พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: การใช้สิทธิเลิกสัญญาที่ไม่สุจริตและการชดใช้ค่าเสียหาย
พระราชบัญญัติแร่ฯ มาตรา 76 และ 77 มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ที่โจทก์จำเลยตกลงกัน ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้นหาใช่สัญญายังไม่เกิดเพราะยังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากรัฐมนตรีไม่ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามแต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยปริยายจากการหยุดคิดดอกเบี้ยทบต้น และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา
สัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลา คู่สัญญาจึงบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 การบอกเลิกสัญญาอาจกระทำโดยแสดงเจตนาแจ้งชัดหรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่ามีเจตนาเลิกสัญญาโดยปริยายก็ได้ บัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์จำเลยเดินกันมาถึงเดือนกรกฎาคม2527 หลังจากนั้นในเดือนสิงหาคมและกันยายน 2527 มีแต่รายการเดบิทบัญชีตามใบแจ้งและรายการค่าดอกเบี้ยอย่างละ 1 รายการในแต่ละเดือน นอกจากนี้โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2527 จนถึงวันที่ 24 กันยายน 2527 การที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อมาและโจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นซึ่งการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นประเพณีในทางการค้าของธนาคารและเป็นข้อสาระสำคัญข้อหนึ่งในการที่โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีโดยสัญญาบัญชีเดินสะพัด พฤติการณ์จึงถือได้ว่าโจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 12 กันยายน 2527 แม้โจทก์จะเริ่มคิดดอกเบี้ยทบต้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2527 เป็นต้นมาก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดกลับมีผลบังคับต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันเลิกสัญญาแล้วได้อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอย่างไม่ทบต้นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเลิกแล้ว การค้ำประกันมีผลถึงวงเงินที่จำนองเท่านั้น ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากหนี้เมื่อเจ้าหนี้ไม่รับชำระ
ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ลูกค้าโจทก์ ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่า นับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอเบิกเงินจากบัญชีดังกล่าวหรือโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แม้ภายหลังครบกำหนดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ได้นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน 2 ครั้งก็ตาม แต่ก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป เพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมเลิกกันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 ฉะนั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว และโจทก์ยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยโดยไม่ทบต้นตลอดไปจนกว่าจะมีการชำระหนี้รายนี้เสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน400,000 บาท เท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคแรก แล้วเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701, 727ประกอบด้วยมาตรา 744 (3)
จำเลยที่ 3 ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่ทำไว้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาทหรือไม่เกิน 400,000 บาท แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 มีเจตนาค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน400,000 บาท เท่านั้น แม้จะปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กู้เบิกเงินเกินบัญชีเกินวงเงิน 400,000 บาท ก็เป็นการผูกพันกันระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับโจทก์เท่านั้น หามีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ด้วยไม่ดังนั้น เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยที่ 3 มีหนังสือขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน400,000 บาท แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จึงเป็นการขอชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เมื่อหนี้นั้นถึงกำหนดโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 701 วรรคแรก แล้วเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 ดังกล่าว ย่อมทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในการชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 701, 727ประกอบด้วยมาตรา 744 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การละทิ้งการปฏิบัติตามสัญญาและการเลิกสัญญโดยปริยาย
โจทก์ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 2สัญญาระบุว่า คู่สัญญาจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายต่อกัน แต่มิได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อใด คู่สัญญาจึงต้องมาตกลงกันอีกครั้งในเวลาอันสมควรว่าจะทำการซื้อขายกันเมื่อใดให้แน่ชัดลงไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงกำหนดเวลาทำการซื้อขายกัน กลับทิ้งช่วงเวลานานถึง5 ปีเศษ แสดงให้เห็นว่า ต่างไม่นำพาที่จะปฏิบัติตามสัญญาในเวลาอันสมควรฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ และเป็นที่เห็นได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การเลิกสัญญา, สิทธิเรียกร้องคืนสภาพเดิม, การครอบครองปรปักษ์, ค่าเสียหายจากการปลูกสร้าง
