พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5008/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาเมื่อมีการคืนทรัพย์และผลกระทบต่อการชำระหนี้
คดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา238ประกอบด้วยมาตรา247 โจทก์ผู้เช่าซื้อและจำเลยผู้ให้เช่าซื้อต่างสมัครใจที่จะเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยายแล้วผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวคู่สัญญาจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อโจทก์มิได้ผิดสัญญาก็ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายใดๆให้แก่จำเลยคงจะต้องรับผิดเฉพาะค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ของจำเลยผู้ให้เช่าซื้อในระหว่างที่โจทก์ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์ในทรัพย์ดังกล่าวอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคสามและกรณีที่มีการเลิกสัญญากันแล้วเช่นนี้โจทก์มาฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยไม่เสนอชำระหนี้ค่าเสียหายตอบแทนเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะเดิมแม้จำเลยจะไม่ได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนเงินก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตอบแทนแก่จำเลยได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4938/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผลของการยึดรถ และการเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ8ระบุว่าถ้าจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดยอมให้ถือว่าสัญญานี้เลิกกันโดยโจทก์มิต้องบอกกล่าวก่อนและข้อ10ระบุว่าถ้าโจทก์ยอมผ่อนผันกรณีที่จำเลยที่1ผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งใดอย่างใดไม่ให้ถือว่าเป็นการผ่อนผันการผิดนัดหรือผิดสัญญาครั้งอื่นก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนดเวลาเกือบถึง1ปีและครั้งสุดท้ายชำระไม่ครบจำนวนดังกล่าวโจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิทักท้วงพฤติการณ์แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ปฏิบัติต่อกันโดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อรวมทั้งจำนวนเงินค่าเช่าซื้อแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญอีกต่อไปหากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387เสียก่อน หนังสือที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์และราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดภายใน7วันตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายดังกล่าวเท่านั้นถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา การที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาจากจำเลยที่1โดยจำเลยที่1ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่1ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีนี้ กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันด้วยความสมัครใจของคู่สัญญาจึงมิใช่เป็นการเลิกสัญญากันโดยผลของสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุใดจำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อหรือผิดสัญญาเช่าซื้อแต่อย่างใดแต่เป็นกรณีที่สัญญาเลิกกันด้วยเหตุอื่นคู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาอีกต่อไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกราคารถส่วนที่ขายไปยังขาดค่าเช่าซื้ออยู่โดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ9ซึ่งระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีทุนทรัพย์เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด และประเด็นฟ้องเรียกค่าเสียหาย/เช่าซื้อไม่ถือว่าเป็นการอำพราง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่และค่าขาดประโยชน์จากการที่จำเลยที่1ยังคงครอบครอบรถอยู่ในระหว่างผิดสัญญาอันเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อส่วนที่ค้างชำระแม้ค่าเสียหายกับค่าเช่าซื้อตามงวดจะมีจำนวนเงินใกล้เคียงกันก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอำพรางเจตนาที่จะเรียกร้องค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระที่จำเลยที่1ฎีกาว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากโจทก์ขาดประโยชน์จากการใช้รถเป็นการอำพรางเจตนาที่แท้จริงที่จะเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระนั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248 จำเลยที่1อุทธรณ์ขอให้นำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่1ราคาประมาณ150,000บาทมาหักออกจากค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่1จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์อีกโดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าที่ศาลชั้นต้นนำราคาตัวถังและดั๊มของจำเลยที่1มาหักออกจากค่าเสียหายของโจทก์นั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างเป็นการอุทธรณ์ขึ้นมาลอยๆจึงเป็นอุทธรณ์ที่ ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่1ในข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจวินิจฉัยให้ได้และที่ต่อมาศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่1ในข้อนี้มาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่1มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคารถที่ยังขาดอยู่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30หาใช่มีอายุความ6เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา563ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะหากไม่ทำเป็นหนังสือ สิทธิและหน้าที่โอนไปยังผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
เอกสารที่โจทก์ที่2และจำเลยกระทำไว้ต่อกันระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาเช่าบ้านระบุเงื่อนไขในการเช่าบ้านไว้รวม12ข้อแล้วลงลายมือชื่อของโจทก์ที่2ในฐานะผู้ให้เช่าส่วนจำเลยลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าสัญญาดังกล่าวหาได้มีข้อความอันแสดงว่าโจทก์ที่2เอาทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่จำเลยโดยเงื่อนไขที่จำเลยได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวอันจะถือว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อไม่แม้ทางด้านหลังของเอกสารดังกล่าวจะมีข้อความหมายเหตุซึ่งสามีโจทก์ที่2เขียนไว้ว่า"เมื่อผู้เช่าชำระเงินครบจำนวน300,000บาท(สามแสนบาทถ้วน)ผู้ให้เช่าจะโอนบ้านพร้อมที่ดินให้ผู้เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ครอบครองแต่ค่าโอนผู้เช่าต้องเป็นผู้ออกถ้าผู้เช่า-ผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถึงแก่กรรมลงทายาทมีสิทธิดำเนินการต่อตามกฎหมาย"ก็ตามแต่ข้อความตามหมายเหตุนี้เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากหนังสือสัญญาเช่าบ้านแม้จะเป็นสัญญาเช่าซื้อดังที่จำเลยอ้างเมื่อโจทก์ที่2มิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่าได้มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันเป็นหนังสือการเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572วรรคสองจำเลยไม่อาจบังคับให้โจทก์ที่2ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวได้เมื่อวินิจฉัยดังนั้นแล้วปัญหาว่าโจทก์ที่1รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทโดยสุจริตหรือไม่จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้แม้โจทก์ที่1ไม่ฎีกาศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงโจทก์ที่1ด้วยได้ จำเลยค้างชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2532จนปัจจุบันแต่โจทก์ที่2ได้โอนขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่1ไปก่อนแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่27เมษายน2530สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ที่2ซึ่งมีต่อจำเลยผู้เช่าย่อมโอนไปเป็นของโจทก์ที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองโจทก์ที่2จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันการเช่าซื้อ: จำเลยต้องนำสืบให้ได้ว่าชำระหนี้แล้ว หากไม่สามารถทำได้ ถือว่าต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยที่1เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทส่วนจำเลยที่2เป็นผู้สลักหลังจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900จำเลยที่1มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้ออ้างที่ว่าจำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้บริษัทส. เพื่อเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อครบแล้วมูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับไปเมื่อนำสืบไม่ได้ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามเช็คพิพาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันการเช่าซื้อ: จำเลยต้องนำสืบข้อเท็จจริง หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยที่1เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทส่วนจำเลยที่2เป็นผู้สลักหลังจำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา900จำเลยที่1มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามข้ออ้างที่ว่าจำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้บริษัทส.เพื่อเป็นการค้ำประกันการเช่าซื้อรถยนต์จำเลยที่1ชำระค่าเช่าซื้อครบแล้วมูลหนี้ตามเช็คพิพาทระงับไปเมื่อนำสืบไม่ได้ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามเช็คพิพาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าซื้อและนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในการใช้รถยนต์
จำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์มอบให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างเป็นผู้ใช้สอยรถยนต์คันดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่ 1 ติดต่อการงานให้แก่จำเลยที่ 2จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ครอบครองใช้และได้รับประโยชน์ในรถยนต์คันดังกล่าวอยู่ในขณะเกิดเหตุ ดังนั้นจำเลยที่ 2 จะอ้างว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่ 2 เช่าซื้อมาให้จำเลยที่ 1 ใช้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่
พนักงานขายของจำเลยที่ 2 สามารถใช้รถของจำเลยที่ 2จนกว่าจะปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้วจึงจะนำมาคืน โดยอาจจะปฏิบัติงานในในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ เมื่อปรากฏว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงาน และจำเลยที่ 1 มิได้หมายเหตุไว้ในบัตรตอกเวลาทำงานว่าจำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเพื่อให้จำเลยที่ 2 ทราบ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องภายในระหว่างพนักงานของจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 2
พนักงานขายของจำเลยที่ 2 สามารถใช้รถของจำเลยที่ 2จนกว่าจะปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้วจึงจะนำมาคืน โดยอาจจะปฏิบัติงานในในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ เมื่อปรากฏว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงาน และจำเลยที่ 1 มิได้หมายเหตุไว้ในบัตรตอกเวลาทำงานว่าจำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเพื่อให้จำเลยที่ 2 ทราบ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องภายในระหว่างพนักงานของจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เช่าซื้อรถยนต์มอบให้ลูกจ้างใช้ แล้วเกิดอุบัติเหตุ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง
จำเลยที่2เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์มอบให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างเป็นผู้ใช้สอยรถยนต์คันดังกล่าวก็เพื่อให้จำเลยที่1ติดต่อการงานให้แก่จำเลยที่2จึงต้องถือว่าจำเลยที่2เป็นผู้ครอบครองใช้และได้รับประโยชน์ในรถยนต์ค้นดังกล่าวอยู่ในขณะเกิดเหตุดังนั้นจำเลยที่2จะอ้างว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นของผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยที่2เช่าซื้อมาให้จำเลยที่1ใช้จำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่ พนักงานขายของจำเลยที่2สามารถใช้รถของจำเลยที่2จนกว่าจะปฏิบัติงานเสร็จสิ้นแล้วจึงจะนำมาคืนโดยอาจจะปฏิบัติงานในในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้เมื่อปรากฎว่าในวันเกิดเหตุจำเลยที่1ได้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุไปปฏิบัติงานให้แก่จำเลยที่2จึงถือได้ว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จะอ้างว่าเกิดเหตุนอกเวลาทำการงานและจำเลยที่1มิได้หมายเหตุไว้ในบัตรตอกเวลาทำงานว่าจำเลยที่1ต้องปฏิบัติงานนอกเวลาเพื่อให้จำเลยที่2ทราบจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิดหาได้ไม่เพราะเป็นเรื่องภายในระหว่างพนักงานของจำเลยที่2กับจำเลยที่2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและผู้เช่าซื้อ กรณีลูกจ้างประมาทใช้รถ
รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ขับ จำเลยที่ 3 เช่าซื้อมามีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ค้ำประกัน มีการพ่นชื่อจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 คนทั่วไปที่ได้พบเห็นรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจะต้องเข้าใจว่าเป็นรถของจำเลยที่ 1 หลังเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 ได้ต่อรองเรื่องค่าเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 3 เมื่อ ส. นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 ไปใช้ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 โดยประมาทเลินเล่อ กรณีถือได้ว่า ส. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและผู้ค้ำประกันเช่าซื้อ กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อ
รถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุมี ส. เป็นผู้ขับจำเลยที่3เช่าซื้อมามีจำเลยที่2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1เป็นผู้ค้ำประกันมีการพ่นชื่อจำเลยที่1เช่นเดียวกับรถยนต์ของจำเลยที่1คนทั่วไปที่ได้พบเห็นรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุจะต้องเข้าใจว่าเป็นรถของจำเลยที่1หลังเกิดเหตุจำเลยที่2ได้ต่อรองเรื่องค่าเสียหายพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่1ได้รับประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่3เมื่อ ส. นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่3ไปใช้ในทางการที่จ้างของจำเลยที่3โดยประมาทเลินเล่อกรณีถือได้ว่า ส. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่1ด้วยจำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด