พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินและการพิสูจน์หนี้จากเอกสารสัญญาและสัญญาประนีประนอมยอมความ
เอกสารคำมั่นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับจำเลย ลงวันที่ 7ธันวาคม 2496 มีข้อความสำคัญว่า. จำเลยมอบฉันทะให้เจ้าหนี้รับเงินค่ารับเหมาส่งหินจากกรมทางหลวงแผ่นดิน495,980 บาท. และเพื่อเป็นการตอบแทน. เจ้าหนี้จึงจ่ายเงินให้จำเลย 450,000บาท. เมื่อพิจารณาเอกสารนี้รวมกับหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลแพ่งคดีดำที่ 875/2506ระหว่างบริษัทสหธนกิจ โจทก์. บริษัทไทยนิยมพาณิชย์ จำเลยซึ่งมีข้อความว่า'ข้อ 2 จำเลยยอมให้เอาหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้โจทก์ตามข้อ 1 ไปหักกับดอกเบี้ยรายต้นเงิน 336,000 บาท ที่โจทก์ยังไม่ได้ฟ้องอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี. ซึ่งยังค้างอยู่ถึงวันนี้.....'ตามคำขอรับชำระหนี้รายการอันดับ 4 รายพิพาทมีความว่า '4.หนี้เงินกู้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2496 ต้นเงินเดิม450,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีลูกหนี้ผ่อนต้นมาคงค้างต้น 336,000 บาท' แสดงว่าหนี้ราย 336,000 บาทคือหนี้ราย 450,000 บาทแต่เดิมนั่นเอง. เมื่อพิจารณาเอกสารคำมั่นสัญญาและสัญญาประนีประนอมยอมความประกอบกันแล้ว.เห็นได้ชัดว่าจำเลยกู้เงินจำนวนดังกล่าวจากเจ้าหนี้.เอกสารทั้งสองฉบับนี้รวมกันจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ. ดังนั้น. การที่เจ้าหนี้นำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นหนี้เงินกู้. จึงหาใช่นำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานชัดเจน ไม่พอฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
เอกสารที่อ้างเป็นหลักฐานการกู้ยืมมีข้อความว่า " ฯลฯ พักนี้เงินของฉันถอนเงินห้าพันบาทมาซื้อผ้าผวยไว้ขายหมดแล้วไม่มีเงินซื้อของ ฯลฯ พักนี้งาลงราคา ฯลฯ ฉันจะยืมเงินมณีมาซื้อของสัก 5 พันบาท หรือ 4 พันบาทก็ได้ จะรีบเข้าหุ้นส่วนซื้องาเก็บไว้ขายปลายปีนี้ ถ้าเหลือเงินให้รีบส่งมาโดยเร็ว ฯลฯ เงินฉันยังขาดอีกหลายพันบาทถ้ามีให้รีบส่งมา" ข้อความในเอกสารดังกล่าวนี้ฟังได้เพียงว่า ผู้ยืมแสดงเจตนาขอยืมเงินจากผู้ให้ยืมเท่านั้น ส่วนผู้ยืมจะได้รับเงินไปจากผู้ให้ยืมตามที่ขอยืมหรือไม่ จำนวนเท่าใดหาได้มีข้อความหรือเอกสารอื่นใด ลงลายมือผู้ยืมเป็นหลักฐานไม่ เอกสารดังกล่าวจึงไม่พอฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม ฉะนั้น โจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อสุกรไม่ใช่การกู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องได้
จำเลยรับเงินไปจากโจทก์โดยจำเลยตกลงจะไปซื้อสุกรมาส่งให้โจทก์ ดังนี้หาใช่จำเลยตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 559/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสุกร: ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยรับเงินไปจากโจทก์โดยจำเลยตกลงจะไปซื้อสุกรมาส่งให้โจทก์ ดังนี้ หาใช่จำเลยตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: จดหมายหลายฉบับรวมกันเป็นหลักฐานได้ หากแสดงเจตนาและจำนวนเงินชัดเจน
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่า ไม่ต้องการรบกวนโจทก์อีก เก่ายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละอายใจ เพียงเท่านี้ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ เพราะไม่ระบุจำนวนเงิน โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ไม่ได้
ต่อมาโจทก์ส่งดราฟท์ไปให้จำเลย จำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับดราฟท์แล้ว และต่อมาจำเลยมีจดหมายอีกสองฉบับถึงโจทก์ยืนยันว่า จะใช้เงินที่ยืมให้ จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้
ต่อมาโจทก์ส่งดราฟท์ไปให้จำเลย จำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับดราฟท์แล้ว และต่อมาจำเลยมีจดหมายอีกสองฉบับถึงโจทก์ยืนยันว่า จะใช้เงินที่ยืมให้ จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแห่งสัญญากู้ยืม โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงิน: จดหมายหลายฉบับรวมกันเป็นหลักฐานได้ หากแสดงเจตนาและจำนวนเงินที่ชัดเจน