โจทก์ทั้งสองได้ทำสัญญาตกลงให้จำเลยปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินสองแปลง รวม 4 ห้อง เมื่อปลูกสร้างเสร็จแล้วจำเลยจะยกตึกแถวจำนวน2 ห้อง ที่ปลูกให้แก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนโจทก์ที่ 1 จะยกที่ดินของโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่ปลูกตึกแถวอีก 2 ห้อง ให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนกัน ต่อมาขณะที่จำเลยปลูกสร้างตึกแถวพิพาทยังไม่เสร็จโจทก์ทั้งสองกับจำเลยได้ตกลงเลิกสัญญาการสร้างตึกแถว และได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยโจทก์ที่ 1 ตกลงจะขายที่ดินให้จำเลยแต่ยังไม่ได้ตกลงราคากัน และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยทำการปลูกสร้างตึกแถวพิพาทต่อไป แต่ในที่สุดตกลงราคากันไม่ได้ จึงเลิกสัญญาจะซื้อขายกันอีก ดังนี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และวรรคสามที่บัญญัติว่า ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น มาปรับแก่คดีโดยจำเลยต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของที่ดินแล้วให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีสิทธิที่จะครอบครองที่ดินและตึกแถวพิพาทของโจทก์ทั้งสองต่อไป และโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทอันเป็นการงานที่จำเลยได้กระทำไปให้แก่จำเลย แต่เนื่องจากจำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย ดังนั้น จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากที่ดินและตึกแถวพิพาทของโจทก์ทั้งสองได้แต่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวพิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญา สร้างบ้าน-ซื้อขายที่ดิน จำเลยต้องคืนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชดใช้ค่าปลูกสร้าง
จำเลยปลูกสร้างตึกแถวพิพาทในที่ดินโจทก์ทั้งสอง โดยอาศัยข้อสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย กับโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างตึกแถวต่อไปตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายที่ดินเมื่อโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงยกเลิกสัญญาการสร้างบ้านและบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาใช้บังคับ โดยจำเลยต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองต่อไป และโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทอันเป็นการงานที่จำเลยได้กระทำไปให้แก่จำเลย จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 332/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การไม่ส่งมอบป้ายทะเบียนถือเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผลของการเลิกสัญญาสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยได้ชำระค่าเช่าซื้องวดแรกแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมมอบป้ายทะเบียนรถให้ ดังนี้ถือว่าป้ายทะเบียนรถเป็นส่วนสำคัญของรถยนต์คันที่เช่าซื้อเมื่อโจทก์ไม่ยอมมอบป้ายทะเบียนรถให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ย่อมไม่สามารถที่จะใช้หรือรับประโยชน์จากรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้เพราะหากจำเลยที่ 1 นำรถออกใช้ก็จะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่สองจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ได้ แต่การที่โจทก์ยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไป โดยจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า โจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อคืนไปโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะเรียกค่าเสียหายอย่างใดต่อกันอีกไม่ได้เว้นแต่ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถยนต์คันที่เช่าซื้อไว้จนถึงวันเลิกสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3165/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการปรับค่าเสียหายรายวัน: การใช้สิทธิเลิกสัญญาไม่ตัดสิทธิการปรับ
สัญญาซื้อขายมีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร แต่ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่า ผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ คดีนี้เมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยแสดงเจตนาที่จะขอปฏิบัติตามสัญญาต่อไปอีก ทั้งการที่โจทก์มีหนังสือแจ้งขอสงวนสิทธิการปรับตามสัญญาไปยังจำเลยก็หาใช่เป็นการใช้สิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันตามสัญญาแล้วไม่ ดังนี้ ต่อมาเมื่อโจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญากรณีจึงไม่ใช่เป็นการเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบเงินประกัน-ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนด
สัญญาระบุว่า "ถ้าผู้เช่า...กระทำผิดสัญญาข้อ 2... และถูกบอกเลิกสัญญา ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันตามข้อ 3 ทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าเช่า... ที่ผู้เช่าจะต้องชำระหรือชดใช้ตามสัญญานี้" เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเพราะจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิริบเงินประกันทั้งหมดนอกเหนือจากสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างตามสัญญา
การที่จำเลยผิดสัญญาจนโจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดและโจทก์ต้องดำเนินการหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่มาดำเนินการต่อ ในระหว่างหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่ โจทก์ต้องให้บุคคลอื่นเช่าสิทธิไปพลางก่อนโดยได้ค่าเช่าน้อยกว่าที่เคยได้รับจากจำเลย ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้หากไม่มีการเลิกสัญญากับจำเลยก่อนกำหนด ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่
การที่จำเลยผิดสัญญาจนโจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดและโจทก์ต้องดำเนินการหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่มาดำเนินการต่อ ในระหว่างหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่ โจทก์ต้องให้บุคคลอื่นเช่าสิทธิไปพลางก่อนโดยได้ค่าเช่าน้อยกว่าที่เคยได้รับจากจำเลย ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้หากไม่มีการเลิกสัญญากับจำเลยก่อนกำหนด ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิปรับควบคู่การเลิกสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายให้สิทธิโจทก์บอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวันจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิจะปรับจำเลยนั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรก แล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาตามข้อ 9 วรรคสามได้ด้วย