คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนย้ายน้ำตาลทรายโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของลูกจ้างตาม พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 44(7), 71และมาตรา 76 ได้บัญญัติเอาผิดและลงโทษแก่โรงงานและผู้แทนนิติบุคคลที่ขนย้ายน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงาน โดยฝ่าฝืนระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเมื่อปรากฏว่า จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างของ ม. เจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่บรรทุกน้ำตาลทรายออกนอกบริเวณโรงงาน จำเลยจึงมิใช่โรงงานหรือบุคคลที่กฎหมายระบุให้ถือว่าเป็นผู้กระทำผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคลซึ่งได้กระทำความผิด จำเลยย่อมขาดลักษณะหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวอันเป็นองค์ประกอบความผิด จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดกับโรงงานได้
การที่จะลงโทษบุคคลฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดใดจะต้องได้ความว่าบุคคลนั้นมีเจตนาที่จะสนับสนุนการกระทำความผิดนั้น โดยรู้ว่าตนได้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด การขนย้ายน้ำตาลทรายออกนอกบริเวณโรงงานมิใช่เป็นการกระทำผิดเสมอไป จะเป็นความผิดต่อเมื่อการขนย้ายนั้นฝ่าฝืนระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ระเบียบดังกล่าวนี้มีว่าอย่างไรล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริง ถึงแม้จะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็หาใช่ข้อกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยทราบระเบียบของคณะกรรมการ จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่ามีผู้กระทำผิดต่อพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 44(7) โดยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางขนย้ายน้ำตาลทรายดิบที่ผลิตได้ออกนอกบริเวณโรงงาน โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดก็ตาม แต่สาระสำคัญของการกระทำความผิดดังกล่าวอยู่ที่ว่า ขนย้ายน้ำตาลทรายดิบโดยมิได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ และในการขนย้ายไม่มีหนังสืออนุญาตกำกับการขนย้ายเท่านั้น รถยนต์บรรทุกและน้ำตาลทรายดิบของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิดอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ การบันทึกคำสั่งอนุญาตไม่จำต้องทำในคำฟ้องอุทธรณ์
การอนุญาตให้อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ ผู้พิพากษาผู้อนุญาตจะมีคำสั่งและบันทึกข้อความตามหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าวไว้ในคำร้องก็ได้ ไม่จำต้องบันทึกการอนุญาตไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีศาลแขวง: คำสั่งอนุญาตในคำร้องเพียงพอ
การอนุญาตให้อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 ทวิ ผู้พิพากษาผู้อนุญาตจะมีคำสั่งและบันทึกข้อความตามหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าวไว้ในคำร้องก็ได้ ไม่จำต้องบันทึกการอนุญาตไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องที่ศาลอนุญาตแล้ว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับได้ หากเป็นการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองกับให้ส่งมอบที่ดินพร้อมอาคารพิพาทคืนแก่โจทก์ เรียกค่าเสียหายเทียบตามอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,200 บาท จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ปลูกสร้างอาคารและอาศัยอยู่ในที่ดินของราชพัสดุ แม้จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกกรมธนารักษ์เข้ามาเป็นคู่ความในคดีและศาลชั้นต้นจะได้อนุญาตแล้วก็ตาม ก็หาใช่กรณีที่จำเลยที่ 2 กล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของตนเองไม่ เมื่อไม่มีข้อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องเกินเดือนละสองพันบาทจึงต้องฟังว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 1,200 บาท ตามฟ้องโจทก์ ดังนี้จึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการเทป/วัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาตและการมีทรัพย์สินที่ผิดกฎหมาย
ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ มีเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่มิได้ผ่านการตรวจพิจารณาและให้ความเห็นชอบของเจ้าพนักงานผู้ตรวจไว้ในสถาน ที่ประกอบกิจการของตนเป็นความผิด เทปและวัสดุโทรทัศน์จึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตระบุพยานเพิ่มเติมในคดีภาษีอากร เหตุผลความจำเป็นและมิใช่การประวิงคดี
คำร้องขอระบุพยานบุคคล 3 อันดับ พยานเอกสาร 6 อันดับ รวม 9 อันดับเพิ่มเติม อ้างเหตุสองประการคือบัญชีระบุพยานยังพิมพ์ขาดตกบกพร่อง และเอกสารที่ขอระบุเพิ่มเติมนี้เพิ่งทราบว่ามีและหาได้ พยานบุคคลที่ขอระบุเพิ่มเติมได้ความว่า พยานบุคคลที่ระบุไว้เดิมมาเบิกความไม่ได้ในวันนัดโจทก์จึงระบุพยานเพิ่มเติมแทนพยานที่ระบุไว้เดิม และนำตัวมาพร้อมที่จะเบิกความด้วยในวันนัดเช่นนี้นั้น กรณีถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร ส่วนพยานเอกสารที่ขอเพิ่มเติม 6 อันดับ โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบว่ามีอยู่ จำเลยมิได้คัดค้านและไม่ปรากฏว่าเป็นเอกสารที่โจทก์รู้อยู่ก่อนแล้วว่ามี กรณีต้องฟังตามคำร้องของโจทก์ว่าเพิ่งทราบว่ามีอยู่ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม
