พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้, และความรับผิดจากความเสียหายจากการก่อสร้าง
จำเลยเริ่มตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2510 และตอกเสร็จภายในไม่เกินเดือนสิงหาคม 2510 ระหว่างนั้นโจทก์เคยทักท้วงจำเลยให้หาวิธีตอกอย่างอื่นแล้ว ดังนี้ความเสียหายแก่อาคารสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ซึ่งเกิดจากแรงสะเทือนในการตอกเสาเข็มหากจะมีขึ้น โจทก์ย่อมรู้ได้อยู่แล้ว เมื่อจำเลยตอกเสาเข็มเสร็จ โจทก์มายื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2512 คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายอันเกิดจากการตอกเสาเข็มของจำเลยสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้รับสภาพหนี้ จึงขาดอายุความ
โจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งรายการความเสียหายและให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 2511 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 2 ตอนรับรองจะทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์บางรายการ และวันที่ 14 ตุลาคม 2511โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้รีบจัดการแก้ไขทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหายให้เรียบร้อยด้วยเอกสารทั้งสามฉบับประกอบกัน ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับสภาพหนี้ความเสียหายของโจทก์เท่าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2511 ของจำเลยแล้วคดีโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ขาดอายุความ
กรณีน้ำเน่าไหลซึมเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เกิดขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ส่งมอบสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนซึ่งมีบ่อเกรอะสำหรับน้ำเสียไว้แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
โจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 แจ้งรายการความเสียหายและให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม 2511 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 2 ตอนรับรองจะทำการซ่อมแซมทรัพย์สินของโจทก์บางรายการ และวันที่ 14 ตุลาคม 2511โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 3 ให้รีบจัดการแก้ไขทรัพย์สินของโจทก์ที่เสียหายให้เรียบร้อยด้วยเอกสารทั้งสามฉบับประกอบกัน ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ยอมรับสภาพหนี้ความเสียหายของโจทก์เท่าที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ฉบับลงวันที่ 22 สิงหาคม 2511 ของจำเลยแล้วคดีโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ขาดอายุความ
กรณีน้ำเน่าไหลซึมเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เกิดขึ้นหลังจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ส่งมอบสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้สอยอาคารที่ปลูกสร้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกสร้างอาคารตามแบบแปลนซึ่งมีบ่อเกรอะสำหรับน้ำเสียไว้แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้าง: ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อที่ไม่ติดตั้งป้ายเตือนและรดน้ำคลุมฝุ่น
บริษัทจำเลยที่ 3 ทำการก่อสร้างถนนโดยได้ทำสัญญารับจ้างกับกรมทางหลวงตามรายการต่อท้ายสัญญาจ้าง ปรากฏว่าถนนที่ซ่อมและทำใหม่ตามแบบกว้าง 12 เมตร เป็นผิวจราจร 7เมตรเป็นไหล่ถนนข้างละ 2 เมตรครึ่ง บริษัทจำเลยที่ 3 ต้องซ่อมแซมทั้งผิวจราจรและต้องเอาดินลูกรังถมไหล่ถนนให้สูงขึ้นด้วยและเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่อาคารที่อยู่ใกล้เคียงหรือบุคคลภายนอก เนื่องจากการกระทำใดๆ ในงานนี้ ต้องให้การจราจรผ่านไปมาได้โดยสะดวก และจะต้องทำและติดตั้งป้ายจราจรเครื่องหมาย ไม้กั้น และสิ่งประกอบอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยแก่การจราจรตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้างจนกระทั่งงานเสร็จ แต่บริษัทจำเลยที่ 