารอทำงานเพราะกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องก็ต้องใช้เวลาหลายเดือน คำกล่าวเช่นนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้การใช้ถ้อยคำจะไม่สมควรและเกินเลยไปบ้างก็ยังไม่เป็นความผิดฐานหมิ่น ประมาท
of 71