นัดสืบพยานโจทก์นัดแรกโจทก์ขอเลื่อนโดยแถลงว่านัดหน้าจะนำพยานมาสืบ นัดต่อมาโจทก์ไม่มีพยานตามที่ระบุไว้แล้วมาศาล คงมีแต่พยานบุคคลที่โจทก์ขอระบุเพิ่มเติมในวันนั้นมาศาลพร้อมที่จะสืบ แต่ศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม โจทก์แถลงถึงความจำเป็นที่พยานคนเดิมไม่มาศาลไว้ด้วย พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า และการที่โจทก์นำพยานบุคคลที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบก็ไม่มีข้อที่จะทำให้จำเลยเสียเปรียบในทางคดีแต่อย่างใด เพราะแม้ตามบัญชีระบุพยานเดิมเมื่อถึงวันนัดจำเลยก็ไม่อาจรู้ได้ว่าโจทก์นำพยานบุคคลอื่นใดเข้าสืบก่อนหลัง และไม่อาจรู้ได้ก่อนว่าพยานปากใดจะเบิกความในประเด็นแห่งคดีเรื่องอะไรก่อนที่จะลงมือสืบพยาน ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประสงค์จะเอาเปรียบจำเลยในทางคดี กรณีมีเหตุอันสมควรให้โจทก์สืบพยานไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4736/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอาศัยในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่ทำสัญญาเช่า และความรับผิดของผู้ได้รับอนุญาต
การที่โจทก์ให้จำเลยทั้งสามอาศัยอยู่ในห้องแถวของโจทก์โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า เพราะจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภรรยาจำเลยที่ 3 และเป็นมารดาจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ ไม่ใช่เป็นสิทธิอาศัยทั้งมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 จะนำบทบัญญัติเรื่องอาศัยมาบังคับแก่จำเลยมิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อบ้านพิพาท: โจทก์ต้องจัดการขออนุญาตก่อสร้างให้ถูกต้องก่อนเรียกเก็บเงิน
จำเลยเช่าซื้อบ้านพิพาทพร้อมที่ดินจากโจทก์ หลังจากชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์แล้วบางส่วน จำเลยจึงทราบว่าโจทก์สร้างบ้านพิพาทโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ดังนี้คำรับรองของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยว่าจะจัดการขอให้ทางราชการออกใบอนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงมีความสำคัญสำหรับจำเลยอย่างยิ่งและเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามคำรับรองนั้นการที่จำเลยรับโอนที่ดินที่บ้านพิพาทปลูกอยู่เป็นกรรมสิทธิ์ทั้งที่รู้ว่าบ้านพิพาทยังไม่ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างก็ดี และจำเลยนำที่ดินและบ้านพิพาทไปจำนองธนาคารก็ดี โจทก์จะถือเอามาเป็นเหตุบอกเลิกหน้าที่ตามคำรับรองหาได้ไม่ แม้จำเลยได้ต่อเติมบ้านพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติของกรุงเทพมหานครแต่ก็ได้ความว่าแม้จำเลยจะมิได้ต่อเติมบ้านพิพาท ทางราชการก็คงไม่ออกใบอนุญาตให้ การที่ทางราชการไม่ออกใบอนุญาตให้จึงมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยเมื่อโจทก์ยังไม่ได้จัดการให้ทางราชการออกใบอนุญาตปลูกสร้างบ้านพิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายตามคำรับรองที่ให้ไว้แก่จำเลย โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิจะได้รับชำระเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า และผลิตวัตถุมีพิษปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต
จำเลยเป็นผู้สั่งทำถุงพลาสติกของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าอันได้จดทะเบียนไว้แล้วของบริษัทผู้เสียหาย แม้จำเลยจะไม่ได้เป็นผู้ทำถุงพลาสติกของปลอมขึ้นด้วยตนเอง แต่การที่จำเลยสั่งให้ผู้อื่นเป็นผู้จัดทำของปลอมนั้นขึ้น จำเลยก็มีความผิดในข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าแล้ว และเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยจัดให้มีการปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหาย จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืช มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 11,36 และผลิตยาฆ่าปูมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษพ.ศ. 2510 มาตรา 12,37 เป็นการผลิตวัตถุมีพิษต่างชนิดกันคือเป็นวัตถุมีพิษธรรมดากับวัตถุมีพิษร้ายแรง กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน ความผิดสองฐานนี้จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน จำเลยผลิตยากำจัดวัชพืชมีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษธรรมดาเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริงนั้นเป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษธรรมดาชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท ส่วนที่จำเลยผลิตยาฆ่าปู มีวัตถุทางเคมีอันเป็นวัตถุมีพิษร้ายแรงเจือปนเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงดังกล่าวปลอมโดยได้แสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่เป็นความจริง เป็นกรณีที่จำเลยผลิตวัตถุมีพิษร้ายแรงชนิดเดียวกันปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3082/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้สอดเข้าเป็นจำเลยร่วมต้องแจ้งให้คู่ความคัดค้านก่อน หากไม่ปฏิบัติตามกระบวนพิจารณาเป็นโมฆะ
การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำเนาคำร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์และจำเลยทั้งสองเพื่อให้มีโอกาสคัดค้านก่อนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21(2) และ มาตรา 57(2) แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมได้โดยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวแต่ประการใด กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นคำคู่ความตามที่ ป.วิ.พ. มาตรา 27 บัญญัติไว้ ฉะนั้นกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินมาในเรื่องการร้องสอดนับตั้งแต่การยื่นคำร้องไม่ว่าดำเนินกระบวนพิจารณาโดยศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ตลอดจนคำสั่งหรือคำพิพากษาในเรื่องนี้ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วยจำเลยร่วมจะฎีกาต่อมาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้โต้แย้งไว้ในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยได้ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเสียให้ถูกต้องก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 247.
of 94