คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายไถ่จำนอง และผลกระทบต่อการบังคับคดี
โจทก์อ้างว่า จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ในราคาไร่ละ 600 บาท ตามเอกสาร จ.1 จำเลยต่อสู้ว่าก่อนที่จะทำเอกสาร จ.1โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อขายกันไว้ฉบับหนึ่งมีความว่าจะซื้อขายกันในราคาไร่ละ 600 บาท โดยผู้ซื้อจะต้องออกเงินไถ่จำนองที่ดินรายนี้ด้วยโจทก์เป็นผู้รักษาสัญญาฉบับนั้นไว้และบอกว่าหายไปเสียแล้วเมื่อฟังได้ดังที่จำเลยต่อสู้และฟังว่าเอกสาร จ.1 เป็นเพียงใบรับเงินมัดจำแล้วข้อนำสืบของจำเลยถึงข้อความในสัญญาเดิมย่อมไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะใบรับเงินมัดจำมิได้เป็นเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1294/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาผูกพันคู่ความเดิม, ห้ามเปลี่ยนแปลงสิทธิในทรัพย์สินหลังมีคำพิพากษา
ที่ดินโฉนดที่ 4052,4053 ศาลฎีกาเคยพิพากษาไว้แล้วว่าเป็นของห้างหุ้นส่วนสามัญฯ จำเลยเป็นคู่ความในคดีย่อมจะต้องผูกพันในผลแห่งคำพิพากษานั้นด้วย. ฉะนั้น จำเลยจะเอาเงินมาใช้แทนค่าหุ้นแล้วถอนเอาที่ดินคืนหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดฐานฆ่า: การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายการกระทำไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงต่างจากฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบังอาจใช้อาวุธปืนยิงนายทองหล่อ เขียนกันให้ถึงแก่ความตาย แต่นายทองหล่อรู้ตัวและหลบบังนายรอดหรือบุญรอด หุ่นเสือ กระสุนปืน จึงพลาดไปถูกนายรอดถึงแก่ความตาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยมิได้เจตนาฆ่านายทองหล่อ หากเจตนาฆ่านายรอด กระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงก็ถูกนายรอถึงแก่ความตายจำเลยมีความผิดฐานฆ่านายรอดหรือบุญรอด หุ่นเสือ ตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288
กรณีเช่นนี้ ถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกันข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง อันเป็นเหตุให้ศาลต้องพิพากษาฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: การเปลี่ยนแปลงภาระหน้าที่ & การเสนอค่าทดแทน
ที่ดินตกอยู่ในภารจำยอมเพียงให้เป็นทางคนเดินผ่านที่ดินนั้นไปออกทางสาธารณะเท่านั้น การปักเสาไฟฟ้า วางสายไฟฟ้าวางท่อประปาบนทางภารจำยอมนั้นย่อมเป็นการทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์ ทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1352 บัญญัติว่าเจ้าของที่ดินต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ ท่อระบายสายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นที่คล้ายกันผ่านที่ดินของตนเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อก็ตามแต่มาตรานี้ได้บัญญัติไว้ด้วยว่า เจ้าของที่ดินต้องยอมต่อเมื่อได้รับค่าทดแทนตามสมควร และเป็นหน้าที่ของผู้ที่จะวางต้องบอกกล่าวเสนอจำนวนค่าทดแทนให้เจ้าของที่ดินทราบก่อนหาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ดินเป็นผู้เสนอไม่ เมื่อผู้ที่จะวางไม่ได้เสนอค่าทดแทน เจ้าของที่ดินมีสิทธิคัดค้านได้เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบที่จะทำได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354-355/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลมีผลผูกพัน การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงภายหลังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2509 ปรากฏว่าผู้ร้องทั้ง 