คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าราชการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการลักทรัพย์ของทางราชการ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294(4)
จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอนับว่าเป็นข้าราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณประเภทเงินเดือนไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของกระทรวงทบวงกรม และไม่มี กฎหมายบทมาตราใดที่จะแสดงว่ากระทรวงทบวงกรมเป็นนายจ้างของข้าราชการเช่นจำเลย ดังนี้เมื่อจำเลยลักธนบัตรอันเป็นเงินเพื่อใช้สำหรับราชการจำเลยจึงมีความผิดตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294(4) หาใช่มาตรา 294(5) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างบริษัทที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ: เงินเดือนไม่ถือเป็นเงินเดือนข้าราชการ
บริษัทซึ่งมีลักษณะเหมือนบริษัททั่ว ๆ ไปแม้จะได้รับเงินจากรัฐบาลเป็นรายปีเพื่อดำเนินกิจการ และอยู่ในความดูแลของรัฐบาลก็ตาม ก็เป็นเรื่องภายในของบริษัท เงินเดือนของคนงานของบริษัทจึงไม่ใช่เงินเดือนของข้าราชการหรือคนงานของรัฐบาลตาม วิ.แพ่ง ม. 286 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานแจ้งความเท็จในการเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางของข้าราชการ โดยข้าหลวงประจำจังหวัดมีหน้าที่พิจารณาอนุมัติ
ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จะพิจารณาและสั่งอนุญาตเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าพาหนะเดินทางของข้าราชการ เมื่อจำเลยทำใบสำคัญเท็จมาแสดง เพื่อขอเบิกเงินตามใบสำคัญนั้น ก็อาจทำให้ข้าหลวงประจำจังหวัด หรือรัฐบาลเสียหายได้ จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 118,

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานแจ้งความเท็จเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางของข้าราชการ โดยข้าหลวงประจำจังหวัดมีอำนาจพิจารณาเบิกจ่าย
ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จะพิจารณาและสั่งอนุญาตเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าพาหนะเดินทางของข้าราชการเมื่อจำเลยทำใบสำคัญเท็จมาแสดง เพื่อขอเบิกเงินตามใบสำคัญนั้นก็อาจทำให้ข้าหลวงประจำจังหวัด หรือรัฐบาลเสียหายได้จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับของประกาศทางปกครองหลังข้าราชการผู้ลงนามย้าย: ประกาศยังใช้บังคับได้
แม้ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้ลงชื่อในประกาศควบคุมฯ จะย้ายไปรับราชการที่อื่น ประกาศนั้นก็ไม่ยกเลิก ยังใช้บังคับได้อยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินไปรษณีย์: การพิจารณาฐานะ 'เจ้าพนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือน
จำเลยทำงานเป็นเจ้าพนักงานไปรษณีย์อนุญาตประจำอำเภอ ได้รับเงินค่าจ้างเป็นค่าทำการและส่วนลด ต่อมาได้เปลี่ยนเรียกว่าจ่ายเป็นค่าเหมาเดือน จำเลยได้จดบัญชีหลักฐานเท็จและยักยอกเงินรายได้ของไปรษณีย์อนุญาตนั้นไปดั่งนี้ จำเลยย่อมมีผิดตามมาตรา 315(3) แต่ไม่ผิดตามมาตรา 131,230 เพราะจำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงานได้รับเงินเดือนตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายพลเรือน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของคณะรัฐประหารในการออกกฎหมายและการลงโทษข้าราชการหลังการปฏิวัติ
การที่คณะรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศได้สำเร็จนั้น คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติเพื่อบริหารประเทศชาติต่อไปได้มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งอยู่ด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ.2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์ การแต่งตั้งให้ผู้ใดเป็นรัฐมนตรีในตอนนั้น ก็ย่อมเป็นการชอบด้วย
คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่สั่งให้ปลดปลัดกระทรวงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2485 มาตรา 61 และอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.กำหนดวิธีการพิจารณาลงโทษข้าราชการผู้กระทำผิดหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ พ.ศ.2490 นั้น เป็นคำสั่งที่ออกมาในทางราชการโดยอำนาจและหน้าที่ในตำแหน่งราชการด้วย การใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยตามบทกฎหมายที่ให้อำนาจ เมื่อฟังได้ว่า เป็นการกระทำโดยสุจริตในอำนาจและหน้าที่ ทั้งมิได้มุ่งที่จะให้เกิดเสียหายแก่ผู้ใด ดังนี้ แม้จะวินิจฉัยผิดพลาด ก็หาเป็นละเมิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการฐานรับฝากเงินและละเมิดสัญญา การแบ่งแยกความรับผิดระหว่างตัวการและตัวแทน
ฟ้องโจทก์กล่าวไว้ชัดว่าจำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมสรรพสามิตจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกการเงิน จำเลยที่ 2 ได้รับฝากเงินของโจทก์ไว้ในหน้าที่ราชการ แล้วไม่คืนให้โจทก์ จึงขอให้จำเลยทั้ง2ร่วมกันรับผิดชดใช้เงินจำนวนนี้ ดังนี้ เป็นการหาเรื่องผิดสัญญา ไม่ใช่ละเมิดและเป็นการฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานเป็นตัวการ จำเลยที่ 2 ในฐานเป็นตัวแทนจำเลยที่1 จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 มาใช้บังคับ คือจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์โดยถือว่าเป็นเรื่องละเมิด ซึ่งไม่ตรงกับท้องเรื่องจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ แสดงว่าพอใจในคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ผู้เดียวศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง เลยไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ เป็นการขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 เพราะการชำระหนี้เช่นนี้ไม่ใช่ว่าไม่อาจแบ่งแยกได้อันจะเป็นกรณีเข้าอนุมาตรา 1 แห่งมาตรา245

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการยักยอกเงินของสำนักงาน – ความผิดตามมาตรา 131
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนวิสามัญชั้นตรี รับราชการอยู่ในแผนกเงินและรายได้ กองผลประโยชน์สำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯกรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม มีหน้าที่เก็บเงินลูกหนี้ของสำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯแล้วต้องนำส่งต่อเจ้าหน้าที่กองผลประโยชน์ แต่จำเลยเก็บเงินมาแล้วบังอาจยักยอกเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย มิได้ส่งให้ทั้งหมดตามหน้าที่ ดังนี้ ย่อมเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 ไม่ใช่มาตรา 319(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการยักยอกเงินสโมสรทหาร หากเงินสโมสรเป็นของราชการ ความผิดฐานใช้อำนาจในทางทุจริต (มาตรา 131) จะร้ายแรงกว่าฐานยักยอก (มาตรา 319)
แม้จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการมีหน้าที่เก็บเงินตามบิลเชื่อของสโมสรทหาร ซึ่งเป็นส่วนราชการแล้วยักยอกไป ถ้าโจทก์ไม่นำสืบให้ ปรากฎว่าสิ่งของที่สโมสรขายเชื่อนั้นจัดหาโดยเงินของทางราชการแล้ว จำเลยไม่ผิดมาตรา 131 คงผิดเพียงมาตรา 319(3) เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์แก้บทและกำหนดโทษของศาลชั้นต้น เป็นการแก้มาก ฎีกาในข้อเท็จจริงได้
of 28