3 ไม่ติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนผู้ขับขี่รถให้ทราบว่ามีการก่อสร้างซ่อมถนนอยู่ข้างหน้าไม่รดน้ำไหล่ถนนที่ถมด้วยดินลูกรังซึ่งตนซ่อมแซมอยู่ เป็นเหตุให้เกิดฝุ่นตลบอันเป็นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้างสวนทางกับรถโจทก์ในถนนตรงนั้น ขับแซงรถคันอื่นเข้าชนรถโจทก์ด้วยความประมาท ทำให้รถโจทก์เสียหาย บริษัทจำเลยที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำต่อโจทก์ด้วยจะอ้างว่าไม่จำเป็นต้องรดน้ำไหล่ถนนให้ชุ่มอยู่เสมอ เพราะการรดน้ำก็เพื่อจะทำให้ดินแน่นเท่านั้น ไม่ใช่ถึงขนาดไม่ให้มีฝุ่น ดังนี้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้าง - ผู้รับเหมาต้องรับผิดชอบความปลอดภัยและบำรุงรักษาสภาพถนนระหว่างก่อสร้าง
บริษัทจำเลยที่ 3 ทำการก่อสร้างถนนโดยได้ทำสัญญารับจ้างกับกรมทางหลวงตามรายการต่อท้ายสัญญาจ้าง ปรากฏว่าถนนที่ซ่อมและทำใหม่ตามแบบกว้าง 12 เมตร เป็นผิวจราจร 7เมตร เป็นไหล่ถนนข้างละ 2 เมตรครึ่ง บริษัทจำเลยที่ 3 ต้องซ่อมแซมทั้งผิวจราจรและต้องเอาดินลูกรังถมไหล่ถนนให้สูงขึ้นด้วย และเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่อาคารที่อยู่ใกล้เคียง หรือบุคคลภายนอกเนื่องจากการกระทำใดๆ ในงานนี้ ต้องให้การจราจรผ่านไปมาได้โดยสะดวก และจะต้องทำและติดตั้งป้ายจราจรเครื่องหมาย ไม้กั้น และสิ่งประกอบอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยแก่การจราจรตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้างจนกระทั่งงานเสร็จ แต่บริษัทจำเลยที่ 3 ไม่ติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือนผู้ขับขี่รถให้ทราบว่ามีการก่อสร้างซ่อมถนนอยู่ข้างหน้า ไม่รดน้ำไหล่ถนนที่ถมด้วยดินลูกรังซึ่งตนซ่อมแซมอยู่ เป็นเหตุให้เกิดฝุ่นตลบ อันเป็นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถของจำเลยที่ 2ผู้เป็นนายจ้าง สวนทางกับรถโจทก์ในถนนตรงนั้น ขับแซงรถคันอื่นเข้าชนรถโจทก์ด้วยความประมาท ทำให้รถโจทก์เสียหาย บริษัทจำเลยที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำต่อโจทก์ด้วย จะอ้างว่าไม่จำเป็นต้องรดน้ำไหล่ถนนให้ชุ่มอยู่เสมอ เพราะการรดน้ำก็เพื่อจะทำให้ดินแน่นเท่านั้น ไม่ใช่ถึงขนาดไม่ให้มีฝุ่น ดังนี้ หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผนังปิดทางเดินแล้วให้เช่าใช้เข้าข่ายเป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้องโจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร' ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผนังปิดช่องทางเดินแล้วให้เช่าใช้ ถือเป็นการปลูกสร้างอาคาร ต้องขออนุญาต
ตรงที่พิพาทเดิมเป็นช่องทางเดินระหว่างตึก ชั้นบนเป็นห้อง โจทก์ก่อผนังตึกด้านหลังปิดช่องทางนี้ โดยมีประตูเหล็กพับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แล้วให้คนเข้าอยู่อาศัยและค้าขาย ดังนี้ เข้าลักษณะเป็น 'อาคาร'ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ.2479 แล้ว
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการปลูกสร้างอาคารตามมาตรา 7(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง: คำสั่งให้ปฏิบัติตามแบบแปลนไม่ใช่คำสั่งให้กระทำละเมิด
คำสั่งของจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ที่สั่ง ส. ผู้รับจ้างว่าให้ ส. ทำการก่อสร้างอาคารไปตามแบบแปลนที่จำเลยที่ 1 ได้ยื่นไว้ต่อเทศบาลและเทศบาลได้อนุญาตแล้วเป็นคำสั่งกำชับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยผู้ว่าจ้างกับ ส. ผู้รับจ้าง ไม่เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำการก่อสร้างอาคารของ ส. ผู้รับจ้าง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งให้ ส. ตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของ ส. ผู้รับจ้างเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากการก่อสร้าง: คำสั่งให้ปฏิบัติตามแบบแปลนไม่ถือเป็นคำสั่งให้ก่อความเสียหาย
