พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การไม่ถือกำหนดเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ + เหตุสุดวิสัย ทำให้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
โจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ แม้จำเลยจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามเวลาที่กำหนด สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จำเลยเช่าซื้อจำเลยอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแม้ได้ชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินก็ประกาศให้จำเลยทราบด้วยว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินกลับคืนมาจำเลยเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีก ถือได้ว่าการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงมิได้ผิดนัด
จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จำเลยเช่าซื้อจำเลยอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแม้ได้ชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินก็ประกาศให้จำเลยทราบด้วยว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินกลับคืนมาจำเลยเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีก ถือได้ว่าการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงมิได้ผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนและการบังคับคดี
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และโจทก์จะต้องจ่ายเงิน 40,000 บาท ภายในกำหนดวันดังกล่าว โจทก์จำเลยจึงต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนอันมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ปรากฏว่าในวันที่ 28 เมษายน 2538 จำเลยพร้อมที่จะรื้อถอนออกจากที่ดินของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดวันนัด หากได้เงินโจทก์นำมามอบให้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในวันนัดโจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาที่จะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลยแต่อย่างไร แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามสัญญา กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้ ดังนี้โจทก์จึงยังบังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีทางปกครองและการเทียบเคียงบทบัญญัติละเมิดเมื่อไม่มีกำหนดเวลาเฉพาะ
ในคดีปกครองหากผู้ใดถูกกระทบสิทธิจากการกระทำหรือคำสั่งทางปกครอง ผู้นั้นย่อมต้องใช้สิทธิฟ้องร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด กำหนดเวลาดังกล่าวหาใช่อายุความตามหลักแห่งกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายแพ่งไม่ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2495 มาตรา 103 ประกอบ พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2485 มาตรา 60 (2) และ 62 โดยเป็นการสั่งการฝ่ายเดียวในทางปกครองที่มุ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งสิทธิหรือหน้าที่หรือสถานภาพทางกฎหมายของจำเลยจึงเป็นคำสั่งทางปกครองมิใช่นิติกรรมตาม ป.พ.พ. ต้องใช้กำหนดเวลาทางปกครองปรับแก่คดี แต่เมื่อพิจารณาตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏกำหนดเวลาในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาล จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ลักษณะละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 4 วรรคสอง ประกอบมาตรา 448 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการสอบสวนและมิได้สอบสวนให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามกฎหมายและคำสั่งดังกล่าวกระทบสิทธิของโจทก์จนเกิดความเสียหาย โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันล่วงสิทธิ เมื่อกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496 ซึ่งถือเป็นวันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้ที่โจทก์จะพึงใช้สิทธิฟ้องร้องแล้ว โจทก์จะต้องฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2537 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการล่วงสิทธิและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้อง คดีโจทก์จึงพ้นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องร้อง
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ถูกกระทำละเมิดในปี 2533 เพราะมิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตาม พ.ร.ก.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2533 นั้น ในวันดังกล่าวมิใช่วันล่วงสิทธิ แต่เป็นผลกระทบมาจากคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496
ส่วนที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ถูกกระทำละเมิดในปี 2533 เพราะมิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพตาม พ.ร.ก.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2533 นั้น ในวันดังกล่าวมิใช่วันล่วงสิทธิ แต่เป็นผลกระทบมาจากคำสั่งที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2496
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิคัดค้าน, กำหนดเวลา, และการวินิจฉัยของศาล
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องว่าในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดและโจทก์กระทำการโดยไม่สุจริตก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และมาตรา 296 วรรคสอง โดยจำเลยจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า8 วัน นับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น ปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยไปนั้นก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แต่ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: กำหนดเวลาอุทธรณ์ และสิทธิผู้รับประโยชน์