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์มีใจความว่า ไม่ต้องการรบกวนโจทก์อีก เก่ายังไม่ใช้จะเอาใหม่อีกจำเลยละอายใจ เพียงเท่านี้ไม่ใช่ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ เพราะไม่ระบุจำนวนเงินโจทก์ จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนนี้ไม่ได้
ต่อมาโจทก์ส่งดราฟท์ไปให้จำเลย จำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับดราฟท์แล้วและต่อมาจำเลยมีจดหมายอีกสองฉบับถึงโจทก์ยืนยันว่า จะใช้เงินที่ยืมให้ จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็น หนังสือแห่งสัญญากู้ยืมโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้
ต่อมาโจทก์ส่งดราฟท์ไปให้จำเลย จำเลยมีจดหมายตอบว่าได้รับดราฟท์แล้วและต่อมาจำเลยมีจดหมายอีกสองฉบับถึงโจทก์ยืนยันว่า จะใช้เงินที่ยืมให้ จดหมายทั้งหมดประกอบกันเป็นหลักฐานเป็น หนังสือแห่งสัญญากู้ยืมโจทก์จึงฟ้องเรียกเงินจำนวนหลังนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเรื่องการกู้ยืมเงินและโอนที่ดินชำระหนี้ ศาลฎีกาพิจารณาได้ตามข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การ
ศาลเป็นผู้พินิจพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยตามที่นำสืบมาในสำนวน การตรวจพิจารณาลายเซ็นชื่อของโจทก์ในสัญญากู้เปรียบเทียบกับลายเซ็นชื่อของโจทก์ในเอกสารต่างๆ ตามที่ปรากฏในสำนวนก็เป็นการพิจารณาอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจกระทำได้
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาส่วนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาท โดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยไป 5,000 บาท ต่อมาไม่มีเงินชำระเงินต้น โจทก์จึงเอาส่วนพิพาทตีราคาใช้หนี้จำเลยในราคา 3,000 บาท โดยทำสัญญายกสวนให้จำเลย ดังนี้ จำเลยย่อมนำสืบได้ ส่วนการที่ต้องทำสัญญาเป็นสัญญายกให้ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขัดข้องที่จะทำสัญญาเป็นสัญญาซื้อขาย จึงต้องทำเป็นสัญญายกให้ตามที่เจ้าหน้าที่ชี้แจง ซึ่งเป็นการนำสืบแสดงถึงเหตุที่ต้องทำเป็นสัญญายกให้เท่านั้น ถึงแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้ง จำเลยก็นำสืบได้ มิใช่จำเลยนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารและนำสืบนอกประเด็นข้อต่อสู้แต่อย่างใด
ข้อที่ว่าจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่าได้มีการชำระหนี้ 3,000 บาทมาแสดงต่อศาล โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นี้ ฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินของภริยาโดยไม่ผูกพันสินบริคณห์ และสิทธิยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อชำระหนี้
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงินจึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากการกู้ยืมเงิน ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือมีการเวนคืน/แทงเพิกถอนสัญญา
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยกู้โจทก์จำเลยต่อสู้ว่าได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์แล้วและฟ้องแย้งเรียกเงินที่ชำระเกินคืนจากโจทก์ด้วย เช่นนี้ เมื่อหนังสือสัญญากู้ยังอยู่ที่โจทก์ โดยยังมิได้แทงเพิกถอนในเอกสารว่าได้มีการชำระหนี้หรือมีเอกสารที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้มาแสดง ย่อมจะฟังว่าจำเลยได้ชำระเงินกู้แก่โจทก์แล้วหาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 513/2501)
(อ้างฎีกาที่ 513/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 263-264/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ การพิสูจน์การใช้เงินต้องเป็นไปตามกฎหมาย
การกู้ยืมเงินที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น มีบทบัญญัติกฎหมายบังคับไว้เป็นพิเศษว่า ผู้กู้จะนำสืบการใช้เงินได้เฉพาะเท่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา 653 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น จำเลยจะสืบพยานบุคคล ได้ชำระต้นเงินกู้แล้ว แต่โจทก์ไม่คืนสัญญากู้ให้ไม่ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้ต้นเงินตามที่กฎหมายบัญญัติไว้มาแสดงต่อศาล จำเลยก็ต้องแพ้คดี