10 แถลงรับว่าได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้ง 10 ออกไปภายใน 2 เดือนนับแต่วันนั้น (อันเป็นมูลให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาต่อมา) นับจากนั้นมาในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ร้องทั้ง 10 หาได้อุทธรณ์คำสั่งอย่างใดไม่ คำสั่งที่กล่าวถึงที่สุด แม้ผู้ร้องทั้ง 10 จะได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 30 มิถุนายน 2509 ในเวลาภายหลังต่อมา อ้างว่ามิใช่บริวารจำเลย ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นข้ออ้างอย่างอื่นขึ้นมาใหม่ อันเป็นคนละประเด็น และเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่ยุติในสำนวนที่ศาลไม่ชอบที่จะฟังเป็นอย่างอื่นได้ ศาลจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นมาใหม่
การที่ผู้ร้องแถลงรับต่อศาลไว้ว่า ได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ โดยไม่ปรากฏข้ออ้างข้อเถียงอย่างอื่นนั้น แสดงว่าผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าจากจำเลย จึงเป็นบริวารจำเลยนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354-355/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงรับข้อเท็จจริงในชั้นศาลมีผลผูกพัน ห้ามเปลี่ยนแปลงข้ออ้างภายหลัง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2509 ปรากฏว่าผู้ร้องทั้ง 10 แถลงรับว่าได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้ง 10 ออกไปภายใน 2 เดือนนับแต่วันนั้น (อันเป็นมูลให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาต่อมา) นับจากนั้นมาภายในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ร้องทั้ง 10 หาได้อุทธรณ์คำสั่งอย่างใดไม่ คำสั่งที่กล่าวจึงถึงที่สุด แม้ผู้ร้องทั้ง 10 จะได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 30 มิถุนายน 2509 ในเวลาภายหลังต่อมาอ้างว่ามิใช่บริวารจำเลย ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นข้ออ้างอย่างอื่นขึ้นมาใหม่อันเป็นคนละประเด็น และเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่ยุติในสำนวนที่ศาลไม่ชอบที่จะฟังเป็นอย่างอื่นได้ศาลจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นมาใหม่
การที่ผู้ร้องแถลงรับต่อศาลไว้ว่า ได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ โดยไม่ปรากฏข้ออ้างข้อเถียงอย่างอื่นนั้นแสดงว่าผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าจากจำเลย จึงเป็นบริวารจำเลยนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354-355/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลมีผลผูกพัน ห้ามเปลี่ยนเเปลงข้ออ้างภายหลัง
ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2509 ปรากฏว่าผู้ร้องทั้ง 10 แถลงรับว่าได้เช่าบ้านจำเลยอยู่.ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ผู้ร้องทั้ง 10 ออกไปภายใน 2เดือนนับแต่วันนั้น (อันเป็นมูลให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาต่อมา). นับจากนั้นมาภายในระยะเวลา 1 เดือน ผู้ร้องทั้ง 10 หาได้อุทธรณ์คำสั่งอย่างใด.ไม่. คำสั่งที่กล่าวจึงถึงที่สุด แม้ผู้ร้องทั้ง 10 จะได้ยื่นคำร้องลงวันที่ 30 มิถุนายน 2509 ในเวลาภายหลังต่อมา อ้างว่ามิใช่บริวารจำเลย. ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ซึ่งเป็นข้ออ้างอย่างอื่นขึ้นมาใหม่. อันเป็นคนละประเด็น และเป็นการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่ยุติในสำนวนที่.ศาลไม่ชอบที่จะฟังเป็นอย่างอื่นได้. ศาลจึงไม่จำต้องไต่สวนคำร้องของผู้ร้องที่ยื่นมาใหม่.