ได้มีการส่งต้นฉบับหนังสือแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินไปยังบ้านหรือภูมิลำเนาของโจทก์แล้ว โดยไม่มีการส่งเอกสารดังกล่าวไปยังบ้านบุคคลอื่น และกรณีเป็นเพียงเขียนชื่อถนนผิดพลาดไปเท่านั้น ดังนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2533 แล้ว โดยไม่จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในสำเนาใบตอบรับในประเทศเอกสารหมาย ล.2 แผ่นที่ 3 มาพิจารณาประกอบ ฉะนั้นที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาโต้แย้งเกี่ยวกับการรับฟังเอกสารหมาย ล.2แผ่นที่ 3 นั้น ไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงดังที่วินิจฉัยมาแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ต่อจำเลยที่ 3 ในวันที่ 1ตุลาคม 2533 จึงพ้น 60 วัน ซึ่งเป็นกำหนดเวลาการใช้สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 วรรคหนึ่งโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทน กล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 16 วรรคสอง, 29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้รับประโยชน์ภาระติดพันในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนอันเป็นทรัพยสิทธิประเภทหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น หาใช่บุคคลผู้มีสิทธิรับเงินค่าทดแทน กล่าวคือ มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้เช่าทรัพย์สิน หรือผู้เสียสิทธิในการใช้ทาง วางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินในที่ต้องเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้รับประโยชน์ที่จะได้รับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 16 วรรคสอง, 29 โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าทดแทนโดยลำพังตนเองได้ตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว และโจทก์ที่ 2ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่ 3 และไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีและกำหนดเวลาการยื่นบัญชีระบุพยาน: ศาลต้องพิจารณาคำขอเลื่อนคดีก่อนสั่งงดสืบพยาน
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน นั้น หมายความว่าจะต้องเป็นวันนัดที่ได้มีการสืบพยานกันจริง ๆ แต่ถ้าหากถึงวันนัดแล้วศาลอนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลื่อนคดีได้ก็ไม่ถือว่าวันนัดดังกล่าวเป็นวันนัดสืบพยานตามความหมายของมาตรา 88 วรรคสอง
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระ ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายโจทก์มาศาลและแถลงขอเลื่อนคดีอ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ซึ่งต้องเบิกความเป็นพยานต่อศาลติดธุระ ไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาสั่งเกี่ยวกับการขอเลื่อนคดีของโจทก์เสียก่อนเพราะถ้าหากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีได้วันนัดดังกล่าวก็ไม่เป็นวันนัดสืบพยานตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง และโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งใหม่ให้ถูกต้องได้ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งงดสืบพยานโจทก์เสียก่อนโดยไม่ได้พิจารณาสั่งเรื่องการขอเลื่อนคดีของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง
โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายโดยขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 ก แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2089/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง: การรับมอบงานโดยปริยาย, การชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวด, และการไม่ถือเอากำหนดเวลาเป็นสำคัญ
นับแต่วันทำสัญญา โจทก์ทำงานถึงปีเศษแต่ยังไม่เสร็จสิ้นแล้วโจทก์ก็ละทิ้งงาน จำเลยจึงหาช่างมาดำเนินการต่อ ดังนี้การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการรับมอบงานในส่วนที่โจทก์ทำไปแล้วโดยปริยาย โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างในการก่อสร้างในส่วนดังกล่าว และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามก่อนที่จะฟ้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ตรงตามระยะเวลาในสัญญา เมื่อปรากฏตามสัญญาว่าจ้างว่าจำเลยจะต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์งวดละ 200,000 บาทงวดสุดท้ายชำระส่วนที่เหลือทั้งหมด แต่จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์เฉพาะในงวดที่ 3,4 และ 5 งวดละ 100,000 บาทโดยจำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างไม่ครบตามรายการสัญญาและแม้เป็นความจริงว่าโจทก์ได้ก่อสร้างครบรายการตามสัญญาแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ไม่ถือว่าจำเลยชำระค่าจ้างไม่ตรงตามงวดเป็นการผิดสัญญาคงทำงานให้จำเลยต่อไป จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา ตามสัญญาจ้างมิได้ระบุวันเริ่มต้นทำการงานกันไว้คงระบุเพียงให้แล้วเสร็จภายใน 160 วัน แต่โจทก์ทำงานไม่เสร็จในระยะดังกล่าว และจำเลยยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป แสดงว่าจำเลยมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาทำงานให้เสร็จเป็นสำคัญจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาชำระหนี้และการเกิดสิทธิเรียกร้อง
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลย เพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ 45 ถึง 60 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้ว ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงิน เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย: กำหนดเวลาตามมาตรา 3 เตรส ป.รัษฎากร มีผลบังคับใช้โดยเฉพาะ
