พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3747/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนโอนสิทธิการขายบนแผงลอย แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องบังคับได้
จำเลยตกลงโอนสิทธิการขายสินค้าบนแผงลอยในตลาดนัดเทศบาลเมืองพระประแดงแก่โจทก์โดยโจทก์เสียค่าตอบแทนให้จำเลย เป็นเงิน ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนไม่ใช่ การเช่าช่วง สัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับโอนสิทธิเช่า: ต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับคู่กรณี
ตามฟ้องได้ความว่าบริษัท ท. ได้จดทะเบียนเช่าตึกแถวจาก จำเลย ต่อมาโจทก์เข้าไปอยู่ในตึกแถวดังกล่าวและเสีย ค่าเช่าให้จำเลยโดยอาศัยสิทธิของบริษัท ท. โจทก์จำเลยไม่ มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกันเกี่ยวกับตึกแถวนั้นสิทธิและ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.มีต่อกันอย่างไรจำเลยก็มิได้โต้แย้ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวมาเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน: เจตนาซื้อขายยังไม่สมบูรณ์ สิทธิยังเป็นของผู้ขาย
จำเลยยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขายที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่ ส. บุตรผู้ร้อง โดยจำเลยมอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ยื่นคำร้อง แสดงว่ามีเจตนาที่จะซื้อขายหรือโอนสิทธิครอบครองในที่พิพาทโดยทำนิติกรรมและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 4 ทวิหาได้มีเจตนาที่จะโอนหรือสละการครอบครองให้ ส. ทันทีไม่ ส. มอบที่ดินให้ผู้ร้องจัดให้ผู้อื่นเช่า เมื่อ ส. ถึงแก่กรรม จำเลยก็มายื่นขอถอน คำขอขายที่ดิน ซึ่งเจ้าพนักงานก็อนุญาตให้ถอนได้ แสดงว่าสิทธิ ครอบครองที่พิพาทยังคงเป็นของจำเลยอยู่ แม้ในระหว่างดำเนินการนี้ ส. หรือผู้ร้องจะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาท ก็ต้องถือว่าเป็นการยึดถือแทน จำเลยผู้จะขายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนใบอนุญาตสถานบริการเป็นโมฆะ กฎหมายไม่อนุญาตให้โอนสิทธิการได้รับอนุญาต
ผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับหรือห้ามไว้ ถ้าฝ่าฝืนก็มีโทษทางอาญาทั้งพระราชบัญญัติสถานบริการไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไว้ แสดงให้เห็นว่าเป็นใบอนุญาตที่ออกให้เฉพาะตัวผู้ขออนุญาตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและอาคารสถานที่ตั้งก็ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย และศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีของชาติ ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนสิทธิตามใบอนุญาตให้บุคคลอื่นหาได้ไม่ สัญญาโอนใบอนุญาตจึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่สามารถโอนไปยังผู้รับช่วงสิทธิในสัญญาเช่าซื้อได้ เว้นแต่มีการโอนสิทธิโดยตรง
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัยโจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้น ระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวัน มิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไม่โอนตามกรรมสิทธิ์รถ หากเกิดความเสียหายก่อนการโอนสิทธิ
การที่โจทก์ที่ 2 เข้าทำสัญญารับรองการเช่าซื้อของ โจทก์ที่ 1 โดยในกรณีที่โจทก์ที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์รถที่เอาประกันภัยมาเป็นของโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นการรับโอนสิทธิเรียกร้องอันมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ที่1 มีต่อผู้ให้เช่าซื้อมาเป็นของโจทก์ที่ 2 เท่านั้น หาได้รวมไปถึงสิทธิเรียกร้องที่โจทก์ที่ 1 มีต่อ จำเลยที่ 3 ตามสัญญาประกันภัยด้วยไม่ เพราะเป็นสัญญาอีก ฉบับหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อ ขณะเกิดวินาศภัยแก่รถที่เอาประกันภัย โจทก์ที่ 1 ยังอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าซื้อ สิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 3 ใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุวินาศภัยย่อมเป็นของโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องจากจำเลยที่ 3 การที่โจทก์ที่ 2 จะใช้สิทธิเรียกร้องนี้ได้ก็แต่โดยโจทก์ที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2 เท่านั้น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 เพราะโจทก์ที่ 2 ได้รับโอนรถที่เอาประกันภัยมาภายหลังที่ความวินาศภัยได้ เกิดขึ้นแล้ว สิทธิอันมีอยู่ ในสัญญาประกันภัย ย่อมไม่โอนตามไป โจทก์ที่ 1 ที่ 2 เป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์ที่1 ขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายคดีของ โจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้คัดค้านจนศาลชั้นต้นสืบพยานทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นและ วินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่จะคัดค้าน กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 จำเลยจึงหมด สิทธิที่จะยกข้อคัดค้านเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจากการชนที่เกิดขึ้นระหว่างระยะเวลาประกันภัยย่อมหมายความว่า ความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดมีเฉพาะแต่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ เท่านั้น ความเสียหายเนื่องจากขาดรายได้ประจำวันมิใช่ความเสียหายต่อตัวรถและอุปกรณ์ จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาเช่าซื้อและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย สิทธิสมบูรณ์ของผู้รับโอน
เดิม ธ. ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 2 ต่อมา ธ. ได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินดังกล่าวให้แก่ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 2 จนครบถ้วนแล้ว แต่ยังไม่ทันได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 2 ก็ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนี้หนี้ขอรับชำระจึงเป็นหนี้ที่มีมูลมาจากการเช่าซื้อที่ดินซึ่งเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจาก ธ. ผู้เช่าซื้อเดิม อันเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 และเจ้าหนี้ เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อนี้มาโดยชอบตามมาตรา 303 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการโอนสิทธิเรียกร้องก็ทำโดยถูกต้องสมบูรณ์ตามมาตรา 306 โดย ธ. ผู้โอนได้บันทึกการโอนสิทธิเป็นหนังสือ และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธินั้นได้บันทึกยินยอมไว้เป็น หนังสือในสัญญาเช่าซื้อโดยแจ้งชัด เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จึงมีสิทธิสมบูรณ์ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ โดยชอบ และกรณีไม่จำต้องมีการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อกัน ใหม่ระหว่างเจ้าหนี้ผู้รับโอนกับจำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าซื้ออีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินทับซ้อน: ผู้รับโอนไม่มีสิทธิมากกว่าผู้โอนเดิม
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 การที่ ส.และศ.บุตรจำเลยขอออก น.ส.3 สำหรับที่ดินของตนซึ่งมีเขตติดต่อกับที่พิพาทในภายหลังทับที่ดินพิพาท จึงเป็นการ กระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่พิพาทแต่ ประการใด ผู้ร้องซึ่งรับโอนที่พิพาทตาม น.ส.3 จาก ส.และศ.จึงไม่มีสิทธิในที่พิพาทยิ่งไปกว่าผู้โอน ผู้ร้อง จะมาใช้สิทธิ ร้องขัดทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน การบอกกล่าวหนี้ และยินยอมของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ ม. โดย ให้ผ่อนชำระราคาต่อมา ม. โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ก. โดย ล. ยินยอม แล้ว ก. โอนขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ว.อีกทอดหนึ่ง ในการโอนขายสิทธิกันระหว่างก. กับ ว. นั้น ได้ทำหนังสือสัญญาโอนกันตามเอกสารหมาย จ.2 ต่อหน้า ล. และจำเลย จำเลยในฐานะตัวแทนของ ล. ได้ลงชื่อเป็นพยานในเอกสารหมาย จ.2 ด้วย เมื่อ ว. รับโอนสิทธิมาแล้วก็ได้ผ่อนชำระราคาที่ดินต่อจากผู้จะซื้อคนก่อน ๆ ให้แก่จำเลย จำเลยก็รับชำระและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ ว. ดังนี้ถือได้ว่าเอกสารหมาย จ.2 เป็นหนังสือบอกกล่าวการโอนหนี้ไปยัง ล.ลูกหนี้และล. ได้ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 แล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล. ต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิซื้อขายที่ดินและการบอกกล่าวการโอนหนี้ การยินยอมของลูกหนี้ทำให้ผู้โอนสิทธิผูกพันตามสัญญา
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ ม. โดย ให้ผ่อนชำระราคาต่อมา ม. โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ก.โดย ล.ยินยอม แล้ว ก.โอนขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ว.อีกทอดหนึ่ง ในการโอนขายสิทธิกันระหว่าง ก. กับ ว. นั้น ได้ทำหนังสือสัญญาโอนกันตามเอกสารหมายจ.2ต่อหน้า ล. และจำเลย จำเลยในฐานะตัวแทนของ ล. ได้ลงชื่อเป็นพยานในเอกสารหมายจ.2ด้วย เมื่อ ว. รับโอนสิทธิมาแล้วก็ได้ผ่อนชำระราคาที่ดินต่อจากผู้จะซื้อคนก่อนๆให้แก่จำเลยจำเลยก็รับชำระและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ ว. ดังนี้ถือได้ว่าเอกสารหมายจ.2เป็น หนังสือบอกกล่าวการโอนหนี้ไปยัง ล. ลูกหนี้และล. ได้ ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 แล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล. ต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ดังกล่าว