พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7327/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธินายจ้างกำหนดโบนัสตามผลประกอบการ และเจตนาของข้อตกลงระยะสั้น
ข้อตกลงในคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519ข้อ 2 ซึ่งมีผลผูกพันโจทก์ทุกคนกับจำเลยทั้งสองตลอดมานับแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบันประกอบด้วยสาระสำคัญสองส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินโบนัสแก่ลูกจ้างปีละครั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียวมีสิทธิกำหนด จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผลประกอบการของจำเลยทั้งสองเป็นรายปี การจ่ายเงินโบนัสจึงมีลักษณะเฉพาะตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในแต่ละปีไป หาได้มีบทบังคับจำเลยทั้งสองให้ต้องจ่ายเงินโบนัสเท่ากันทุกปีไม่ จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสของปีที่ผ่านมาใช้แก่การจ่ายเงินโบนัสในปีต่อไปได้เว้นแต่จำเลยทั้งสองและลูกจ้างจะตกลงให้เป็นเช่นนั้น และแต่ละปีที่ผ่านมามีการจ่ายเงินโบนัสไม่เท่ากันตามความแตกต่างของหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสของปีนั้น ๆ ที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด เมื่อปรากฏว่าผลประกอบการของจำเลยทั้งสองในปี 2536 อยู่ในระดับต่ำกว่าผลประกอบการในปี 2535 จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างในปี 2536 น้อยกว่าที่เคยจ่ายในปี 2535 ได้ ที่จำเลยทั้งสองกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 โดยจ่ายเพียงอัตราร้อยละ 50 ของการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 จึงเป็นสิทธิของจำเลยทั้งสองที่จะกระทำได้ จะถือว่าจำเลยทั้งสองปฏิบัติผิดข้อตกลงที่ทำกับผู้แทนสหภาพแรงงานอุตสาหกรรมผ้าห่มไทยและสิ่งทอฉบับลงวันที่ 22 มกราคม 2537ข้อ 5 ที่กำหนดว่า สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ที่ฝ่ายจำเลยทั้งสองเคยให้แก่ลูกจ้างจำเลยทั้งสองจะปฏิบัติต่อไปตามเดิมทุกประการ หาได้ไม่ เพราะข้อตกลงนี้กำหนดขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ 39/2519 ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วโดยจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 ให้แก่ลูกจ้างเช่นทุกปีที่ผ่านมาตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณที่จำเลยทั้งสองได้กำหนดขึ้น
สำหรับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดดังกล่าวในส่วนที่สองเป็นการกำหนดว่าหลังจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิวางหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปีแล้ว จำเลยทั้งสองต้องมีหน้าที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวนั้นให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสไม่น้อยกว่าสองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิของตนในการรับเงินโบนัสแต่ละปีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด การประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสจึงมีผลเพียงว่า ทำให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบถึงสิทธิในการรับเงินโบนัสของแต่ละปีเท่านั้น หามีผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการรับเงินโบนัสไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสแต่อย่างใด ซึ่งปรากฏว่าในแต่ละปีที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบเลย แต่จำเลยทั้งสองก็ได้จ่ายเงินโบนัสให้ทุกปี และลูกจ้างก็ยอมรับมาโดยตลอด
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา12 วรรคสอง มีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทั่วไปเท่านั้นหามีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงที่มีเจตนาให้ใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสประจำปีมีลักษณะเฉพาะให้ใช้บังคับในแต่ละปีไป จึงไม่อาจนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในเรื่องการจ่ายเงินโบนัสเพื่อให้มีผลต้องนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 แต่ประการใด
สำหรับข้อตกลงข้อ 2 ตามคำชี้ขาดดังกล่าวในส่วนที่สองเป็นการกำหนดว่าหลังจากจำเลยทั้งสองใช้สิทธิวางหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายเงินโบนัสประจำปีแล้ว จำเลยทั้งสองต้องมีหน้าที่ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวนั้นให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินโบนัสไม่น้อยกว่าสองเดือน ทั้งนี้เพื่อให้ลูกจ้างทราบถึงสิทธิของตนในการรับเงินโบนัสแต่ละปีว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด การประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสจึงมีผลเพียงว่า ทำให้ลูกจ้างแต่ละคนทราบถึงสิทธิในการรับเงินโบนัสของแต่ละปีเท่านั้น หามีผลกระทบต่อสิทธิของลูกจ้างในการรับเงินโบนัสไม่ ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสมากน้อยเพียงใดคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสที่จำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายกำหนด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสแต่อย่างใด ซึ่งปรากฏว่าในแต่ละปีที่ผ่านมาจำเลยทั้งสองไม่เคยประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเงินโบนัสให้ลูกจ้างทราบเลย แต่จำเลยทั้งสองก็ได้จ่ายเงินโบนัสให้ทุกปี และลูกจ้างก็ยอมรับมาโดยตลอด
