คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแบ่งมรดก: สัญญาประนีประนอมไม่สะดุดอายุความ
เจ้ามรดกตายลง ทายาท 2 คนเป็นความกัน ในที่สุด ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ทายาทผู้ครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง จะจัดการแบ่งที่ดินแปลงนั้นให้แก่ทายาทคนอื่นดังนี้ เมื่อไม่ได้ระบุตัวบุคคลว่า เป็นใครที่จะแบ่งมรดกให้ไว้ชัดแจ้ง แล้วก็ไม่ทำให้อายุความฟ้องร้องภายใน 1 ปีสะดุดหยุดลง ฉะนั้นผู้ที่เป็นทายาทอื่นจะฟ้องทายาทผู้ครอบครองที่ดิน ให้แบ่งที่ดินให้แก่ตนจะต้องฟ้องภายในอายุความ 1 ปีนับแต่วันเจ้ามรดกถึงแก่กรรมมิฉะนั้นคดีย่อมขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพูดคุยเรื่องแบ่งมรดกยังไม่ถือเป็นการตกลงหรือรับสภาพหนี้ ทำให้ไม่เกิดผลทางกฎหมายและอายุความไม่หยุดนิ่ง
ผูรับมรดกคนหนึ่งพูดถามผู้รับมรดกซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกอยู่ว่า เมื่อไรจะแบ่งมรดกผู้ครอบครองทรัพย์มรดกตอบว่าเอาไว้เผาศพผู้ตายเสียก่อน ดังนี้ ย่อมไม่ใช่เป็นการตกลงแบ่งมรดกกันแล้ว คงเป็นแต่เพียงพูดกันเรื่องจะแบ่งมรดกเท่ารนั้น ใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 แห่ง ป.ม.แพ่งฯ อันจะทำให้อายุความสดุดหยุดลง
(อ้างฎีกาที่ 30/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงแบ่งมรดกยังไม่สมบูรณ์ อายุความไม่สะดุด
ผู้รับมรดกคนหนึ่งพูดถามผู้รับมรดกซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกอยู่ว่าเมื่อไรจะแบ่งมรดกผู้ครอบครองทรัพย์มรดกตอบว่าเอาไว้เผาศพผู้ตายเสียก่อน ดังนี้ย่อมไม่ใช่เป็นการตกลงแบ่งมรดกกันแล้ว คงเป็นแต่เพียงพูดกันเรื่องจะแบ่งมรดกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง(อ้างฎีกาที่ 30/2481)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยศาล แม้โจทก์มิได้ฟ้องแบ่งโดยตรง และข้อยกเว้นสำหรับพระภิกษุ
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินและเรือนจากจำเลยโดยอ้างว่ามรดกยกให้โจทก์แต่ผู้เดียว แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นมรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์และจำเลย ดังนี้ ศาลก็อาจพิพากษาให้โจทก์รับส่วนแบ่งไปได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 142 ส่วนข้อที่ผู้ส่วนควรได้มรดกจะมีอยู่นั้นก็เป็นเรื่องของผู้นั้นจะต้องร้องขอเข้ามาเอง หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่
ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1622 เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้พระภิกษุเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม แต่ถ้าพระภิกษุถูกฟ้องเป็นจำเลยแล้ว ศาล พิพากษาให้พระภิกษุได้รับส่วนแบ่งมรดกด้วย ก็ไม่เป็นการขัดหับ ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1622

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการฟ้องแย้งสิทธิในทรัพย์สิน ศาลพิพากษาตามส่วนแบ่งที่ปรากฏ แม้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมิได้ร้องขอ
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินและเรือนจากจำเลยโดยอ้างว่ามารดายกให้โจทก์แต่ผู้เดียว แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นมรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์และจำเลย ดังนี้ ศาลก็อาจพิพากษาให้โจทก์รับส่วนแบ่งไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ส่วนข้อที่ผู้มีส่วนควรได้มรดกอาจจะมีอยู่นั้นก็เป็นเรื่องของผู้นั้นจะต้องร้องขอเข้ามาเองหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้พระภิกษุเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมแต่ถ้าพระภิกษุถูกฟ้องเป็นจำเลยแล้วศาลก็พิพากษาให้พระภิกษุได้รับส่วนแบ่งมรดกด้วย ก็ไม่เป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินหลังคดีกรรมสิทธิ์สิ้นสุด และผลกระทบต่อทายาทที่รับมรดก
