พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษา: การกลับเข้าทำงานตามคำพิพากษา ไม่รวมถึงการนับอายุงานต่อเนื่อง หากมิได้ขอโดยชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ได้บรรยายสภาพแห่งคำขอบังคับว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน 7,159,417.58 บาท หรือให้จำเลยยกเลิกคำสั่งเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม และให้จำเลยแต่งตั้งโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่น้อยกว่าตำแหน่งและอัตราเงินเดือนที่โจทก์ได้รับขณะเลิกจ้าง โจทก์หาได้มีคำขอบังคับให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันไม่ ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในสภาพการจ้างเดิมย่อมหมายความว่าไม่นับอายุการทำงานของโจทก์ในระหว่างที่ถูกเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่อาจขอบังคับคดีให้จำเลยนับอายุการทำงานของโจทก์ติดต่อกันได้ เพราะจะเป็นการเกินไปกว่าคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่ผูกพันต่อเนื่องจนถึงการฎีกา
ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยให้จำเลยหาประกันสำหรับจำนวนเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยจนถึงวันฟังคำสั่งมาวางศาล ผู้ค้ำประกันนำที่ดินมาวางต่อศาลชั้นต้นและทำหนังสือค้ำประกันจำเลยโดยมีหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นประกันว่าถ้าจำเลยแพ้คดีโจทก์และไม่นำเงินมาชำระให้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนทั้งสิ้นเท่าใดผู้ค้ำประกันยอมให้บังคับคดีเอาจากหลักทรัพย์ที่นำมาวางไว้เป็นประกันได้ทันที ดังนี้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันฉบับนี้จะสิ้นไปก็ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาศาลใดศาลหนึ่งพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ หรือในระหว่างฎีกาได้มีการทำหนังสือค้ำประกันขึ้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอตามฟ้อง: ศาลลงโทษเกินเลยข้อหาที่โจทก์ขอไม่ได้
ฟ้อง โจทก์บรรยายว่า จำเลยต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้อาวุธปืน และข้อเท็จจริงฟังได้ดังฟ้อง แต่โจทก์ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 138 มิได้อ้างมาตรา 140 จึงลงโทษตามมาตรา 140 ไม่ได้ เพราะโทษตามมาตรา 140 สูงกว่ามาตรา138 ย่อมเป็นการเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษตามฟ้อง: ศาลต้องลงโทษตามบทที่โจทก์ขอเท่านั้น แม้ข้อเท็จจริงจะเข้าข่ายบทอื่นที่มีโทษสูงกว่า
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้อาวุธปืน แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ดังฟ้อง แต่โจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 โดยมิได้อ้างมาตรา 140 จึงลงโทษตามมาตรา 140 ไม่ได้ เพราะโทษตามมาตรา 140 สูงกว่ามาตรา 138ย่อมเป็นการเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอศาล - โทษที่เกินคำขอ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยต่อสู้ ขัดขวางเจ้าพนักงานโดย ใช้อาวุธปืน และข้อเท็จจริงฟังได้ดัง ฟ้อง แต่โจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 มิได้อ้างมาตรา 140 จึงลงโทษตามมาตรา 140 ไม่ได้ เพราะโทษตาม มาตรา 140 สูงกว่ามาตรา 138ย่อมเป็นการเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ปฏิบัติหน้าที่' ผู้นำร่อง: ไม่จำกัดเฉพาะการนำร่องเรือ แต่รวมถึงการปฏิบัติงานในฐานะผู้บริหาร
การปฏิบัติงานของผู้นำร่องตามกฎกระทรวงเศรษฐการว่าด้วยการนำร่องออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2) ข้อ 85 ต้องเป็นไปตามที่ปฏิบัติกันในหน่วยราชการทั่ว ๆ ไป โดยงานที่ปฏิบัติย่อมแตกต่างกันไปแล้วแต่ตำหน่งหน้าที่ซึ่งอาจจะเป็นงานด้านเทคนิคอันเป็นวิชาชีพพิเศษได้แก่ การนำร่องเรือ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย มิใช่ว่าจะทำเฉพาะหน้าที่นำร่องเรือเพียงอย่างเดียวโดยถือการมาปฏิบัติงาน คือ การมา ณ ที่ทำการตามวันเวลาราชการ เป็นการมาปฏิบัติหน้าที่ดังจะเห็นได้ว่ากฎกระทรวงดังกล่าว ใช้คำว่า "มาปฏิบัติหน้าที่" มิได้ใช้คำว่า "ได้ปฏิบัติหน้าที่นำร่องเรือ"
จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการนำร่องและในฐานะหัวหน้าผู้นำร่องตลอดเวลา ไม่ปรากฏว่าได้ลาหยุดหรือไม่มาปฏิบัติหน้าที่ แม้มิได้นำร่องเรือเกินสิบวันในแต่ละเดือน ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตลอดทั้งเดือน ตามกฎกระทรวงเศรษฐการฯ ข้อ 85 วรรค 2 (1) จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเฉลี่ยเงินค่าจ้างนำร่องที่ให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวง ฯ ดังกล่าว
จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการนำร่องและในฐานะหัวหน้าผู้นำร่องตลอดเวลา ไม่ปรากฏว่าได้ลาหยุดหรือไม่มาปฏิบัติหน้าที่ แม้มิได้นำร่องเรือเกินสิบวันในแต่ละเดือน ก็เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตลอดทั้งเดือน ตามกฎกระทรวงเศรษฐการฯ ข้อ 85 วรรค 2 (1) จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเฉลี่ยเงินค่าจ้างนำร่องที่ให้แก่ผู้นำร่องตามกฎกระทรวง ฯ ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6007/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคดีเฉพาะตัวจำเลย รวมถึงขอบเขตอำนาจศาลในการวินิจฉัยคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ข้อหาลักทรัพย์และยกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ข้อหารับของโจรส่วนจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ขอถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์อนุญาตดังนี้คดีเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 ย่อมถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และไม่ปรากฏว่าเหตุที่ยกฟ้องนั้นเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจหยิบยกเอาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ถอนแล้วมาวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย: ผู้รับมอบหมายทำงานและลูกจ้างที่รับเข้าทำงานตามอำนาจมอบหมายเป็นลูกจ้างของนายจ้างผู้มอบหมาย
"นายจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 แยกออกได้เป็น 2 จำพวก คือนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาและนายจ้างที่เป็นนิติบุคคลสำหรับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา นอกจากจะเป็นผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้แล้ว ยังหมายความรวมไปถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างด้วยและลูกจ้างที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างรับเข้าทำงานตามอำนาจที่นายจ้างมอบหมาย ย่อมเป็นลูกจ้างของนายจ้างผู้มอบหมายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5713/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำนิยาม “นายจ้าง” ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ครอบคลุมผู้รับมอบหมายทำงานแทนได้ แม้เป็นบุคคลธรรมดา
"นายจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 แยกออกได้เป็น 2 จำพวก คือนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดาและนายจ้างที่เป็นนิติบุคคล สำหรับนายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา นอกจากจะเป็นผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้แล้วยังหมายความรวมไปถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างด้วยและลูกจ้างที่ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างรับเข้าทำงาน ตามอำนาจที่นายจ้างมอบหมาย ย่อมเป็นลูกจ้างของนายจ้างผู้มอบหมายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4039/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวแทนขนส่งสินค้า: การพิสูจน์การเป็นผู้ร่วมรับขนส่ง
จำเลยเป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท น. ผู้ขนส่งสินค้ารายพิพาทจากประเทศโรมาเนีย เมื่อเรือบรรทุกสินค้ามาถึงท่าเรือแห่งประเทศไทย ทางเรือได้แจ้งรายการสินค้าเสียหายให้บริษัท จ. ผู้ซื้อสินค้าทราบไม่ได้แจ้งจำเลยด้วย และบริษัท จ. เป็นผู้ว่าจ้างผู้อื่นไปขนถ่ายสินค้าจากเรือดังกล่าวเอง จำเลยมีหน้าที่เพียงแจ้งการมาถึงของเรือสินค้าให้บริษัท จ. ทราบเท่านั้น จำเลยไม่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้ารายพิพาท โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้ากับบริษัท จ. จึงไม่อาจฟ้องให้จำเลยรับผิดได้