การที่ผู้ร้องแถลงรับต่อศาลไว้ว่า ได้เช่าบ้านจำเลยอยู่ โดยไม่ปรากฏข้ออ้างข้อเถียงอย่างอื่นนั้น. แสดงว่าผู้ร้องอ้างสิทธิการเช่าจากจำเลย จึงเป็นบริวารจำเลยนั่นเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่เปลี่ยนแปลงวิธีการบังคับคดี คำพิพากษาฉบับหลังสุดเป็นหลัก
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวิธีการบังคับคดีโดยระบุว่าให้รังวัดแบ่งที่พิพาทขายให้โจทก์ เนื้อที่ 2 งานซึ่งหมายความว่า ที่ดิน 2 งาน เมื่อคิดหน้าที่ดินที่ถูกตัดถนนแล้วยังเหลือเท่าใดก็โอนให้โจทก์ไปเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวนี้ย่อมเป็นที่สุดและต้องรังวัดที่พิพาทเป็นจำนวนเนื้อที่ 2 งาน โดยรวมเนื้อที่ที่ถูกกันไว้เป็นถนนเข้าด้วย เหลือเท่าใดจึงโอนให้โจทก์ไปเท่านั้น ตามที่โจทก์แถลงไว้ต่อศาลดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินว่าการแบ่งแยกโฉนดพิพาทออกให้มีเนื้อที่ 2 งาน รวมทั้งเนื้อที่ที่ถูกเวนคืน 63 ตารางวาด้วย จึงเป็นการถูกต้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวโจทก์จะมาร้องใหม่อีกขอให้รังวัดที่พิพาทออกเป็น 263 ตารางวา แล้วกันส่วนที่ถูกเวนคืน 63 ตารางวาออกนั้น ไม่อาจทำได้เพราะนอกจากจะขัดกับคำแถลงของโจทก์เองแล้ว ศาลฎีกายังได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วอีกด้วย
เมื่อการบังคับคดีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดมา ก็จำต้องถือคำพิพากษาฉบับหลังที่สุดเป็นหลักดำเนินการบังคับคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและอำนาจฟ้อง: การเปลี่ยนแปลงฐานะจากผู้จัดการดูแลทรัพย์สินเป็นเจ้าของกระทบต่อการฟ้องเรียกค่าเช่า
ตามคดีแพ่งแดงที่ 135/2508 ซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแรกนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่าอาคารพิพาทเป็นทรัพย์ของชาวอินเดีย โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการดูแลไม่ได้ว่าเป็นของโจทก์ และตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์และจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าที่ดินและอาคารพิพาทเป็นของกลางคือ ของโรงพระ หาใช่ของโจทก์ไม่ การที่โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่าอาคารพิพาทต่อไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็เป็นการกระทำแทนในฐานะผู้จัดการดูแลอาคารพิพาทของโรงพระ หาใช่ให้เช่าในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของอาคารพิพาทส่วนตัวไม่ แม้ตามคดีแพ่งแดงที่ 161/2508 ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในภายหลัง ขอให้ชำระค่าเช่าอาคารพิพาท โจทก์ยอมรับว่าอาคารพิพาทเป็นของโรงพระ โรงพระมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องแทน แต่เนื่องจากโรงพระไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลมอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทนไม่ได้ ศาลชั้นต้นจึงยกฟ้อง โจทก์กลับมาฟ้องคดีนี้อ้างว่าอาคารพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ฝ่าฝืนสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งแดงที่ 135/2508 ซึ่งโจทก์ยอมรับว่าอาคารพิพาทเป็นของโรงพระ ฉะนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะส่วนตัวเรียกค่าเช่า และขอให้ขับไล่จำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์ ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับว่าอาคารพิพาทเป็นของโจทก์และขอเช่าต่อไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 200 บาท ศาลพิพากษาตามยอม ต่อมาโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาท ให้ชำระค่าเช่าที่ค้างและค่าเสียหาย ดังนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้จัดการดูแลอาคารพิพาทของโรงพระตกลงยอมให้จำเลยเช่าต่อไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 200 บาท ถือได้ว่าสัญญาประนีประนอมนี้เป็นสัญญาเช่าอาคารพิพาทระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่ากับจำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ก็ต้องฟ้องขอให้จำเลยชำระ จะไปร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างทันทีไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอม และศาลพิพากษาตามยอม ให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง และค่าเช่าเดือนต่อๆ ไปให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผลการตัดสินขับไล่และห้ามเกี่ยวข้องในที่ดินระหว่างชั้นศาล
โจทย์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่นา 2 แปลง ราคารวมกัน 2,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับนาแปลงที่ 1 และห้ามจำเลยเกี่ยวข้องนาแปลงที่ 2 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับนาแปลงที่ 2 และห้ามจำเลยเกี่ยวข้องนาแปลงที่ 1 (สับแปลงกับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้) ดังนี้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงได้
of 40