คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้หน่วยงานราชการมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นการอุทิศเป็นสาธารณสมบัติ หากไม่ได้จดทะเบียน
เจ้าของเดิม ยกที่พิพาทให้กรมอนามัยปลูกสร้างสำนักงานผดุงครรภ์โดยมีเงื่อนไขว่า จะนำไปซื้อขาย หักโอน หรือแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือหน่วยราชการอื่นไม่ได้ และเมื่อหมดความประสงค์จะใช้ ให้ส่งมอบที่พิพาทคืนทันที ดังนี้ เจตนาของผู้ให้ หาใช่เป็นการอุทิศที่พิพาทเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์ตลอดไปอันมีผลให้ที่ดินตก เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ เมื่อการยกให้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลสมบูรณ์ และย่อมไม่ผูกพันผู้ให้หรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทต่อมาในภายหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 525,1299 วรรคแรก แม้โจทก์จะรู้ถึงสิทธิที่จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของเดิม ก็ตาม ก็หาเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยนิติกรรมซึ่งได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินมีเงื่อนไข & สิทธิกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอน - การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
เจ้าของเดิมยกที่พิพาทให้กรมอนามัยปลูกสร้างสำนักงานผดุงครรภ์โดยมีเงื่อนไขว่าจะนำไปซื้อขาย หักโอนหรือแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือหน่วยราชการอื่นไม่ได้ และเมื่อหมดความประสงค์จะใช้ให้ส่งมอบที่พิพาทคืนทันที ดังนี้เจตนาของผู้ให้หาใช่เป็นการอุทิศที่พิพาทเพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์ตลอดไปอันมีผลให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ เมื่อการยกให้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่มีผลสมบูรณ์และย่อมไม่ผูกพันผู้ให้หรือโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทต่อมาในภายหลังตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525,1299 วรรคแรกแม้โจทก์จะรู้ถึงสิทธิที่จำเลยได้รับการยกให้จากเจ้าของเดิมก็ตาม ก็หาเป็นการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของโจทก์ผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยนิติกรรมซึ่งได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่พิพาทได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4172/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนอากรขาเข้าและการบังคับสิทธิเรียกร้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งออกภายในกำหนด และอายุความ
ของที่จำเลยนำเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบเพื่อส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำของเข้า จำเลยย่อมได้รับคืนอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ทวิ การที่จำเลยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารไปวางประกันการชำระค่าภาษีอากรและรับของมาจากศุลกากร ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระภาษีอากรแล้ว เพราะเป็นเพียงผ่อนผันการชำระอากรขาเข้าให้แก่จำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำของดังกล่าวมาผลิต หรือผสม หรือประกอบแล้วส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีจำเลยย่อมไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีอากรและมีหน้าที่ต้องนำภาษีอากรไปชำระต่อศุลกากรกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 112 ทวิ วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ที่พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้จำเลยผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อน เพราะมิได้มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าภาษีอากรว่าผู้นำของเข้าจะต้องเสียประเภทใดและเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อจำเลยไม่นำภาษีอากรไปชำระพระราชบัญญัติศุลกากรก็มิได้บัญญัติให้พนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันทันที และตามพระราชบัญญัติศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้กำหนดระยะเวลาให้พนักงานศุลกากรติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด พนักงานศุลกากรจึงเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าภาษีอากรได้ภายในอายุความ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อพนักงานศุลกากรเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดและได้ประเมินภาษีอากรไปยังจำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงต้องรับผิดชำระภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่ม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 บัญญัติให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ดังนั้นการที่จำเลยนำของเข้ามาผลิตหรือผสม หรือประกอบ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี และได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาค้ำประกันการชำระภาษีอากรนั้น ในระหว่าง 1 ปีดังกล่าวโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากร สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นเมื่อครบกำหนด 1 ปีดังกล่าวแล้ว และจำเลยมิได้ใช้ของที่นำเข้ามาผลิต หรือผสมหรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศ ดังนั้นเมื่อจำเลยนำของเข้าเมื่อ 30 พฤษภาคม 2518 และมิได้ใช้ของดังกล่าวผลิต หรือผสม หรือประกอบสินค้าส่งออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี อายุความเริ่มนับถัดจากวันที่ครบ 1 ปี คือวันที่ 1มิถุนายน 2519 เป็นต้นไป ถึงวันฟ้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2529 ยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3460/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมด้วยวาจาต้องทำในสถานการณ์อันตรายใกล้ตายและผู้ทำพินัยกรรมต้องสามารถแสดงเจตนาได้ หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไข พินัยกรรมเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1663 บัญญัติให้ผู้ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายทำพินัยกรรมด้วยวาจาได้ การที่ผู้ทำพินัยกรรมมีอาการป่วยหนักพูดจาไม่ได้ ไม่สามารถให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ได้ แต่ไม่ปรากฏว่าขณะผู้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตายไม่สามารถทำพินัยกรรมตามแบบอื่น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่จะทำพินัยกรรมด้วยวาจาตามบทบัญญัติดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของผู้ขายจนกว่าจะมีการชำระราคาและโอนทะเบียนตามสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไข
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขายจะส่งมอบรถให้แก่ผู้ซื้อในวันที่โอนทะเบียน ผู้ซื้อจะชำระเงิน 10,000 บาท และจะโอนทะเบียนกันในเดือนพฤศจิกายน 2527 ดังนี้ เป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังไม่โอนไปจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาและโอนทะเบียนแล้ว เมื่อผู้ซื้อยังชำระราคาไม่ครบ และยังไม่ได้โอนทะเบียนกันกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางยังคงเป็นของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังไม่โอนจนกว่าจะชำระราคาและโอนทะเบียนตามสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไข
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขายจะส่งมอบรถให้แก่ผู้ซื้อในวันที่โอนทะเบียน ผู้ซื้อจะชำระเงิน 10,000 บาท และจะโอนทะเบียนกันในเดือนพฤศจิกายน 2527ดังนี้ เป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังไม่โอนไปจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาและโอนทะเบียนแล้วเมื่อผู้ซื้อยังชำระราคาไม่ครบและยังไม่ได้โอนทะเบียนกันกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางยังคงเป็นของผู้ร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานโดยมีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่จ่ายเสร็จเด็ดขาดทางภาษี
เงินบำเหน็จพิเศษที่โจทก์จ่ายเข้าบัญชีของพนักงานโดยให้พนักงานโอนเงินดังกล่าวมาเป็นเงินประกันตัว แล้วฝากเข้าบัญชีเงินฝากประจำของพนักงานแต่ละคนนั้น โจทก์มีระเบียบว่า พนักงานจะเบิกเงินในบัญชีเงินฝากประจำไม่ได้จนกว่าจะออกจากการเป็นพนักงานของโจทก์ถ้า ทำความเสียหายโจทก์มีสิทธิหักเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้ค่าเสียหายได้เงินบำเหน็จพิเศษดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จ่ายให้แก่พนักงานโดยเด็ดขาดเป็นเพียงรายจ่ายที่ต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (1) โจทก์ไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ การที่โจทก์พยายามออกระเบียบและใช้วิธีการทางบัญชีเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงเพื่อไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะให้ความสะดวกแก่จำเลยในการตรวจสอบบัญชี ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เสียภาษีเงินได้ไม่ครบถ้วนโดยสุจริตจึงไม่มีเหตุควรงดหรือลดเงินเพิ่ม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้ากันในศาลมีผลผูกพันคู่ความได้ หากเงื่อนไขไม่เป็นไปตามตกลง
การท้ากันในศาลคือการยอมรับข้อเท็จจริงตามที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน คู่ความท้ากันโดยตกลงเอาการสาบานของจำเลยและ ส. เป็นเงื่อนไข กล่าวคือถ้า บุคคลทั้งสองยอมสาบานโจทก์ก็ยอมรับตามข้ออ้างของจำเลยและยอมแพ้คดี แต่ถ้า บุคคลทั้งสองไม่ยอมสาบานจำเลยก็เป็นฝ่ายแพ้คดี ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับระหว่างคู่ความได้ส่วนการสาบานตนของ ส. เป็นเพียงเงื่อนไขที่คู่กรณีกำหนดขึ้น การที่ ส. ไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการตกลงนั้นหาทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อจำเลยและ ส. ไปยังสถานที่กำหนดแล้ว แต่บุคคลทั้งสองไม่ยอมสาบานจำเลยจึงต้องแพ้คดีตามคำท้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการท้ากันในศาลโดยมีเงื่อนไขการสาบาน และผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
คู่ความท้ากันโดยตกลงเอาการสาบานของจำเลยและส.เป็นเงื่อนไข กล่าวคือถ้าบุคคลทั้งสองยอมสาบานโจทก์ก็ยอมรับตามข้ออ้างของจำเลยและยอมแพ้คดี แต่ถ้าบุคคลทั้งสองไม่ยอมสาบานจำเลยก็เป็นฝ่ายแพ้คดี ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับระหว่างคู่ความได้ ส่วนการสาบานตนของส.เป็นเพียงเงื่อนไขที่คู่กรณีกำหนดขึ้น การที่ ส.ไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการตกลงนั้น หาทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อจำเลยและส.ไปยังสถานที่กำหนดแล้ว แต่บุคคลทั้งสองไม่ยอมสาบาน จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามคำท้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ไม่รวมพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้รื้อถอนลวดหนามที่จำเลยและบริวารได้เข้าไปครอบครองในที่ดินทางหลวง ซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ได้ขยายเขตทางหลวงรุกล้ำในที่ดินจำเลย หากศาลฟังว่าทางหลวงดังกล่าวมีการขยายเขตถูกต้องและมีแนวเขตเข้ามาในที่ดินจำเลยแล้วโจทก์ต้องใช้ค่าที่ดินและอาคารและค่ารื้อถอนให้จำเลย เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ซึ่งการที่จำเลยจะต้องรื้อรั้วลวดหนามออกไปจากทางหลวงดังกล่าวและโจทก์จะต้องใช้ค่าชดเชยที่ดินแก่จำเลยหรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อลวดหนามตามฟ้องเดิมก่อน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 48