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2532 โจทก์ถูกหักภาษีเงินได้ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แห่ง ป.รัษฎากร เมื่อมาตรา 3 เตรสบัญญัติให้นำ ป.รัษฎากร มาตรา 63 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการและกำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แม้ผู้ถูกหักภาษี ณที่จ่าย จะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 63 ดังกล่าวกล่าวคือ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2532โจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเงิน 2,384,806.31 บาท แต่โจทก์ประกอบการมีผลขาดทุนสุทธิ 6,137,459.23 บาท อันเป็นผลให้ไม่มีเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายจำนวนดังกล่าวคืนโดยโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2532ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย กล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2535 แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2536 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่โจทก์
เมื่อกรณีของโจทก์มีบทบัญญัติมาตรา 3 เตรส แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้นำกำหนดเวลาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำอายุความหรือกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30 (ปัจจุบัน) และ ป.รัษฎากร มาตรา27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับกรณีทั่วไปมาใช้บังคับได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การจำเลยประกอบข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลเพียงพอต่อการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบที่จะกระทำได้ และหามีผลทำให้คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทไม่เป็นไปโดยเที่ยงธรรมไม่
เมื่อกรณีของโจทก์มีบทบัญญัติมาตรา 3 เตรส แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้นำกำหนดเวลาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 63มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำอายุความหรือกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 (เดิม) หรือมาตรา 193/30 (ปัจจุบัน) และ ป.รัษฎากร มาตรา27 ตรี ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับกรณีทั่วไปมาใช้บังคับได้
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การจำเลยประกอบข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลเพียงพอต่อการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแล้ว การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบที่จะกระทำได้ และหามีผลทำให้คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทไม่เป็นไปโดยเที่ยงธรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต้องยื่นภายใน 3 ปี ตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร แม้มีบทบัญญัติอื่น
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2532โจทก์ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งตามมาตรา 3 เตรสแห่ง ประมวลรัษฎากร เมื่อมาตรา 3 เตรส บัญญัติให้นำประมวลรัษฎากรมาตรา 63 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการและกำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมการขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 3 เตรส แม้ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับมาตรา 63 ดังกล่าว กล่าวคือ ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องยื่นคำร้องขอคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษีเกินไปในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 ถึงวันที่30 มิถุนายน 2532 ประกาศกระทรวงถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นจำนวนเงิน 2,384,806.31 บาท แต่โจทก์ประกอบการมีผลขาดทุนสุทธิ 6,137,459.23 บาท อันเป็นผลให้ไม่มีเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย จำนวนดังกล่าวคืนโดยโจทก์ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2532 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายแห่งปีที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย กล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2535 แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายต่อเจ้าพนักงานประเมินเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2536 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายแก่โจทก์ เมื่อกรณีของโจทก์มีบทบัญญัติมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติให้นำกำหนดเวลาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 มาใช้บังคับโดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจนำอายุความหรือกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) หรือมาตรา193/30(ปัจจุบัน) และประมวลรัษฎากร มาตรา 27 ตรีซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้กับกรณีทั่วไปมาใช้บังคับได้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำฟ้องและคำให้การจำเลยประกอบข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลเพียงพอต่อการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทแล้วการที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบที่จะกระทำได้ และหามีผลทำให้คำวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทไม่เป็นไปโดยเที่ยงธรรมไม่