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา12 วรรคสอง มีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทั่วไปเท่านั้นหามีผลใช้บังคับแก่ข้อตกลงที่มีเจตนาให้ใช้บังคับชั่วระยะเวลาหนึ่งเวลาใดไม่เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณการจ่ายเงินโบนัสประจำปีมีลักษณะเฉพาะให้ใช้บังคับในแต่ละปีไป จึงไม่อาจนำบทกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในเรื่องการจ่ายเงินโบนัสเพื่อให้มีผลต้องนำหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2535 มาใช้บังคับแก่การจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2536 แต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, ข้อตกลงนอกสัญญา, การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)ดังนั้นข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่าหากบริษัทง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลายมีความว่าหากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตายหรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบหรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังนี้ย่อมมีความหมายว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัทง.เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัทง. ชำระหนี้ก่อนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา691 แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนสัญญาค้ำประกันและตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนแต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32มิใช่มีอายุความ5ปีตามมาตรา193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ21ต่อปีผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ17ต่อปีตามสัญญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่6มิถุนายน2534ย้อนหลังขึ้นไป5ปีคือวันที่6มิถุนายน2529และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดีผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่าการคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามข้อตกลงตัวแทนจำหน่าย สิ้นสุดเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า เคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่า เคอนิก (KOENIG) เป็นชื่อของจำเลยที่ 1โดยชอบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักค่าวัสดุค้างชำระ: สิทธิของผู้รับโอนจำกัดตามข้อตกลง
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ร. จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้วย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308วรรคหนึ่งแล้วสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อร. ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อจำเลยได้คำนวณค่าวัสดุที่ร. ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้างจำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้างคงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนกันและการสัตยาบันข้อตกลง แม้ไม่มีตราสำคัญก็มีผลผูกพันได้
บันทึกข้อตกลงซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ล. โดย น.และ อ.กรรมการคนหนึ่งของโจทก์และจำเลย โดย อ.ลงชื่อเพียงผู้เดียวและไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ตามข้อบังคับ แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าบริษัท ล.เป็นหนี้โจทก์ จำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล. ข้อความเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า อ.ทำบันทึกข้อตกลงในนามของโจทก์นั่นเอง หาได้กระทำเป็นการส่วนตัวไม่ เมื่อโจทก์ยอมรับเอาประโยชน์จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวโดยฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามข้อตกลงนั้น ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ.กรรมการแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
การแปลงหนี้ใหม่ย่อมทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 และ 350 แต่เมื่อโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้จากบริษัท ล.อยู่ ทั้งข้อตกลงตามบันทึกก็ไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามูลหนี้เดิมตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นอันระงับสิ้นไป บันทึกข้อตกลงเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทล.มาเป็นจำเลย แต่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีข้อความว่า จำเลยยอมชำระหนี้แทนบริษัท ล.ให้แก่โจทก์ และบริษัท ล.ซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วยแล้วเช่นนี้ กรณีต้องด้วยมาตรา 314 ดังนั้นเมื่อจำเลยแสดงเจตนาจะชำระหนี้แทนบริษัท ล.และบริษัท ล.ก็ยินยอมด้วยและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงยอมรับชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงมีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวต่อโจทก์
บันทึกข้อตกลงระบุว่าจำเลยขอชำระหนี้แทนบริษัท ล.และจะผ่อนชำระให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 4 เดือน นับแต่วันทำสัญญา เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยไม่จำต้องบอกกล่าวก่อน ปัญหาที่ว่าการบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่จำต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องคดีตามบันทึกข้อตกลง มิได้ฟ้องจำเลยตามเช็คกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายัดที่ดินตัดสิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อคุ้มครองผู้ขออายัด แม้มีข้อตกลงระหว่างคู่กรณี
ตามเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83มีความมุ่งหมายเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในอันที่จะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง จนกว่าจะมีการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้ว การอายัดที่ดินจึงมีผลเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินทุกประเภทที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ขออายัดได้มิได้จำกัดอยู่เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเฉพาะประเภทที่พิพาทกันเท่านั้นและคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 228/2530 ข้อ 12 (2) ที่เปิดช่องให้มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้ในระหว่างที่การอายัดยังมีผลบังคับในกรณีที่ศาลสั่งหรือการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ไม่เสียหายแก่ผู้ขออายัด แต่ที่โจทก์ฎีกาอ้างว่า โจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้ทำสัญญาตกลงกันให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ยินยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ส.ชนะคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 425/2531 นั้น ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิที่ใช้ยันกันเองระหว่างโจทก์กับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เท่านั้น ดังนั้นหาก ส.ชนะคดีผลของคำพิพากษาย่อมไม่ผูกพันห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามป.วิ.พ.มาตรา 145 ทั้งข้อตกลงนี้ไม่ทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีอันอาจจะเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีดังกล่าวได้ ดังนั้นหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้นายสมชายชนะคดี และปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไม่ยอมจดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่ ส. ส.ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องฟ้องบังคับให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้ ซึ่งจะทำให้ ส.ได้รับความเสียหายและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจึงมีอำนาจปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการใช้ท่าเรือ: ผลผูกพันและเงินชดเชยเมื่อไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง
ก่อนที่จะทำบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง จำเลยเคยมีหนังสือร้องขอโจทก์ หลังจากนั้นมีการประชุมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่บริหารของโจทก์และจำเลยเพื่อตกลงในรายละเอียด ที่ประชุมเห็นพ้องร่วมกันกับข้อความในร่างบันทึกดังกล่าว และกำหนดแนวทางปฏิบัติโดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม2531 บันทึกดังกล่าวก็ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2531 เช่นเดียวกัน กับมีข้อความเหมือนกับร่างบันทึกดังกล่าวทุกประการ แสดงว่าคู่กรณีต่างมีเจตนาตรงกัน จึงได้ทำความตกลงตามข้อความในบันทึกดังกล่าว บันทึกดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ส่วนการที่มีเพียงจำเลยฝ่ายเดียวลงชื่อในบันทึก หาทำให้ข้อตกลงตามบันทึกใช้บังคับไม่ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขและข้อตกลงในบันทึกเป็นการต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายโจทก์ได้จัดให้จำเลยใช้ท่าเรือดังที่ระบุไว้ในบันทึกแล้ว จำเลยย่อมต้องผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบันทึกนั้น แม้โจทก์จะมิได้ลงชื่อในบันทึกก็ตาม สัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีนี้เกิดขึ้นแล้ว เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าทั้งโจทก์จำเลยได้ตกลงกันในสาระสำคัญหมดทุกข้อ ถือว่ามีสัญญาต่อกันแล้ว หาได้มีกรณีเป็นที่สงสัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 ไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหมายถึงลูกหนี้ไม่อาจปฏิบัติการชำระหนี้ได้เลย แต่ในกรณีของจำเลยปรากฏว่ามีบริษัทอื่นสามารถขนถ่ายสินค้าได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ จึงหาใช่กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติได้อันเป็นการพ้นวิสัยไม่ความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกลุ่มเรือแต่ละกลุ่มเมื่อจำเลยไม่สามารถขนถ่ายตู้สินค้าได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินชดเชยการใช้ท่าจากจำเลยได้ตามข้อตกลงในบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง
ตามบันทึกการขอทดลองใช้ท่าเพื่อลดความคับคั่ง ข้อ 4.1 ระบุว่าหากจำเลยขนถ่ายตู้สินค้าเข้า-ออกได้ไม่เท่าจำนวนปีละ 144,000 ทีอียู จำเลยจะต้องจ่ายเงินชดเชยการใช้ท่าให้แก่โจทก์ โดยคิดเมื่อครบรอบ 1 ปี หรือเมื่อโจทก์มีคำสั่งยกเลิกการใช้ท่าเพราะเห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไปได้และข้อ 4.3 ระบุว่าหากจำเลยประสงค์จะเลิกการใช้ท่า ให้แจ้งแก่โจทก์ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 3 วัน และหากขนถ่ายตู้สินค้าไม่ได้ตามเกณฑ์ในข้อ 4.1ให้คิดเงินชดเชยโดยถือวันสุดท้ายที่เรือของจำเลยออกจากท่าเป็นวันรวมเวลาคำนวณจำนวนตู้ ตามบันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่มิได้กำหนดเงื่อนเวลาสิ้นสุดไว้ ข้อตกลงจะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้มีการบอกเลิกของคู่กรณีดังที่กำหนดไว้ ส่วนระยะเวลา 1 ปีที่ระบุไว้ในข้อ 4.1 เป็นเพียงการกำหนดให้มีการคิดเงินชดเชยกันเมื่อครบรอบ 1 ปีแล้วเท่านั้น หาใช่เงื่อนเวลาสิ้นสุดของข้อตกลงตามบันทึกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าทายอำนาจฟ้อง: ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามข้อตกลงได้ชอบธรรม
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้ จำเลยยอมแพ้ แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้ โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่น เมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า "ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้จริง" ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วส่วนข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งว่าจำเลยมีสิทธิที่จะถามค้านโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา117 นั้น เป็นข้อที่นอกเหนือไปจากคำท้าไม่อาจดำเนินการให้ได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกรอบที่คู่ความตกลงท้ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการท้าสู้คดีโดยอิงจากคำเบิกความ การปฏิบัติตามข้อตกลง และการคืนค่าขึ้นศาล
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยยอมแพ้แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่นเมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า"ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้จริง"ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วจำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาชั้นละ200บาทตามตาราง1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสมควรในสัญญากู้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลย ข้อ 2.1 ก. กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 14.50 ต่อปี แต่สัญญาข้อ 2.4 มีข้อความระบุว่า "ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงิน และ/หรือดอกเบี้ยตามจำนวน และ/หรือกำหนดเวลาที่ระบุตามข้อ 3ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้บริษัทเงินทุนสามารถเรียกเก็บได้จากลูกค้าเงินกู้แทนอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 2.1, 2,2 และ 2.3 ข้างต้น" โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันไว้ได้ แต่ปรากฏว่าข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ถ้าเบี้ยปรับกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383