คำสั่งของจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ที่สั่ง ส. ผู้รับจ้างว่าให้ ส. ทำการก่อสร้างอาคารไปตามแบบแปลนที่จำเลยที่ 1 ได้ยื่นไว้ต่อเทศบาลและเทศบาลได้อนุญาตแล้ว เป็นคำสั่งกำชับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยผู้ว่าจ้างกับ ส. ผู้รับจ้าง ไม่เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำการก่อสร้างอาคารของ ส. ผู้รับจ้าง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งให้ ส. ตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของ ส. ผู้รับจ้างเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1123/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างและการริบเงินวางหน้าสัญญา ต้องเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น
สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้ให้โจทก์ก่อสร้างอาคารในที่ดินของจำเลยมีข้อความว่า " ข้อ 6 ผู้รับสร้างรับรองจะดำเนินการก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนท้ายสัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี 6 เดือนนับแต่วันทำสัญญาฯลฯ" และ " ข้อ 9 หากการก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญานี้ และเมื่อผู้ให้สร้างได้บอกกล่าวให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้รับสร้างจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามสัญญาภายในกำหนดเวลาอันสมควร หากผู้รับสร้างมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญานี้ ให้ถือได้ว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ให้สร้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วัสดุภัณฑ์บรรดาที่มีอยู่และสร้างทำลงในที่ดินให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ให้สร้าง และผู้รับสร้างจะเรียกร้องขอคืนเงินส่วนใด ๆ บรรดาที่ได้วางชำระไว้แล้วตามสัญญานี้ไม่ได้" ความในสัญญาดังนี้ จำเลยผู้ให้สร้างจะริบเงินของโจทก์ที่วางไว้ได้ก็เฉพาะแต่กรณีที่การก่อสร้างได้ผิดแผกแตกต่างไปจากแบบแปลนท้ายสัญญา เมื่อผู้ให้สร้างบอกให้แก้ไขแล้ว ผู้รับสร้างไม่ปฏิบัติเท่านั้น ส่วนกรณีที่ผู้รับสร้างก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญาข้อ 6 ผู้ให้สร้างจะรับเงินที่วางไว้หาได้ไม่ เพราะนอกเหนือข้อตกลงในสัญญาข้อ 9 ทั้งสัญญาข้อ 6 ก็มิได้ตกลงให้ริบได้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้
จำเลยเป็นฝ่ายใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์ก็ไม่ขัดข้องสัญญาที่โจทก์จำเลยทำไว้ย่อมเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมเสมือนดังว่ามิได้มีสัญญาต่อกันเลยและสิ่งใดที่ส่งมอบให้แก่กันไปแล้วก็ต้องคืนให้แก่กัน แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายในเรื่องผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินที่รับไว้จากโจทก์ให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับเงินไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเงินทดรองค่าก่อสร้างและการไม่นำไปซื้อวัสดุ ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก หากเป็นหน้าที่ต้องจัดหาอยู่แล้ว
จำเลยรับเหมาก่อสร้างบ้านพักให้ ช. และขอเบิกเงินจำนวนหนึ่งจาก ช. เพื่อนำไปซื้อวัสดุก่อสร้าง ช. ก็ทดรองจ่ายเงินจำนวนนั้นให้จำเลย แต่จำเลยไม่นำเงินไปซื้อวัสดุก่อสร้าง เช่นนี้ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก เพราะจำเลยมีหน้าที่จัดหาวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว มิใช่รับเงินไปซื้อวัสดุก่อสร้างตามคำสั่งของ ช.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารละเมิดสิทธิหรือไม่: การละเลยระยะร่นตามเทศบัญญัติไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิทางแพ่ง
การปลูกสร้างอาคารชิดที่ดินของโจทก์โดยไม่ละเว้นระยะไว้ห่าง 50 เซนติเมตร ตามเทศบัญญัติซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 นั้นไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ถ้าหากจำเลยได้กระทำผิดกฎหมายนั้นก็เป็นเรื่องของเทศบาลหรือทางราชการที่จะเข้าควบคุมฟ้องร้องเอาเอง