บิดาเป็นความพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่กับผู้อื่น แล้วบิดาตายในระหว่างคดี บุตรคนหนึ่งเข้ารับมรดกความดำเนินคดีต่อมาอีกราว 2 ปี คดีถึงที่สุดบิดาชนะคดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท และปรากฏด้วยว่าทายาทของบิดาต่างก็มิได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทนี้ดังนี้ทายาทอื่นฟ้องทายาทผู้รับมรดกความ ขอแบ่งมรดกที่ดินแปลงนี้ เมื่อภายหลังที่ศาลชี้ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทราว 1 เดือนได้ แม้จะเป็นเวลาที่เจ้ามรดกตายแล้วเกิน 1 ปีก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพินัยกรรมปลอมและการแบ่งมรดก กรณีทรัพย์สินจากการสมรสเดิม
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์มีสินเดิมและสินสมรสกับบิดาโจทก์ มารดาโจทก์ถึงแก่กรรม จึงตกทอดเป็นมรดกได้แก่โจทก์กับน้องและบิดา ต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอีก จำเลยเป็นภรรยาน้อยบิดาโจทก์ ไม่มีสินเดิมได้นำสำเนาพินัยกรรมปลอมไปอ้างขอรับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลทำลายพินัยกรรมปลอมนั้น ถ้าเป็นพินัยกรรมจริง บิดาโจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะเอาส่วนสินเดิมและสินสมรสของมารดาโจทก์ไปทำได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเอาทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องขายทอดตลาดแบ่งกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพินัยกรรมที่โต้เถียงเป็นพินัยกรรมจริงแล้ว และข้อที่โจทก์ว่าบิดาโจทก์เอาสินบริคณห์ระหว่างมารดาโจทก์กับบิดาโจทก์มาทำพินัยกรรมยกให้จำเลยเป็นการไม่ชอบนั้น ก็ได้ความว่าบิดาโจทก์แต่งงานอยู่กินกับจำเลยมาร่วม 20 ปีเศษ เกิดบุตรด้วยกันหลายคน ส่วนมารดาโจทก์อยู่เมืองจีน มิได้มาอยู่ร่วมด้วยเลย และโจทก์สืบไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ได้นำทรัพย์ของมารดาโจทก์มาเป็นทุน อันเป็นทางให้เกิดสมรสอย่างใด ไม่มีเหตุพอที่จะให้รับฟังได้ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างเป็นส่วนของมารดาโจทก์ ฉะนั้นเมื่อบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมให้จำเลย ก็ไม่มีทางจะแบ่งให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: ศาลไม่อาจแบ่งทรัพย์สินหากข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนเพียงพอ
มาตรา 142(2) แห่ง ป.ม.วิ.แพ่งที่บัญญัติว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใดใดเป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่า โจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้ นั้น ถ้าข้อเท็จจริงในคดีนั้นยังไม่ชัดเจนพอที่จะให้แบ่งส่วนกันออกไปอย่างไรแล้วศาลก็ไม่อาจแบ่งให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินหลังเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบแล้ว ไม่ถือเป็นการสละมรดกหรือประนีประนอมยอมความ
ทายาทด้วยกันต่างโต้แย้งคัดค้านการประกาศรับมรดกที่ดินของซึ่งกันและกันเจ้าพนักงานที่ดินจึงเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 52 โดยสั่งให้ลงชื่อทายาทบางคนลงในโฉนดแปลงหนึ่ง และสั่งให้ลงชื่อทายาทอื่นลงในโฉนดอีกแปลงหนึ่ง และให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปฟ้องศาลภายใน 30 วัน เมื่อถึงกำหนดไม่มีใครไปฟ้องร้อง เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ลงชื่อทายาทในโฉนดไปตามที่ได้สั่งแล้วนั้น ดังนี้ จะถือว่าทายาทคนที่ไม่ถูกลงชื่อในโฉนดได้สละมรดกส่วนของตนในโฉนดนั้นยังไม่ได้ และจะว่าเป็นการปรานีประนอมยอมความก็ไม่ได้ ทายาทผู้ไม่ถูกลงชื่อในโฉนดนั้น ย่อมมีสิทธิมาฟ้องขอแบ่งที่ดินนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกที่ดินโดยเจ้าพนักงานที่ดินและการใช้สิทธิเรียกร้องของทายาท
ทายาทด้วยกันต่างโต้แย้งคัดค้านการประกาศรับมรดกที่ดินของซึ่งกันและกัน เจ้าพนักงานที่ดินจึงเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 52 โดยสั่งให้ลงชื่อทายาทบางคนลงในโฉนดแปลงหนึ่ง และสั่งให้ลงชื่อทายาทอื่นลงในโฉนดอีกแปลงหนึ่ง และให้ฝ่ายที่ไม่พอใจไปฟ้องศาลภายใน 30 วันเมื่อถึงกำหนดไม่มีใครไปฟ้องร้อง เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ลงชื่อทายาทในโฉนดไปตามที่ได้สั่งแล้วนั้น ดังนี้ จะถือว่าทายาทคนที่ไม่ถูกลงชื่อในโฉนดได้สละมรดกส่วนของตนในโฉนดนั้นยังไม่ได้ และจะว่าเป็นการประนีประนอมยอมความก็ไม่ได้ ทายาทผู้ไม่ถูกลงชื่อในโฉนดนั้น ย่อมมีสิทธิมาฟ้องขอแบ่งที่ดินนั้นต่อศาลได้ภายในกำหนดอายุความ
of 35